ศูนย์วิทยบริการเพื่อส่งเสริมการเกษตร

10

เรื่องล่าสุด

โรคแส้ดำอ้อย

โรคแส้ดำอ้อย สาเหตุ : เชื้อรา Ustilago scitaminea การแพร่ระบาดเชื้อรานี้จะอาศัยอยู่ในทุกส่วนของพืช ติดอยู่กับตอเก่าในแปลง และท่อนพันธุ์ที่เป็นโรคผงสปอร์จากแส้ดำจะระบาดโดยปลิวติดไปกับลมและฝน นอกจากนั้นเชื้อราจะอาศัยอยู่ในดินที่อยู่ในเขตแห้งแล้งได้นาน ลักษณะอาการต้นอ้อยส่วนยอดผิดปกติเป็นก้านแข็งและยาวคล้ายแส้สีดำ ตอที่เป็นโรครุนแรงจะแตกหน่อมาก แคระแกร็นคล้ายตอตะไคร้ทุกยอดจะสร้างแส้ดำแล้วแห้งตายทั้งกอ พันธุ์ต้านทานโรคที่ปลูกในปีแรก อาจมีอาการแส้ดำเพียงบางยอด เจริญเติบโตได้ตามปกติและในพันธุ์ที่อ่อนแอต่อโรคจะมีอาการลำต้นผอมเรียว ใบเล็กแคบยาวคล้ายต้นหญ้าพง ให้ผลผลิตน้อย ความเสียหายและความรุนแรงของโรคจะเพิ่มมากขึ้นในอ้อยตอรุ่นต่อไป การป้องกันกำจัด เรียบเรียงโดย :

เพลี้ยไฟในข้าว

เพลี้ยไฟในข้าว เพลี้ยไฟเป็นแมลงจำพวกปากดูดขนาดเล็ก ลำตัวยาว มีทั้งชนิดมีปีกและไม่มีปีก ตัวเต็มวัยมีสีดำ ตัวอ่อนมีสีเหลืองอ่อน ตัวเต็มวัยเพศเมียวางไข่เดี่ยว ๆ สีครีมในเนื้อเยื่อของใบข้าว ไข่ฟักตัวเป็นตัวอ่อนที่มีสีเหลืองนวล จากนั้นตัวอ่อนจะเข้าดักแด้บนต้นข้าวต้นเดิมที่ฟักออกจากไข่ ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยมีปากแบบเขี่ยดูด ใช้ในการทำลายต้นข้าว ลักษณะการเข้าทำลายเพลี้ยไฟทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยจะทำลายข้าว โดยการดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบข้าวที่ยังอ่อน โดยอาศัยอยู่ตามซอกใบ ระบาดในระยะกล้า เมื่อใบข้าวโตขึ้น ใบที่ถูกทำลายปลายใบจะเหี่ยวขอบใบจะม้วนเข้าหากลางใบและอาศัยอยู่ในใบที่ม้วนนั้น พบทำลายข้าวในระยะกล้าหรือหลังปักดำ 2-3 สัปดาห์

ฤดูหนาวปลูกผักอะไรดี ? ? (ช่วงเดือนตุลาคม-มกราคม) พืชผักที่เจริญเติบโตได้ดีในฤดูหนาว ได้แก่ ผักสลัด กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก กุยช่าย ขึ้นฉ่าย แครอท กระเทียม หอมแดง มะเขือเทศ ถั่วลันเตา และพริกยักษ์ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม พืชผัก เป็นพืชสามารถปลูกได้ตลอดทั้งปี โดยทั่วไปแล้ว

วันที่ 27 ธันวาคม 2567 ศูนย์ขยายพันธุ์พืชที่ 5 จังหวัดบุรีรัมย์ ขอรับสื่อเอกสารคำแนะนำและแผ่นพับ จำนวน 2,913 เล่ม/แผ่น สำหรับจัดอบรมและเผยแพร่แก่เกษตรกรในพื้นที่

กลุ่มพืชและชนิดพืชแนะนำที่สามารถเพาะปลูกได้ในช่วงฤดูแล้ง กลุ่มพืชไร่ จำนวน 5 ชนิด ได้แก่ กลุ่มพืชสมุนไพร จำนวน 1 ชนิด ได้แก่ กลุ่มไม้ดอกไม้ประดับ จำนวน 2 ชนิด ได้แก่ กลุ่มพืชผัก จำนวน 31 ชนิด ได้แก่ เรียบเรียงโดย

เกษตรกรไทยร่วมใจ หยุดเผา ในพื้นที่การเกษตรอย่างยั่งยืนด้วย 3R Model : 3 เปลี่ยน 1.เปลี่ยนพฤติกรรม Re-Habitปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการปลูกพืช ชนิดเดิมแบบไม่เผา โดยการนำเครื่องจักรเข้ามาช่วยในการเก็บเกี่ยว และส่งเสริมการแปรรูป เพิ่มมูลค่าเศษวัสดุทางการเกษตร เพื่อลดการเผา 2.เปลี่ยนชนิดพืช Replace with High Value Cropsปรับเปลี่ยนชนิดพืชที่ปลูกบนพื้นที่สูง จากพืชไร่เป็นไม้ผล

