ศูนย์วิทยบริการเพื่อส่งเสริมการเกษตร

ศูนย์วิทยบริการ
10

เรื่องล่าสุด

เพลี้ยจักจั่นฝอยทุเรียน (Durian leafhopper) วงจรชีวิต ลักษณะการทำลาย แนวทางการป้องกันกำจัด เขตกรรม วิธีกล ชีววิธี สารเคมี การใช้สารเคมี เช่น สารเคมีที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันกำจัดกลุ่มเพลี้ยจักจั่น ได้แก่ การใช้สารเคมีกำจัดแมลงเพื่อแก้ไขปัญหาการดื้อยาของเพลี้ยจักจั่น ควรพ่นสารเคมีที่มีกลไกการออกฤทธิ์แตกต่างกันสลับกันตามวงจรชีวิตของแมลง สำหรับเพลี้ยจักจั่นมีวงจรชีวิตประมาณ 1 เดือน ดังนั้น ควรใช้สารที่มีกลไกเดียวกันไม่เกิน 1

คำแนะนำการป้องกันกำจัดหนอนกระทู้ เฝ้าระวังการระบาดของหนอนกระทู้ เนื่องจากช่วงนี้พบการระบาดของหนอนกระทู้หอม และหนอนกระทู้ผักเข้าทำลายมันสำปะหลังในหลายพื้นที่ นอกจากนี้ยังพบหนอนกระทู้กล้าเข้าทำลายในข้าว และหนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุดเข้าทำลายข้าวโพด ประกอบกับสภาพอากาศที่แห้งแล้งเป็นเวลานาน และเริ่มมีฝนตกในหลายพื้นที่ ทำให้ดักแด้ที่พักตัวอยู่ในดินพัฒนาเป็นตัวเต็มวัย (ผีเสื้อกลางคืน) และวางไข่ สภาพอากาศเช่นนี้ทำให้วงจรชีวิตหนอนสั้นลง ขยายพันธุ์อย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดการแพร่ระบาดเป็นวงกว้างและเข้าทำลายหลายชนิดพืช รูปร่างลักษณะ หนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุด : fall armyworm (Spodoptera frugiperda (J.E.

เปิดรับสมัคร อบรมการบริหารจัดการแปลงเกษตรด้วยระบบเกษตรอัจฉริยะ ปี 67 (รุ่น 2) ขอเชิญชวนเกษตรกร ผู้นำเกษตรกร (อกม./YSF/SF) เจ้าหน้าที่ และประชาชนทั่วไปที่สนใจเข้าร่วมฝึกอบรม ณ ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรจังหวัดสุราษฎร์ธานี สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรจังหวัดสุราษฎร์ธานี

การเพาะเห็ดฟางในตะกร้า ในปัจจุบันการเพาะเห็ดฟางได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก เพราะได้ผลตอบแทนเร็ว เพียงระยะ 9-11 วัน ก็เริ่มเก็บผลผลิตได้ต้นทุนการผลิตต่ำ สามารถเพาะได้ทุกพื้นที่รูปแบบมีหลายรูปแบบ วัสดุอุปกรณ์ ขั้นตอนการทำ เรียบเรียงโดย : ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรจังหวัดฉะเชิงเทรา

กลุ่มอารักขาพืช สำนักงานเกษตรจังหวัดแม่ฮ่องสอน เปิดรับสมัครเกษตรกรหรือผู้ที่สนใจเข้ารับการอบรม หลักสูตร “หมอพืชชุมชน” ตั้งแต่บัดนี้ – 19 กรกฎาคม 2567 สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม สำนักงานเกษตรจังหวัดแม่ฮ่องสอน หมายเลขโทรศัพท์ : 053-611044

ใบบัวบก

ใบบัวบก บัวบกมีสารสำคัญกรดมาเดคาสสิก (Madecassic acid) กรดเอเชียติก (Asiatic acid) การปลูกปลูกได้ดีในดินเหนียวหรือดินเหนียวปนดินร่วน ใบบัวบกจะขยายพันธุ์โดยไหลและเมล็ด วิธีขยายจากไหลตัดไหลเป็นท่อน ๆ ไปเพาะในกระบะเพาะ 1-2 สัปดาห์ การดูแลรักษาบัวบกต้องการความชื้น แต่ไม่แฉะควรให้น้ำสม่ำเสมอ ควรระวังอย่าให้น้ำขัง จะเกิดโรคโคนเน่า การเก็บเกี่ยวเริ่มเก็บเกี่ยวหลังจากปลูกได้ประมาณ 60-90 วัน ใช้มีดตัดเหนือจากพื้นดินประมาณ

การทาบกิ่ง

การทาบกิ่ง เป็นวิธีการขยายพันธุ์พืชวิธีหนึ่งที่ทำให้ได้ต้นพันธุ์ ซึ่งมีลักษณะทางสายพันธุ์เหมือนต้นแม่ทุกประการ โดยกิ่งพันธุ์ดีจะให้ผลผลิตที่ตรงตามพันธุ์ อุปกรณ์ ดาวน์โหลดไฟล์ PDF. จัดทำโดย : ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรจังหวัดฉะเชิงเทรา

