ศูนย์วิทยบริการเพื่อส่งเสริมการเกษตร

10

เรื่องล่าสุด

งานนำเสนอเรื่องการปลูกพืชผัก ภายใต้ “โครงการรณรงค์ส่งเสริมการปลูกผักสวนครัวในภาชนะ” วันศุกร์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2567 ณ ห้องประชุม 7 ชั้น 5 อาคาร 1 กรมส่งเสริมการเกษตร เรียบเรียงโดย : กองขยายพันธุ์พืช กรมส่งเสริมการเกษตร ดาวน์โหลดไฟล์ PDF.

วันที่ 4 กันยายน 2567 สำนักงานเกษตรจังหวัดสิงห์บุรี ขอรับสื่อเอกสารคำแนะนำและแผ่นพับ จำนวน 1,500 เล่ม/แผ่น สำหรับจัดอบรมและเผยแพร่แก่เกษตรกรในพื้นที่

แผ่นพับที่ 5/2567 แป้งเท้ายายม่อม ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านการเกษตร จังหวัดชลบุรี “เท้ายายม่อม” พืชพื้นเมืองประเภทแป้งชนิดหนึ่ง เป็นทรัพยากรทางธรรมชาติด้านพืชพรรณที่บ่งบอกถึงความอุดมสมบูรณ์และความหลากหลายของพืชท้องถิ่นในประเทศไทย พบมากบริเวณภาคตะวันออกและภาคใต้ ส่วนในภาคกลางและภาคตะวันออก จะพบขึ้นกระจายในธรรมชาติบริเวณป่าผลัดใบต่าง ๆ ป่าดิบแล้งที่เป็นดินทราย และบริเวณที่มีร่มเงาของต้นไม้ใหญ่ โดยในพื้นที่ภาคตะวันออกพบได้ตั้งแต่ป่าละเมาะ หาดทราย ไปจนถึงบนเขาหินปูนที่ไม่สูงมากนัก เท้ายายม่อมจัดเป็นพืชล้มลุกฤดูเดียวโดยธรรมชาติ มีระยะเวลาการเจริญเติบโตอย่างน้อย 3 ปี ขึ้นไปจากเมล็ดเป็นพืชที่มีหัวสะสมแป้ง

ประกาศรายชื่อผู้สมัครเข้าร่วมการฝึกอบรม “โครงการรณรงค์ส่งเสริมการปลูกผักสวนครัวในภาชนะ” เพื่อเข้าร่วมอบรมในวันศุกร์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2567 ณ ห้องประชุม 7 ชั้น 5 อาคาร 1 กรมส่งเสริมการเกษตร รายชื่อผู้เข้าร่วมรอบเช้า (8.30 – 12.00 น.) รายชื่อผู้เข้าร่วมรอบบ่าย (13.00

การฟื้นฟูแปลงและปลูกพืชผัก ดินเปียก น้ำขัง การใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มา เพื่อเตรียมเพาะกล้าเตรียมส่วนผสม (คลุกเคล้าให้เข้ากัน) เรียบเรียง : สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 6 จังหวัดเชียงใหม่

การฟื้นฟูนาข้าวหลังน้ำลดและการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาในนาข้าว การฟื้นฟูนาข้าวหลังน้ำลด การเกิดน้ำท่วมในพื้นที่นาข้าว อาจเกิดได้ 2 กรณี คือ จากฝนตกหนักน้ำป่าไหลหลาก เกิดน้ำท่วมฉับพลับ หรือเกิดจากน้ำท่วมขังเป็นระยะเวลานาน ส่งผลต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของข้าวเสียหาย โดยขึ้นอยู่กับระยะการเจริญเติบโตของข้าว ความลึกของน้ำ และระยะเวลาการท่วมขัง การจัดการนาข้าว การใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มา ใช้ควบคุมโรคที่มีสาเหตุเกิดจากเชื้อราสำหรับนาข้าว มีอัตราการใช้ดังนี้ เรียบเรียง : สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 6

