ศูนย์วิทยบริการเพื่อส่งเสริมการเกษตร

10

เรื่องล่าสุด

โรคใบขาวอ้อย

โรคใบขาวอ้อย สาเหตุ เชื้อไฟโตพลาสมา ลักษณะอาการ : พบในอ้อยทุกระยะการเจริญเติบโต พบอาการใบสีขาว สีเขียวอ่อนหรือสีขาวสลับสีเขียวอ่อน ใบมีขนาดเล็กเป็นฝอย แตกกอมาก ไม่เจริญเติบโตและตาย การแพร่ระบาด : ระบาดได้ทางท่อนพันธุ์อ้อยและระบาดผ่านแมลงพาหะ 2 ชนิด ได้ แนวทางการป้องกันกำจัด เรียบเรียงโดย : สำนักงานเกษตรอำเภอเมืองกำแพงเพชร

การจัดการแมลงศัตรูข้าว ชนิดของแมลงที่ทำลายช่วงต่าง ๆ ของข้าวตลอดช่วงอายุ 120 วัน และการเข้าทำลายของแมลงศัตรูข้าว ที่พบตามระยะการเจริญเติบโตของข้าว ตั้งแต่ระยะกล้า ระยะแตกกอ และระยะออกร่วง แมลงศัตรูข้าวช่วงระยะกล้า แมลงศัตรูข้าวช่วงระยะแตกกอ แมลงศัตรูพืชช่วงระยะออกรวง การป้องกันและกำจัดแมลง เรียบเรียงโดย : กลุ่มส่งเสริมระบบการผลิตข้าว สำนักส่งเสริมและจัดการสินค้าเกษตร

การปลูกเตยหอม

การปลูกเตยหอม การเตรียมดินและโรงเรือนปลูก การปลูกเตยหอมปลูกด้วยวิธีการดำหน่อพันธุ์ ประมาณ 25,000 หน่อต่อไร่ โดยมีระยะห่างประมาณ 50 เซนติเมตร วิธีการดูแลรักษาใส่ปุ๋ย สูตร 16-20-0 ในอัตรา 50-100 กิโลกรัมต่อไร่ ทุก ๆ 3-4 เดือน การเก็บเกี่ยว

ต่อทะเบียนวิสาหกิจชุมชน ประจำปี 2568 ระหว่างวันที่ 1-30 มกราคม 2568 ช่องทางออนไลน์ กรณีจดทะเบียนผ่าน e-Form กรณีจดทะเบียน ณ สำนักงานรับจดทะเบียน ดำเนินการ ดังนี้ ณ สำนักงานเกษตรอำเภอที่จดทะเบียนฯยื่นแบบ สวช.03 พร้อมแนบหลักฐาน ดังนี้ เรียบเรียงโดย :

คุณสมบัติและหลักเกณฑ์ เอกสารประกอบ กรณีไม่เป็นนิติบุคคล เอกสารประกอบ กรณีเป็นนิติบุคคล ขั้นตอน วิสาหกิจชุมชนและเครือข่ายวิสาหกิจชุมชน แบ่งเป็น 2 กลุ่มกิจการกลุ่มที่ 1 : กลุ่มการผลิตสินค้า ประกอบด้วย 18 ประเภทกิจการ กลุ่มที่ 2 : กลุ่มการให้บริการ ประกอบด้วย 6

โรคราสนิมในอ้อย

โรคราสนิมในอ้อย สาเหตุ : เชื้อรา Puccinia melanocephala เชื้อราสาเหตุโรคสามารถพักตัวในเศษซากพืช เกิดโรคข้ามฤดู และสามารถแพร่กระจายผ่านลมและน้ำ อาการ : ใบอ่อนพบจุดแผลขนาดเล็กสีแดง เมื่อใบแก่จุดแผลจะขยายออกเป็นสีน้ำตาลแดง (สีสนิม) มีวงสีเหลืองล้อมรอบ ใต้ใบมีแผลนูน เมื่อแผลแตกออก มีลักษณะขรุขระ พบผงสปอร์สีน้ำตาลแดง (สีสนิม) การป้องกัน *พ่นทุก

ระยะเวลาเก็บเกี่ยว ความชื้นของเมล็ด20-25% วิธีการเก็บเกี่ยว ใช้แรงงานคน ใช้เครื่องจักรกล ควรหลีกเลี่ยงการเก็บเกี่ยวในขณะที่ฝนตกหรือหลังฝนตกทันที การปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว การคัดคุณภาพ การขนย้าย เรียบเรียงโดย : กลุ่มจัดการศัตรูพืชหลังการเก็บเกี่ยว กองส่งเสริมการอารักขาพืชและจัดการดินปุ๋ย กรมส่งเสริมการเกษตร

สำนักงานเกษตรอำเภอบางแก้ว ขอเชิญร่วมงาน  คลินิกเกษตรเคลื่อนที่ฯ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ครั้งที่ 1  ในวันพฤหัสบดีที่ 12 ธันวาคม 2567 เวลา 08.30 น. เป็นต้นไป ณ ศาลาประชาคมอำเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุง ภายในงานจะประกอบด้วยกิจกรรม **ทั้งนี้เกษตรกรที่มาร่วมงาน ขอให้นำบัตรประจำตัวประชาชน

