คุณสมบัติของปุ๋ยไนโตรเจนรูปแบบต่าง ๆ
46-0-0ยูเรีย คือ มีไนโตรเจนรูปยูเรียเท่ากับ 46% โดยไม่มีธาตุอาหารรอง-เสริม อื่น ๆ ตอบสนองต่อพืชได้เร็ว มีธาตุไนโตรเจนสูง ทำให้พืชโตเร็ว ใบเขียวเข้ม ให้ปริมาณไนโตรเจนต่อน้ำหนักปุ๋ยเคมีมากที่สุด แต่มีข้อจำกัด คือ ถ้าใส่มากเกินความต้องการของพืช จะทำให้ต้นพืชมีอาการอวบน้ำ และอาจเกิดโรคได้ง่าย 27-0-0แคลเซียมแอมโมเนียมไนเตรท คือ มีรูปปุ๋ยไนโตรเจนทั้ง 2 รูปแบบ คือ ในรูปไนเตรทเท่ากับ 13.5% มีไนโตรเจนในรูปแอมโมเนียมเท่ากับ 13.5% และมีธาตุอาหารรองบางธาตุเป็นองค์ประกอบ คือ แคลเซียมประมาณ 11-12% และกำมะถัน ขึ้นอยู่กับแหล่งวัตถุดิบ ช่วยเร่งการเจริญเติบโต ละลายน้ำ และตอบสนองต่อพืชได้เร็ว และมีความเขียวได้นานต่อเนื่อง นิยมใช้ในพืชผัก ไม้ผล 21-0-0แอมโมเนียซัลเฟต คือ ไนโตรเจนในรูปแอมโมเนีย 21% และมีกำมะถัน ประมาณ 23-24% ช่วยเพิ่มสีสัน กลิ่น และน้ำมัน เมื่ออยู่ในดิน หรือสภาพน้ำขังจะปลดปล่อยธาตุอาหารออกมาอย่างต่อเนื่อง พืชจะค่อย ๆ เขียว ต้นพืชเขียวได้นานมากกว่าการได้รับไนโตรเจนในรูปอื่น ๆ แต่ความเข้มของสีใบจะไม่เข้มมาก เหมาะกับการใช้ในพืชไร่ พืชนาน้ำขัง หรือพืชสะสมอาหารอายุยาว 15-0-0แคลเซียมไนเตรท คือ มีไนโตรเจนในรูปไนเตรทเท่ากับ 15% และมีแคลเซียมประมาณ 25-26% ช่วยเร่งการเจริญเติบโต ละลายน้ำและตอบสนองต่อพืชได้เร็ว พืชเขียวเร็ว นิยมใช้ในพืชผัก ไม้ผล โดยรูปไนเตรทจะสูญเสียได้ง่ายไปกับน้ำและอากาศ 13-0-46โพแทสเซียมไนเตรท คือ มีไนโตรเจนในนรูปไนเตรท 13% และมีโพแทสเซียม 46% มีคุณสมบัติในการละลายในนน้ำได้ดี ใช้ในการกระตุ้นการสะสมอาหาร และเพิ่มคุณภาพผลผลิตในพืช เพราะได้ทั้งรูปไนโตรเจน และโพแทสเซียม นิยมใช้ในพืชผัก ไม้ผล และพืชไร่ เรียบเรียงโดย : สำนักงานเกษตรอำเภอวังสมบูรณ์ จังหวัดสระแก้ว
แหนแดง พืชน้ำมหัศจรรย์
แหนแดง พืชน้ำมหัศจรรย์ แหนแดง สายพันธุ์ไมโครฟิลล่า (MICROPHYLLA)เปรียบเสมือนโรงงานผลิตปุ๋ยไนโตรเจนทางชีวภาพ โดยผ่านกระบวนการตรึงไนโตรเจน จากอากาศของสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน (CYANOBACTERIAL) ที่อยู่อาศัยอยู่ในโพรงใบของแหนแดง เมื่อนำแหนแดงไปตากแห้ง (น้ำหนักแห้ง 150 กิโลกรัม) มีปริมาณไนโตรเจน 6.0-4.5 กิโลกรัม เป็นทางเลือกสำหรับใช้ทดแทนปุ๋ยเคมีในแปลงผักอินทรีย์ วิธีการขยายพันธุ์ ประโยชน์ของแหนแดง เรียบเรียง : สำนักงานเกษตรอำเภอวังน้ำเย็น จังหวัดสระแก้ว