46-0-0ยูเรีย คือ มีไนโตรเจนรูปยูเรียเท่ากับ 46% โดยไม่มีธาตุอาหารรอง-เสริม อื่น ๆ ตอบสนองต่อพืชได้เร็ว มีธาตุไนโตรเจนสูง ทำให้พืชโตเร็ว ใบเขียวเข้ม ให้ปริมาณไนโตรเจนต่อน้ำหนักปุ๋ยเคมีมากที่สุด แต่มีข้อจำกัด คือ ถ้าใส่มากเกินความต้องการของพืช จะทำให้ต้นพืชมีอาการอวบน้ำ และอาจเกิดโรคได้ง่าย 27-0-0แคลเซียมแอมโมเนียมไนเตรท คือ มีรูปปุ๋ยไนโตรเจนทั้ง 2 รูปแบบ

แหนแดง พืชน้ำมหัศจรรย์ แหนแดง สายพันธุ์ไมโครฟิลล่า (MICROPHYLLA)เปรียบเสมือนโรงงานผลิตปุ๋ยไนโตรเจนทางชีวภาพ โดยผ่านกระบวนการตรึงไนโตรเจน จากอากาศของสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน (CYANOBACTERIAL) ที่อยู่อาศัยอยู่ในโพรงใบของแหนแดง เมื่อนำแหนแดงไปตากแห้ง (น้ำหนักแห้ง 150 กิโลกรัม) มีปริมาณไนโตรเจน 6.0-4.5 กิโลกรัม เป็นทางเลือกสำหรับใช้ทดแทนปุ๋ยเคมีในแปลงผักอินทรีย์ วิธีการขยายพันธุ์ ประโยชน์ของแหนแดง เรียบเรียง : สำนักงานเกษตรอำเภอวังน้ำเย็น

แมลงศัตรูพืชที่สำคัญในพืชตระกูลแตง ในช่วงที่อุณหภูมิลดต่ำลง เตือนเกษตรกรผู้ปลูกพืชตระกูลแตง อาทิ แตงกวา แตงโม เมล่อน แคนตาลูป ฟักทอง มะระจีน และบวบ แมลงวันหนอนชอนใบมักพบตัวหนอนชอนไชอยู่ในใบ ทำให้เกิดรอยเส้นสีขาวคดเคี้ยวไปมา เมื่อนำใบพืชมาส่องดูจะพบหนอนตัวเล็กสีเหลืองอ่อนโปร่งใสอยู่ภายในเนื้อเยื่อใบพืช กรณีระบาดรุนแรง จะทำให้ใบเสียหายและร่วงหล่น ซึ่งอาจมีผลต่อผลผลิตได้ การป้องกันกำจัดแมลงวันหนอนชอนใบให้เกษตรกรเก็บเศษใบพืชที่ถูกทำลายนำไปเผาทำลายนอกแปลงปลูก เนื่องจากหนอนชอนใบและดักแด้หนอนชอนใบที่อาศัยอยู่ตามเศษใบพืชบนพื้นดินจะถูกทำลายไปด้วย จากนั้นให้เกษตรกรพ่นด้วยสารฆ่าแมลงที่มีประสิทธิภาพ ด้วงเต่าแตงแดงจะพบตัวด้วงเข้าทำลายแทะกัดกินใบยอด หากระบาดรุนแรง

ห้องสมุดกรมส่งเสริมการเกษตร แนะนำหนังสือใหม่ เดือนธันวาคม 2567 สามารถเข้ามารับบริการการอ่านได้ที่ ห้องสมุดกรมส่งเสริมการเกษตร อาคารส่งเสริมการเกษตรเบญจสิริกิติ์ ชั้น 5 (ห้องสมุดกรมส่งเสริมการเกษตร) สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : โทรศัพท์ 0-2579-2594 โทรสาร 0-2579-5517 สืบค้นข้อมูลเรื่องอื่น ๆ เพิ่มเติมได้ที่ : http://library.doae.go.th

17 ธาตุอาหารพืช


เรียงเรียงโดย : ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืชจังหวัดพิษณุโลก

ธาตุอาหารพืช
ธาตุอาหารพืช

ธาตุอาหารที่ได้ฟรีจากธรรมชาติ มี 3 ธาตุ ได้แก่

1. C = คาร์บอน = พืชได้รับจากอากาศ องค์ประกอบของพืช ช่วยในกระบวนการสังเคราะห์แสง
2. O = ออกซิเจน = พืชได้รับจากอากาศ และน้ำ ช่วยในกระบวนการสังเคราะห์แสง
3. H = ไฮโดรเจน = พืชได้รับจากน้ำ ช่วยในกระบวนการสังเคราะห์แสง

