ศูนย์วิทยบริการเพื่อส่งเสริมการเกษตร

10

เรื่องล่าสุด

สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 2 จังหวัดราชบุรี ขอเชิญเข้าร่วมงานวันถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อเริ่มต้นฤดูกาลผลิตใหม่ (Field Day) ระดับเขต ประจำปี พ.ศ. 2568 วันพฤหัสบดีที่ 27 มีนาคม 2568 ณ เครือข่าย ศพก. เอแอนด์เจ ผลไม้ไทย ตำบลศรีสุราษฎร์ อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี

ปลูกข้าวนาปรัง…ระวังหนาว หลีกเลี่ยงการปลูกข้าวในเดือนกันยายน – เดือนพฤศจิกายน หรือจัดช่วงเวลาปลูกไม่ให้กระทบอากาศหนาวเย็นในช่วงตั้งท้อง-ออกรวง ระยะตั้งท้อง-ออกรวงต้นข้าวซีดเหลือง ใบมีสีเหลืองหรือส้มใบแห้งตายจากขอบใบ มักพบโรคใบจุดสีน้ำตาลและโรคเมล็ดด่าง พันธุ์ข้าวที่คอรวงสั้น รวงข้าวส่วนนึงจะโผล่ไม่พ้นกาบใบธง ทำให้ไม่มีการผสมเกสรเกิดเมล็ดลีบ ออกรวงช้า รวงไม่สม่ำเสมอก้านช่อดอกหดสั้น เกสรตัวผู้เป็นหมัน ทำให้เมล็ดไม่เต็ม ปลายรวงลีบฝ่อ ระยะกล้า-แตกกอเมล็ดข้าวงอกช้า การเจริญเติบโตช้า ต้นเตี้ย ไม่แตกกอ ซีดเหลือง ใบมีสีเหลือง

เรียนฟรี ผู้สนใจ “ต่อยอดรายได้เกษตรกรด้วยคาร์บอนเครดิต” สมัครเรียนได้ ตั้งแต่วันที่ 18 มีนาคม – 6 เมษายน 2568 สถานีวิทยุกระจายเสียงเพื่อการเกษตร เปิดรับสมัครโรงเรียนเกษตรทางไกล หลักสูตร “ต่อยอดรายได้เกษตรกรด้วยคาร์บอนเครดิต” รอบใหม่ ประจำปี 2568 ให้กับเกษตรกรและประชาชนที่สนใจสมัครเรียน โดยเป็นการถ่ายทอดองค์ความรู้เรื่อง คาร์บอนเครดิต ที่ถูกต้อง

ขอเชิญพี่น้องชาวกรมส่งเสริมการเกษตร เข้าร่วมสนุกกับกิจกรรม “DOAE ผ้าไทยใครใส่ก็ดูดี ปี 3 ” ในช่วงเทศกาลวันสงกรานต์ 2568 โพสต์ภาพสวมใส่ผ้าไทยพร้อมอุปกรณ์เล่นน้ำสงกรานต์ ชิงรางวัลพิเศษ กติการ่วมสนุก 1. ส่งภาพการแต่งกายผ้าไทยหรือผ้าพื้นเมืองพร้อมอุปกรณ์เล่นน้ำสงกรานต์ของท่าน มายัง>> https://forms.gle/sU2NNwemVnef9Fi89  โดยภาพที่โพสต์ ท่านสามารถครีเอทท่าทาง ตกแต่งภาพได้ไม่จำกัดไอเดีย ไม่จำกัดจำนวนคนในภาพ ใส่แคปชั่นเก๋ ๆ ในภาพได้

มะม่วงน้ำดอกไม้ อำเภอวังน้ำเย็น จังหวัดสระแก้ว (GI) มะม่วงน้ำดอกไม้พันธุ์น้ำดอกไม้สีทอง ที่มีทรงผลรี เปลือกผิวบาง เมื่อสุกมีสีเหลืองถึงสีเหลืองทอง เนื้อสีเหลืองอมส้ม ปริมาณเส้นใยน้อย เมล็ดลีบ ผลดิบมีรสชาติเปรี้ยว เมื่อสุกจะมีรสชาติหวาน กลิ่นหอม ปลูกในเขตพื้นที่อำเภอวังน้ำเย็นของจังหวัดสระแก้ว ทั้งนี้กรมทรัพย์สินทางปัญญาประกาศให้ขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) “มะม่วงน้ำดอกไม้สระแก้ว” เมื่อ 3 พ.ค. 2562

โรคจุดดำ หรือ โรคแอนแทรคโนสในมะม่วง เกิดจากเชื้อรา Colletotrichum gloeosporioides เข้าทำลายพืชได้ทุกระยะการเจริญและเกือบทุกส่วนของมะม่วง ไม่ว่าจะเป็นต้นกล้า ยอดอ่อน ใบอ่อน ช่อดอก ดอก ผลอ่อนจนถึงผลแก่ และผลหลังการเก็บเกี่ยว ทำให้เกิดอาการเป็นจุดแผลตกค้างอยู่บนใบ กิ่ง ผล และหากการเข้าทำลายของโรครุนแรงก็จะเกิดอาการใบแห้ง ใบบิดเบี้ยวและร่วงหล่น ช่อดอกแห้งไม่ติดผล ผลเน่าร่วงตลอดจนผลเน่าหลังการเก็บเกี่ยว แนวทางการป้องกันแก้ไข

