ศูนย์วิทยบริการเพื่อส่งเสริมการเกษตร

10

เรื่องล่าสุด

เกษตรสมุทรปราการแนะนำ แนวทางดูแลรักษามะม่วงในช่วงฤดูฝน แนวทางดูแลรักษามะม่วงในช่วงฤดูฝน โรคมะม่วงที่พบบ่อยในช่วงฤดูฝน : โรคแอนแทรคโนสในมะม่วงสาเหตุ : เกิดจากเเชื้อรา Colletotrichum gloeosporioides Penz. ลักษณะอาการ : ใบอ่อนมีอาการเป็นจุดฉ่ำน้ำ และจะเปลี่ยนเป็นสีดำ บริเวณที่เป็นแผลจะหดตัวเล็กลงทำให้ใบบิดเบี้ยว แนวทางป้องกัน : ป้องกันด้วยการใช้สารชีวภัณฑ์ฉีดพ่นเพื่อควบคุมโรค อาทิเช่น เชื้อราไตรโคเดอร์มา หรือเชื้อแบคทีเรียบาซิลลัส

ปัจจัยความก้าวหน้า กลุ่มมะพร้าวแปลงใหญ่ จังหวัดสมุทรสงคราม ด้วยการบริหารจัดการทำมะพร้าวน้ำหอมท้องถิ่น โดยการลดต้นทุนอย่างมีประสิทธิภาพ เพิ่มผลผลิตอย่างมีประสิทธิผล ทั้งยังการันตีคุณภาพโดย GAP และองค์กรระหว่างประเทศเช่นเยอรมัน จนผลิตภัณฑ์มะพร้าวหอมฉุยปลอดภัย ได้คุณภาพ อีกทั้งยังเป็นส่วนหนึ่งในโครงการสินค้าเกษตรและบริการมูลค่าสูง 1 ท้องถิ่น 1 สินค้ามูลค่าสูงอีกด้วย

ด้วงกัดใบบุกไร่มันสำปะหลัง! เตือนเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังทุกพื้นที่ ดำเนินการ ดังนี้ 1.ให้เกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังสำรวจแปลงปลูกของตน 2.สังเกตลักษณะการทำลายของด้วงกัดใบคือ ใบเว้า ๆ แหว่ง ๆ มีมูลด้วงบริเวณยอดของต้นมันสำปะหลัง และตัวด้วงมักอาศัยอยู่เป็นคู่ๆ หรือรวมกันเป็นกลุ่มบนลำต้น 3.ป้องกันกำจัดด้วยวิธีเขตกรรม คือ เก็บด้วงไปทำลาย 4. พ่นสารฆ่าแมลง คาร์บาริล 85% ดับเบิ้ลยูพี (สารกลุ่ม1a)

ชวนอ่านเรื่องราวของ “มันสำปะหลัง” และ “ศัตรูของมันสำปะหลัง” เนื่องจากช่วงนี้มีการระบาดในหลายพื้นที่ เกษตรกรจึงจำเป็นต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ 1.คำแนะนำการป้องกันกำจัด หนอนกระทู้…ในมันสำปะหลังคลิกอ่าน : https://bit.ly/4ccGaL22.การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตมันสำปะหลังคลิกอ่าน : https://bit.ly/44kBVbU3.ศัตรูมันสำปะหลังและการจัดการคลิกอ่าน : https://bit.ly/3uG8XqJ4.ศัตรูธรรมชาติในแปลงมันสำปะหลังคลิกอ่าน : https://bit.ly/3J70pMW

พันธุ์มันสำปะหลัง ทนทานต่อโรคใบด่างมันสำปะหลัง ระยอง 72 ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ใบยอดอ่อนสีม่วง ไม่มีขน ก้านใบแดงเข้ม แผ่นใบเป็นใบหอกลักษณะเด่น : เจริญเติบโตเร็วในช่วงแรก ผลผลิตหัวสดสูง ต้นพันธุ์ยาวแข็งแรง สภาพดินที่เหมาะสม : ความอุดมสมบูรณ์ปานกลางถึงสูง เช่น ดินร่วนปนทราย ดินร่วนปนเหนียว ดินเหนียวสีดำและแดง ความต้านทานต่อศัตรูพืช