ธาตุอาหารหลัก พืชได้รับธาตุอาหารจากดิน พืชต้องการในปริมาณมาก ส่วนใหญ่ในดินมักขาด

4. N = ไนโตรเจน = พืชใช้ในการเจริญเติบโตทางลำต้น และใบ แหล่งโปรตีน กรดอะมิโน ละลายง่าย สูญเสียง่าย
5. P = ฟอสฟอรัส = เป็นแหล่งพลังงานของพืช ละลายยาก ตกตะกอนง่าย จำเป็นในการออกดอก แตกรากดี
6. K = โพแทสเซียม = ควบคุมการเปิดปิดปากใบ คลื่อนย้ายสารอาหาร เพิ่มคุณภาพผลผลิต

ธาตุอาหารรอง พืชได้รับธาตุอาหารจากดิน พืชต้องการในปริมาณรองลงมา ส่วนใหญ่ในดินมักขาด

7. Ca = แคลเซียม = เป็นส่วนประกอบผนังเซลล์ ขยายผล ผลไม่แตก กิ่งไม่หัก ขั้วไม่หลุด
8. Mg = แมกนีเซียม = กระบวนการสังเคราะห์แสง ใบเขียว ทำงานร่วมกับ N
9. S = กำมะถัน = กลิ่นดี สีสวย ใส่มากดินเป็นกรด

ธาตุอาหารเสริม พืชได้รับธาตุอาหารจากดิน พืชต้องการในปริมาณเล็กน้อย แต่ก็ขาดไม่ได้ ส่วนใหญ่มีในดิน

10. B = โบรอน = ช่วยให้พืชดูด Ca และ N ขั้วเหนียว ดอกผลไม่ร่วง
11. Zn = สังกะสี = เป็นส่วนประกอบของฮอร์โมน เอนไซม์ ช่วยให้พืชใบเขียว
12. Cu = ทองแดง = ช่วยเพิ่มอายุคลอโรฟิวส์ ใบพืชเขียวนาน สังเคราะห์แสงได้ดี
13. Fe = เหล็ก = ช่วยในกระบวนการสังเคราะห์อาหาร ปรุงอาหารของพืช
14. Cl = คลอรีน = การรักษาสมดุล ช่วยให้ผลผลิตสุกแก่เร็ว มักไม่ค่อยขาด จำเป็นมากสำหรับมะพร้าว
15. Mn = แมงกานีส = ควบคุมกิจกรรม N และ Fe กระบวนการสังเคราะห์แสง มีผลต่อใบพืช
16. Mo = โมลิบดีนัม = จำเป็นสำหรับจุลินทรีย์ในดิน ช่วยตรึง N ให้พืช สร้างคลอโรฟิวส์
17. Ni = นิกเกิล = เป็นองค์ประกอบสำคัญของเอนไซม์ ช่วยในการงอกของเมล็ด ส่วนใหญ่พืชมักไม่ขาดธาตุนี้

ธาตุอาหารพืช ฟอสฟอรัส (Pพี)

ประโยชน์ของฟอสฟอรัส
1. เร่งการเจริญเติบโต และการแพร่กระจายของราก ช่วยในการการแตกกอของพืช
2. ช่วยในการเจริญช่อดอก การแบ่งเซลล์ของตาดอก ควบคุมการออกดอก ออกผลและการสร้างเมล็ด
3. เป็นแหล่งพลังงานของพืช ช่วยให้กระบวนการต่างๆของพืชดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ

อาการพืชเมื่อขาดธาตุฟอสฟอรัส
1. ระบบรากจะไม่เจริญเติบโต พืชแตกกอไม่ดี
2. ใบแก่จะเปลี่ยนจากสีเขียว เป็นสีม่วง แล้วกลายเป็น สีน้ำตาลและหลุดร่วง
3. ลำต้นแคระแกร็นไม่ผลิดอกออกผล

สูตรปุ๋ยฟอสฟอรัสที่หาซื้อได้
18 – 46 – 0
0 – 52 – 34

17 ธาตุอาหารพืช

ธาตุอาหารพืช ฟอสฟอรัส (Pพี)

ประโยชน์ของฟอสฟอรัส
ธาตุอาหารพืช โพแทสเซียม(Kเค)

ประโยชน์ของโพแทสเซียม
1. ช่วยในการสังเคราะห์น้ำตาล แป้ง และโปรตีน ส่งเสริมการเคลื่อนย้ายน้ำตาลจากใบไปสู่ผล
2. ทำให้ผลโตเร็ว น้ำหนักดี และมีคุณภาพดี
3. ช่วยให้พืชแข็งแรง ทนแล้ง ทนเค็ม ต้านทานต่อโรคและแมลงบางชนิด

อาการพืชเมื่อขาดธาตุโพแทสเซียม
1. พืชจะไม่แข็งแรง ลำต้นอ่อนแอ
2. ลำต้นแคระแกร็นไม่ผลิดอกออกผล
3. ผลผลิตมีคุณภาพต่ำ สีไม่สวย รสชาดไม่ดี

สูตรปุ๋ยโพแทสเซียมที่หาซื้อได้
0 – 0- 50
0 – 0 – 60