ธาตุอาหารและสูตรปุ๋ย ปุ๋ยเคมี ตัวอย่าง 16-8-8 ตัวเลขบนกระสอบบอกถึงน้ำหนักของธาตุอาหารเทียบต่อน้ำหนักปุ๋ย 100 กิโลกรัม N ไนโตรเจนปุ๋ย 100 กิโลกรัม มีไนโตรเจน 16 กิโลกรัมปุ๋ย 50 กิโลกรัม จึงมีไนโตรเจน 8 กิโลกรัม P ฟอสฟอรัสปุ๋ย 100

เทคนิคการจัดการน้ำแบบเปียกสลับแห้งในนาข้าว การทำนาเปียกสลับแห้ง คือ การทำนาโดยควบคุมระดับน้ำในแปลงนาให้มีช่วงน้ำขัง กับช่วงน้ำแห้งสลับกันในช่วงเวลาที่เหมาะสม เพื่อกระตุ้นให้รากและลำต้นของต้นข้าวแข็งแรงขึ้น เนื่องจากดินและรากได้รับอากาศพอ ก็สามารถดูดปุ๋ยได้ดีขึ้น ทำให้ลดการใช้ปุ๋ย 1.การเตรียมดิน ปรับพื้นที่ให้เรียบสม่ำเสมอและสามารถจัดระบบน้ำได้ 2.การติดตั้งท่อพีวีซี (PVC) เพื่อดูระดับน้ำ เตรียมท่อพีวีซี ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 4 นิ้ว ยาว 25 ซม. เจาะรูห่างกัน


หนอนกอข้าว

หนอนกอข้าวที่พบทําลายข้าวในประเทศไทย มี 4 ชนิด ตัวเต็มวัยเป็นผีเสื้อกลางคืน
1.หนอนกอสีครีม Scirpophaga incertulas (Walker) ตัวเมียวางไข่เป็นกลุ่มตามปลายใบข้าว
2.หนอนกอแถบลาย Chilo suppressalis (Walker) ตัวเมียวางไข่บริเวณโคนใบข้าว ส่วนใหญ่พบอยู่ ใต้ใบข้าว
3.หนอนกอแถบลายม่วง Chilo polychrysus (Meyrick) ตัวผู้มองดูคล้ายมีรูปตัว Y อยู่ตรงกลางปีก
4.หนอนกอสีชมพู Sesamia inferens (Walker) ตัวเมียวางไข่เรียงเป็นแถวระหว่างกาบใบ และลําต้น

ลักษณะการทําลาย และการระบาด

  • ตัวหนอนจะเจาะเข้าทําลายกาบใบ ทําให้กาบใบมีสีเหลือง หรือสีน้ําตาล ซึ่งจะเห็นเป็นอาการซ้ํา ๆ โดยจะพบการทําลายหลังจากหว่านข้าวแล้วประมาณ 1 เดือนเป็นต้นไป เมื่อฉีกกาบใบดูจะพบตัวหนอน
  • เมื่อหนอนโตขึ้นจะเข้ากัดกินส่วนของลําต้น ทําให้เกิดอาการใบเหี่ยวในระยะแรก ใบ และยอดที่ถูก ทําลายจะเหลืองในระยะต่อมา ซึ่งการทําลายในระยะข้าวแตกกอนี้ทําให้เกิดอาการ “ยอดเหี่ยว”
  • ถ้าหนอนเข้าทําลายระยะข้าวตั้งท้อง หรือหลังจากข้าวออกรวงจะทําให้เมล็ดข้าวลีบทั้งรวง
    รวงข้าวมีสีขาว เรียกอาการนี้ว่า “ข้าวหัวหงอก”

การป้องกันกำจัด

  1. หมั่นสำรวจแปลงข้าวอย่างสม่ำเสมอ
  2. ไถตอซังหลังการเก็บเกี่ยว และไถดินเพื่อทำลายหนอน และดักแด้ของหนอนกอข้าวที่อยู่ตามตอซัง
  3. ปลูกพืชหมุนเวียน เพื่อตัดวงจรชีวิตหนอนกอข้าว
  4. ไม่ควรใส่ปุ๋ยไนโตรเจนมากเกินไป ทำให้ใบข้าวงาม ซึ่งหนอนกอข้าวชอบวางไข่
  5. ใช้แสงไฟล่อตัวเต็มวัยเพื่อทำลาย
  6. เมื่อพบอาการข้าวยอดเหี่ยว ในระยะข้าวอายุ 3-4 สัปดาห์ หลังหว่าน/ปักดำ ในระดับ 10-20% ให้ใช้สารชนิดพ่น เช่น คลอร์ไพริฟอส (ลอร์สแบน 20% อีซี) อัตรา 80 มล. ต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นให้ทั่วแปลงเพียงครั้งเดียว

ข้อมูลจาก : กองส่งเสริมการอารักขาพืชและจัดการดินปุ๋ย กรมส่งเสริมการเกษตร

43. หนอนกอข้าว
ภาพจาก : สำนักงานเกษตรจังหวัดนครปฐม

ไข่ของหนอกอข้าว มีสีขาวเปลี่ยนเป็นสีดำเนื่องจากแตนเบียนไข่เข้าทำลาย

43. หนอนกอข้าว
ภาพจาก : ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืช จังหวัดชลบุรี
https://www.facebook.com/photo?fbid=749314723962144&set=pcb.749315073962109

ผีเสื้อหนอนกอสีครีม

43. หนอนกอข้าว
ภาพจาก : กลุ่มอารักขาพืช สำนักงานเกษตรจังหวัดนครปฐม

ผีเสือหนอนกอข้าว

43. หนอนกอข้าว
ภาพจาก : ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืช จังหวัดชลบุรี
https://www.facebook.com/photo/?fbid=749314987295451&set=pcb.749315073962109