ชวนอ่านเรื่องราวของ อาสาสมัครเกษตรหมู่บ้าน (อกม.) กำลังสำคัญที่อยู่เคียงข้างนักส่งเสริมการเกษตรตลอดมา อกม. คือใคร? อกม. ทำอะไรบ้าง? เป็น อกม. แล้วได้อะไร? วันนี้มาหาคำตอบพร้อม ๆ กันในโพสต์นี้เลยค่ะ อาสาสมัครเกษตรหมู่บ้าน (อกม.)คลิกอ่าน : https://bit.ly/3Up0TCF คู่มืออาสาสมัครเกษตรหมู่บ้าน (อกม.)คลิกอ่าน : https://bit.ly/3MnV05R

ชวนทุกคนมาฟังเรื่องราวของโครงการสินค้าเกษตรและบริการมูลค่าสูง “1 ท้องถิ่น 1 สินค้าเกษตรมูลค่าสูง” ตั้งแต่ที่มาของโครงการ วัตถุประสงค์ กลุ่มเป้าหมาย แนวทางการขับเคลื่อน รวมถึงบทบาทของกรมส่งเสริมการเกษตรต่อโครงการนี้ ใน 3 เอกสารแนะนำดังนี้ 1 ท้องถิ่น 1 สินค้าเกษตรมูลค่าสูงคลิกอ่าน : https://bit.ly/3Z2VXIe โครงการสินค้าเกษตรและบริการมูลค่าสูง “1 ท้องถิ่น 1

ติดต่อ

ศูนย์วิทยบริการเพื่อส่งเสริมการเกษตร 2143/1 ถนน พหลโยธิน แขวงลาดยาว เขตจุจักร กรุงเทพมหานคร 10900 หมายเลขโทรศัพท์/โทรสาร 0 2579 5517 e Mail : agritech.esc.doae@gmail.com

ฤดูฝนเริ่มแล้ว…ท่านใดที่สนใจเพาะเลี้ยงแมลงมัน ที่เป็นแมลงพื้นถิ่นทางภาคเหนือ 1 ปี มีแค่ครั้งเดียว สามารถศึกษาข้อมูลเบื้องต้นเพื่อประกอบการเลี้ยงได้เลยค่ะ แล้วเรามาลุ้นไปด้วยกันว่าเราจะมีแมลงมันไว้รับประทานเองหรือเปล่า สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

อุตรดิตถ์ดินแดนมะขามหวาน  ด้วยความอุดมสมบูรณ์ของพื้นถิ่น ทำให้วิสาหกิจชุมกลุ่มมะขามแปลงใหญ่ อำเภอฝากท่า จังหวัดอุตรดิตถ์ รังสรรค์มะขามหวานที่มีรสชาติเป็นเอกลักษณ์ ได้มาตรฐาน GAP

หน่อไม้ฝรั่งแดนอีสาน ณ ตำบลวังสวาบ อำเภอภูผาม่าน จังหวัดขอนแก่น เส้นทางความสำเร็จจากวิสาหกิจชุมชนกลุ่มหน่อไม้ฝรั่งแปลงใหญ่ ที่สร้างฐานตลาดไปไกลยังไต้หวัน ด้วยประสิทธิภาพการผลิตที่ได้มาตรฐาน

เส้นทางความสำเร็จของเกษตรแปลงใหญ่มะม่วงน้ำดอกไม้สีทองของตำบลหนองแซง อำเภอบ้านแฮด จังหวัดขอนแก่น เป็นหนึ่งในกลุ่มเกษตรแปลงใหญ่ที่ได้ถอดบทเรียนจากประสบการณ์การทำมะม่วงน้ำดอกไม้ที่กระบวนการเรียนรู้และส่งเสริมซึ่งกันและกัน จนนำไปสู่ 7 แนวทางการทำเกษตรมูลค่าสูง ผลผลิตมีคุณภาพ

7 เทคนิคการปลูกและดูแลรักษาพืชผักในฤดูฝน 2. การเตรียมเมล็ดพันธุ์ ควรใช้เมล็ดพันธุ์จากแหล่งที่เชื่อถือได้ เพื่อป้องกันเชื้อราที่ติดมากับเมล็ด 5. การกำจัดวัชพืช

กรอบระยะเวลาการขึ้นทะเบียนและปรับปรุงทะเบียนเกษตรกร ปี 2567 ขอเชิญชวนเกษตรกรขึ้นทะเบียนและปรับปรุงทะเบียนเกษตรกรให้เป็นปัจจุบัน ตามกรอบระยะเวลาการขึ้นทะเบียนและปรับปรุงทะเบียนเกษตรกร ปี 2567 ตามชนิดพืชและพื้นที่