เรื่องเล่าเช้าวันจันทร์ “ศัตรูมะพร้าวและการป้องกัน” ปัจจุบันมีศัตรูมะพร้าวที่กำลังระบาดและเป็นปัญหาในการปลูกมะพร้าว จำนวน 4 ชนิด ได้แก่ หนอนหัวดำมะพร้าว แมลงดำหนามมะพร้าว ด้วงแรดมะพร้าว และด้วงงวงมะพร้าว สำหรับการจัดการศัตรูมะพร้าว เพื่อให้ได้ผลดีและไม่ให้กลับมาระบาดใหม่ ควรใช้วิธีการป้องกันกำจัดศัตรูมะพร้าวแบบผสมผสานตั้งแต่ 2 วิธีขึ้นไปมาใช้ร่วมกัน เพื่อลดปริมาณศัตรูมะพร้าวให้อยู่ในระดับที่ไม่ก่อให้เกิดความเสียหาย การป้องกันกำจัดศัตรูมะพร้าวแบบผสมผสานคลิกอ่าน : https://bit.ly/2FUDSWS หนอนหัวดำคลิกอ่าน :

เรื่องเล่าเช้าวันจันทร์ “เรื่องเล่า…ชาวกาแฟ กาแฟกลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของคนทั่วโลกที่จะต้องดื่ม บางคนดื่มเพราะความเคยชิน บางคนดื่มเพื่อผ่อนคลาย บางคนดื่มเพราะจะทำให้รู้สึกสดชื่นกระปรี้กระเปร่า “กาแฟ” ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในทางเศรษฐกิจของไทยมาตั้งแต่อดีตจนกระทั่งปัจจุบัน สายพันธุ์ที่นิยมในประเทศไทย 2 สายพันธุ์ คือ กาแฟอะราบิกาและกาแฟโรบัสตา เมื่อเปรียบเทียบลักษณะเมล็ดกาแฟ 2 สายพันธุ์ อยากรู้เรื่องราวของกาแฟมากขึ้น คลิกที่ลิงก์ด้านล่างได้เลยค่ะ เรื่องเล่า…ชาวกาแฟคลิกอ่าน : https://bit.ly/4hmR8PA การผลิตกาแฟอะราบิกา

หนอนแมลงวันพริก การทำลายในระยะเริ่มแรกจะสังเกตได้ยาก อาจพบอาการช้ำบริเวณใต้ผิวเปลือก เมื่อหนอนโตขึ้นเรื่อย ๆ จะทำให้ผลเน่าเละและมีน้ำไหลเยิ้มออกทางรูที่หนอนเจาะออกมาเพื่อเข้าดักแด้ในดิน นอกจากนี้รอยแผลที่เกิดขึ้นจากการวางไข่ของแมลงยังส่งผลให้เชื้อจุลินทรีย์สาเหตุโรคพืชเข้าทำลายตาม ทำให้ผลเน่าและร่วงหล่นก่อนระยะเก็บเกี่ยว ฤดูการระบาดสภาพอากาศในช่วงนี้อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีพายุฝนฟ้าคะนอง กับมีลมกระโชกแรงบางแห่งเตือนผู้ปลูกพริก ในระยะเก็บเกี่ยว รับมือแมลงวันทองพริก ตัวเต็มวัยวางไข่ในระยะพริกใกล้เปลี่ยนสี ไปจนกระทั่งผลสุก หนอนกัดกินชอนไชอยู่ภายในผล ทำให้ผลพริกเน่าร่วงหล่น เมื่อหนอนโตเต็มที่จะเจาะออกมาเข้าดักแด้ในดิน แนวทางป้องกัน/แก้ไข เรียบเรียงโดย : กลุ่มอารักขาพืช

17 ธาตุอาหารพืช


เรียงเรียงโดย : ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืชจังหวัดพิษณุโลก

ธาตุอาหารพืช
ธาตุอาหารพืช

ธาตุอาหารที่ได้ฟรีจากธรรมชาติ มี 3 ธาตุ ได้แก่

1. C = คาร์บอน = พืชได้รับจากอากาศ องค์ประกอบของพืช ช่วยในกระบวนการสังเคราะห์แสง
2. O = ออกซิเจน = พืชได้รับจากอากาศ และน้ำ ช่วยในกระบวนการสังเคราะห์แสง
3. H = ไฮโดรเจน = พืชได้รับจากน้ำ ช่วยในกระบวนการสังเคราะห์แสง