แมกนีเซียม (Mg) เป็นองค์ประกอบของส่วนที่เป็นสีเขียวของพืช (คลอโรฟิลล์) ซึ่งทำหน้าที่ในการสังเคราะห์แสง ส่งเสริมการดูดกินและนำพาฟอสฟอรัสขึ้นสู่ลำต้น ช่วยสังเคราะห์กรดอะมิโน วิตามิน ไขมัน มีส่วนช่วยในการสร้างน้ำมันเมื่ออยู่ร่วมกับกำมะถัน นอกจากนี้ยังทำหน้าที่หลายอย่างซึ่งมีความสำคัญต่อการหายใจของเซลล์พืช เมื่อพืชขาดแมกนีเชียม ใบแก่ (ใบล่าง) เปลี่ยนเป็นสีเหลือง แต่เส้นใบสีเขียวชัดเจนบนใบสีเหลืองคล้าย “ก้างปลา” อาการนี้เรียกว่า “ใบเหลืองระหว่างเส้นใบ” หรือ “คลอโรซีส” (chlorosis)

โรคถอดฝักดาบ สาเหตุ เกิดจากเชื้อราอาศัยอยู่ในฟางข้าว เมล็ดพันธุ์ หรือวัชพืชรอบ ๆ แปลง สภาพที่เหมาะสมต่อการระบาด◾สภาพอากาศร้อนชื้น (แดดจัดในตอนเช้า ตอนเย็นฝนตก ฟ้าครึ้ม อากาศอบอ้าว) อุณหภูมิ 27-28 องศาเซลเซียส เชื้อราจะงอกจากสปอร์◾ปลูกต้นข้าวขึ้นหนาแน่น อากาศไม่ถ่ายเท อาการและการระบาด◾มักพบในข้าวอายุเกิน 15 วัน และระยะเริ่มแตกกอ◾ข้าวเป็นโรคจะต้นผอมสูงเด่นกว่ากล้าข้าวโดยทั่ว ๆ

ข่าวดี สำหรับเกษตรกรจังหวัดพิจิตร ‼️ อบรมฟรี ‼️ ฝึกปฏิบัติจริง กับเครื่องยนต์จริงๆ ‼️ ประชาสัมพันธ์ เปิดรับสมัครเกษตรกรผู้สนใจ เข้ารับการฝึกอบรม การซ่อมแซมเครื่องยนต์การเกษตร หลักสูตรเน้นหนัก โดยทีมวิทยากรผู้จัด จากศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรจังหวัดกำแพงเพชรอบรม 4 วัน สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : สำนักงาน เกษตรจังหวัดพิจิตร

โรคใบขีดโปร่งแสง สาเหตุ เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย อยู่ในดิน น้ำ และวัชพืช– เชื้อสามารถแพร่ขยายได้หลังจากช่วงที่มีฝนตกและลมพัดแรง– ส่วนใหญ่พบการระบาดในแปลงที่มีการใส่ปุ๋ยไนโตรเจนสูง– ข้าวพันธุ์ค่อนข้างอ่อนแอต่อโรคที่มีสาเหตุจากเชื้อแบคทีเรีย เช่น ขาวดอกมะลิ 105 ชัยนาท 1 พิษณุโลก 2 กข 41 กข 47 กข 49

แนวทาง 3R Model ลดปัญหาการเผาในพื้นที่การเกษตร ดาวน์โหลดไฟล์ PDF เรียบเรียงโดย :

น้ำหมักสับปะรดย่อยสลายตอซังข้าว ส่วนประกอบ วิธีทำ วิธีใช้ ประโยชน์ ดาวน์โหลดไฟล์ PDF. เรียบเรียงโดย

แนวทางส่งเสริมการหยุดเผา…ทำอย่างไรบ้าง? ดาวน์โหลดไฟล์ PDF. เรียบเรียงโดย : สำนักงานเกษตรอำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี

ดินรสจัด…แก้ไขได้ ดินเปรี้ยวจัด แนะนำ ดินจืดจัด แนะนำ ดินเค็มจัด แนะนำ ดาวน์โหลดไฟล์

หยุดเผาแล้วทำอย่างไร? อาหารสัตว์ นำมาอัดก้อน หรือทำอาหารหมัก เพื่อใช้เลี้ยงสัตว์ วัสดุเพาะปลูก ทำวัสดุเพาะปลูกจากเปลือกข้าวโพด ซังข้าวโพด

การทำปุ๋ยหมักแบบไม่พลิกกลับกอง หัวใจของการทำปุ๋ยหมัก ดาวน์โหลดไฟล์ PDF. สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : กองส่งเสริมการอารักขาพืชและจัดการดินปุ๋ย