ธาตุอาหารและสูตรปุ๋ย
ธาตุอาหารและสูตรปุ๋ย ปุ๋ยเคมี ตัวอย่าง 16-8-8 ตัวเลขบนกระสอบบอกถึงน้ำหนักของธาตุอาหารเทียบต่อน้ำหนักปุ๋ย 100 กิโลกรัม N ไนโตรเจนปุ๋ย 100 กิโลกรัม มีไนโตรเจน 16 กิโลกรัมปุ๋ย 50 กิโลกรัม จึงมีไนโตรเจน 8 กิโลกรัม P ฟอสฟอรัสปุ๋ย 100 กิโลกรัม มีฟอสฟอรัส 8 กิโลกรัมปุ๋ย 50 กิโลกรัม จึงมีฟอสฟอรัส 4 กิโลกรัม K โพแทสเซียมปุ๋ย 100 กิโลกรัม มีโพแทสเซียม 8 กิโลกรัมปุ๋ย 50 กิโลกรัม จึงมีโพแทสเซียม 4 กิโลกรัม ปุ๋ยมีน้ำหนัก 50 กิโลกรัม ปริมาณธาตุ อาหารจึงเท่ากับครึ่งหนึ่งของตัวเลขบนกระสอบ จากตัวอย่าง ปุ๋ยสูตร 16-8-8 จึงมีธาตุอาหาร รวมมีปริมาณธาตุอาหาร 19 กิโลกรัม น้ำหนักที่ขาดไปอีก 31 กิโลกรัม คือสารตัวเติมหรือฟิลเลอร์ เรียบเรียงโดย : กลุ่มอารักขาพืช สำนักงานเกษตรจังหวัดพิจิตร
เกณฑ์การประเมินพื้นที่ระบาดศัตรูพืชในพืชเศรษฐกิจสำคัญ (ข้าวโพด)
เกณฑ์การประเมินพื้นที่ระบาดศัตรูพืชในพืชเศรษฐกิจสำคัญ (ข้าวโพด) หนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุดสำรวจ 10 จุดทั่วแปลง จุดละ 10 ต้น เพื่อประเมินพื้นที่ถูกทำลาย ข้าวโพด อายุ 1-21 วันไม่ระบาด = พบต้นถูกหนอนทำลาย น้อยกว่า 10%รุนแรงน้อย = พบต้นถูกหนอนทำลาย 11-30%รุนแรงมาก = พบต้นถูกหนอนทำลาย มากกว่า 30% ข้าวโพด อายุ 22-45 วันไม่ระบาด = พบต้นถูกหนอนทำลาย น้อยกว่า 30%รุนแรงน้อย = พบต้นถูกหนอนทำลาย 31-50%รุนแรงมาก = พบต้นถูกหนอนทำลาย มากกว่า 50% ข้าวโพด อายุ 45วันขึ้นไปไม่ระบาด = พบต้นถูกหนอนทำลาย น้อยกว่า 10%รุนแรงน้อย = พบต้นถูกหนอนทำลาย 11-30%รุนแรงมาก = พบต้นถูกหนอนทำลาย มากกว่า 30% ที่มา : สำนักงานเกษตรอำเภอเมืองกำแพงเพชร
ปุ๋ยไนโตรเจน ทำไมมีหลายสูตรจัง?
ปุ๋ยไนโตรเจน ทำไมมีหลายสูตรจัง? รูปแบบของไนโตรเจนที่เป็นประโยชน์กับพืชและดูดใช้งานได้ ประกอบด้วย ปุ๋ยไนโตรเจนที่มักพบในท้องตลาด การใส่ปุ๋ยไนโตรเจนลงในดินต้องปฏิบัติอย่างระมัดระวัง โดยเฉพาะการเลือกชนิดของปุ๋ยไนโตรเจน ปริมาณที่ใช้ จำนวนครั้งในการแบ่งใช้ ตลอดจนช่วงเวลาที่เหมาะสมในการใช้ ทั้งนี้ควรคำนึงถึงชนิดของพืช อายุของพืช และชนิดของดินด้วย การใช้ในปริมาณที่มากเกินความต้องการของพืชอาจส่งผลให้เป็นพิษต่อพืช และเป็นการสิ้นเปลือง เพิ่มต้นทุนการผลิต เนื่องจากเกินความสามารถของพืช ในการกักเก็บของดินและการดูดใช้ของพืช จัดทำโดย : สำนักงานเกษตรอำเภอเมืองกำแพงเพชร