เชิญร่วมงาน คลินิกเกษตรเคลื่อนที่ในพระราชานุเคราะห์ ฯ เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบพบกิจกรรมน่าสนใจงาน รับปัจจัยการผลิตมากมายจากหน่วยงานที่มาให้บริการ อาทิ วันที่ 30 กรกฎาคม 2567 อย่าลืมนำบัตรประชาชน หรือ ThaiD มาลงทะเบียนเพื่อขอรับบริการ ได้ตั้งแต่ เวลา 08.30 น. เป็นต้นไป

ขอเชิญร่วมงาน “คลินิกเกษตรเคลื่อนที่ ในพระบรมราชานุเคราะห์ฯ เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคล เฉลิมพระชนพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567  สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : สำนักงานเกษตรจังหวัดปราจีนบุรี

รู้หรือไม่ ? ถ้ารู้จัก “ดิน” ดีกว่าใคร จะมีชัย “ในการปลูก” ไปกว่าครึ่ง จันทร์นี้เลยอยากจะชวนทุกคน มาอ่านเรื่องราวของดินและปุ๋ย เนื่องจากการผลิตพืชเพื่อให้ได้ผลผลิตสูง และคุ้มค่าต่อการลงทุนนั้น ต้องรู้จักธรรมชาติของดินในพื้นที่ปลูกของตนเองก่อน เกษตรกรจึงจะสามารถเลือกใช้ปุ๋ยได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพนั่นเอง ชวนอ่านเรื่องราวจากทั้ง 4 เอกสารแนะนำ ดังนี้ 1. รู้จักดินดีหรือยัง? คลิกอ่าน :

12 แนวทางป้องกันโรคจากเชื้อราในพริกไทยช่วงฤดูฝน

1. แปลงปลูกควรมีการระบายน้ำดี ไม่ควรมีน้ำท่วมขัง หากมีน้ำท่วมขังควรรีบระบายออก

2. ปรับสภาพดินไม่ให้เป็นกรดจัดโดยใส่ปูนขาว หรือโดโลไมท์

3. ปรับปรุงดิน โดยใส่ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก เพื่อให้ดินสามารถดูดซับน้ำและธาตุอาหารได้ดี และรากพืชสามารถพัฒนาและนำอาหารพืชไปใช้ได้ง่าย

4. ควรเลือกส่วนขยายพันธุ์และวัสดุเพาะชำ จากแหล่งที่ไม่มีการระบาดของโรค และไม่มีร่องรอยการติดเชื้อ

5. ตัดแต่งกิ่งหรือแขนงบริเวณโคนต้นออกให้โปร่ง เพื่อให้อากาศถ่ายเทได้ดีขึ้น เป็นการลดความชื้น เพื่อป้องกันการระบาดของโรค

6. เก็บใบกิ่งก้านที่ร่วงหล่นอยู่บริเวณโคนต้น ออกไปทำลายนอกแปลงปลูก เพื่อไม่ให้เป็นแปล่งสะสมของโรค

7. ตรวจแปลงอย่างสม่ำเสมอ เมื่อพบพืชเริ่มแสดงอาการของโรค ใช้สาร ดังนี้

   ▪ เมทาแลกซิล 25% WP อัตรา 30-50 กรัมต่อน้ํา 20 ลิตร หรือ

   ▪ ฟอสอีทิล-อะลูมิเนียม 80% WP อัตรา 30-50 กรัมต่อน้ํา 20 ลิตร

พ่นให้ทั่วทั้งต้น และรดดินบริเวณหลุมปลูก และข้างเคียง ทุก 7 วัน ควรหยุดใช้สารก่อน การเก็บเกี่ยว อย่างน้อย 14 วัน

8.หากพบอาการของโรคใบไหม้ ให้ตัดใบที่แสดงอาการ นําไปทําลายนอกแปลงปลูก แล้วใช้สาร ตามข้อ 7.

9.ต้นที่เป็นโรครุนแรงมากหรือตาย ควรขุดออก นําไปทําลายนอกแปลงปลูก แล้วรดดินในหลุมปลูก และบริเวณข้างเคียงด้วยสารตามข้อ 7. ให้ทั่ว ตากดินไว้ระยะหนึ่งจึงปลูกทดแทน

10.ไม่นําเครื่องมือทางการเกษตรที่ใช้กับต้นเป็นโรคไปใช้ต่อกับต้นปกติและควรทําความสะอาดเครื่องมือก่อนนําไปใช้ใหม่ทุกครั้ง

11.ควรระมัดระวังการให้น้ํา ไม่ให้น้ําไหลผ่านจากต้นที่เป็นโรคไปต้นปกติ

12.ในแปลงที่มีการระบาดของโรคควรเปลี่ยนไปปลูกพืชชนิดอื่น ที่ไม่ใช่พืชอาศัยของเชื้อสาเหตุโรค หมุนเวียน เพื่อตัดวงจรของโรค

—————————-

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : กลุ่มอารักพืช สำนักงานเกษตรจังหวัดปราจีนบุรี กรมส่งเสริมการเกษตร

https://www.facebook.com/profile.php?id=100068112708969

12 แนวทางป้องกันโรคจากเชื้อราในพริกไทยช่วงฤดูฝน