ธาตุอาหารหลัก พืชได้รับธาตุอาหารจากดิน พืชต้องการในปริมาณมาก ส่วนใหญ่ในดินมักขาด

4. N = ไนโตรเจน = พืชใช้ในการเจริญเติบโตทางลำต้น และใบ แหล่งโปรตีน กรดอะมิโน ละลายง่าย สูญเสียง่าย
5. P = ฟอสฟอรัส = เป็นแหล่งพลังงานของพืช ละลายยาก ตกตะกอนง่าย จำเป็นในการออกดอก แตกรากดี
6. K = โพแทสเซียม = ควบคุมการเปิดปิดปากใบ คลื่อนย้ายสารอาหาร เพิ่มคุณภาพผลผลิต

ธาตุอาหารรอง พืชได้รับธาตุอาหารจากดิน พืชต้องการในปริมาณรองลงมา ส่วนใหญ่ในดินมักขาด

7. Ca = แคลเซียม = เป็นส่วนประกอบผนังเซลล์ ขยายผล ผลไม่แตก กิ่งไม่หัก ขั้วไม่หลุด
8. Mg = แมกนีเซียม = กระบวนการสังเคราะห์แสง ใบเขียว ทำงานร่วมกับ N
9. S = กำมะถัน = กลิ่นดี สีสวย ใส่มากดินเป็นกรด

ธาตุอาหารเสริม พืชได้รับธาตุอาหารจากดิน พืชต้องการในปริมาณเล็กน้อย แต่ก็ขาดไม่ได้ ส่วนใหญ่มีในดิน

10. B = โบรอน = ช่วยให้พืชดูด Ca และ N ขั้วเหนียว ดอกผลไม่ร่วง
11. Zn = สังกะสี = เป็นส่วนประกอบของฮอร์โมน เอนไซม์ ช่วยให้พืชใบเขียว
12. Cu = ทองแดง = ช่วยเพิ่มอายุคลอโรฟิวส์ ใบพืชเขียวนาน สังเคราะห์แสงได้ดี
13. Fe = เหล็ก = ช่วยในกระบวนการสังเคราะห์อาหาร ปรุงอาหารของพืช
14. Cl = คลอรีน = การรักษาสมดุล ช่วยให้ผลผลิตสุกแก่เร็ว มักไม่ค่อยขาด จำเป็นมากสำหรับมะพร้าว
15. Mn = แมงกานีส = ควบคุมกิจกรรม N และ Fe กระบวนการสังเคราะห์แสง มีผลต่อใบพืช
16. Mo = โมลิบดีนัม = จำเป็นสำหรับจุลินทรีย์ในดิน ช่วยตรึง N ให้พืช สร้างคลอโรฟิวส์
17. Ni = นิกเกิล = เป็นองค์ประกอบสำคัญของเอนไซม์ ช่วยในการงอกของเมล็ด ส่วนใหญ่พืชมักไม่ขาดธาตุนี้

ธาตุอาหารพืช ฟอสฟอรัส (Pพี)

ประโยชน์ของฟอสฟอรัส
1. เร่งการเจริญเติบโต และการแพร่กระจายของราก ช่วยในการการแตกกอของพืช
2. ช่วยในการเจริญช่อดอก การแบ่งเซลล์ของตาดอก ควบคุมการออกดอก ออกผลและการสร้างเมล็ด
3. เป็นแหล่งพลังงานของพืช ช่วยให้กระบวนการต่างๆของพืชดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ

อาการพืชเมื่อขาดธาตุฟอสฟอรัส
1. ระบบรากจะไม่เจริญเติบโต พืชแตกกอไม่ดี
2. ใบแก่จะเปลี่ยนจากสีเขียว เป็นสีม่วง แล้วกลายเป็น สีน้ำตาลและหลุดร่วง
3. ลำต้นแคระแกร็นไม่ผลิดอกออกผล

สูตรปุ๋ยฟอสฟอรัสที่หาซื้อได้
18 – 46 – 0
0 – 52 – 34

17 ธาตุอาหารพืช

ธาตุอาหารพืช ฟอสฟอรัส (Pพี)

ประโยชน์ของฟอสฟอรัส
ธาตุอาหารพืช โพแทสเซียม(Kเค)

ประโยชน์ของโพแทสเซียม
1. ช่วยในการสังเคราะห์น้ำตาล แป้ง และโปรตีน ส่งเสริมการเคลื่อนย้ายน้ำตาลจากใบไปสู่ผล
2. ทำให้ผลโตเร็ว น้ำหนักดี และมีคุณภาพดี
3. ช่วยให้พืชแข็งแรง ทนแล้ง ทนเค็ม ต้านทานต่อโรคและแมลงบางชนิด

อาการพืชเมื่อขาดธาตุโพแทสเซียม
1. พืชจะไม่แข็งแรง ลำต้นอ่อนแอ
2. ลำต้นแคระแกร็นไม่ผลิดอกออกผล
3. ผลผลิตมีคุณภาพต่ำ สีไม่สวย รสชาดไม่ดี

สูตรปุ๋ยโพแทสเซียมที่หาซื้อได้
0 – 0- 50
0 – 0 – 60