ศูนย์วิทยบริการเพื่อส่งเสริมการเกษตร

10

เรื่องล่าสุด

เกร็ดความรู้สำหรับเกษตรกรผู้เลี้ยงครั่ง หลังจากปล่อยครั่งไปแล้ว 1 เดือน ครั่งจะขับถ่ายมูลหวาน ออกมาจากช่องขับถ่าย หากเกษตรกรที่ปล่อยครั่งบนต้นจามจุรีที่มีขนาดใหญ่ อาจจะสังเกตการเจริญเติบโตของครั่งได้ยาก ดังนั้นเรามีเทคนิคในการสังเกตครั่งมาฝากกันค่ะ 1.ไม้อาศัยต้นเตี้ย ก็จะเห็นการเจริญเติบโตของครั่งได้ชัดเจน มีการสร้างไขสีขาว และการขับน้ำหวานที่มีสีใสออกมา เมื่อสัมผัสอากาศนาน ๆ ก็จะเริ่มแข็งตัวและเปลี่ยนเป็นสีเหลือง สีทอง สีน้ำตาล 2.ไม้อาศัยต้นใหญ่และมีความสูงมาก เราอาจจะสังเกตได้ดังนี้ เรียบเรียง :

แมลงศัตรูพืชในฤดูร้อนที่ต้องระวัง ฤดูร้อนเกษตรกรผู้ปลูกพืชตระกูลกะหล่ำและผักกาด เช่น คะน้า กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก บรอกโคลี กวางตุ้ง ผักกาดขาว ผักกาดหอม ฯลฯ ต้องเผชิญกับศัตรูพืชต่าง ๆ เพราะด้วยสภาพอากาศที่มีความชื้นต่ำติดต่อกันยาวนานหลายเดือน นับเป็นสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมสำหรับแมลงศัตรูพืช ซึ่งสร้างความเสียหายให้กับพืชที่ปลูกได้ โดยแมลงศัตรูพืชที่พบมากในช่วงอากาศร้อน เช่น เพลี้ยอ่อน ด้วงหมัดผัก หนอนใยผัก และหนอนกระทู้ผัก

ส่งเสริมไม่เผาด้วย 3R Model น้ำหมักย่อยสลายฟาง “จุลินทรีย์หน่อกล้วย” วัตถุดิบ วิธีทำ การนำไปใช้ใช้น้ำหมักชีวภาพอัตรา 5 ลิตรต่อไร่ เจือจางกับน้ำ 100 ลิตร ราดลงในแปลงข้าวเพื่อช่วยให้ตอซังข้าวย่อยสลายได้ง่าย หมักไว้ประมาณ 2 สัปดาห์ แล้วจึงปั่นดินนาทำเทือกเพื่อเตรียมเพาะปลูกข้าวครั้งใหม่ต่อไป เรียบเรียงโดย : สำนักงานเกษตรอำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี

แคดเมียน (CADMIUM) คืออะไร??แคดเมียนเป็นแร่โลหะชนิดหนึ่ง สามารถเกิดขึ้นได้เองในธรรมชาติ โดยอาจมาจากวัตถุต้นกำเนิดดิน การทำเหมืองแร่ โรงงานผลิตไฟฟ้าโดยใช้ถ่านหิน การทำแบตเตอรี่ การใช้ปุ๋ย และสารเคมีกำจัดศัตรูพืชในการเกษตร และสามารถพบแคดเมียมปนเปื้อนได้ในอาหารและน้ำ การปนเปื้อนโลหะหนักในดิน มีสาเหตุมาจากกิจกรรมทางการเกษตรและอุตสาหกรรม เช่น การทิ้งของเสียโดยไม่มีการจัดการอย่างเหมาะสม ทำให้เกิดการตกค้างและสะสมโลหะหนักในดิน เช่น สารหนู แคดเมียม ตะกั่ว ปรอท เป็นต้น

แมลงสิง ศัตรูข้าวระยะออกรวง รูปร่างลักษณะ ลักษณะการทำลาย การป้องกันกำจัด เรียบเรียง : กลุ่มส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนด้านอารักขาพืชและดินปุ๋ย กองส่งเสริมการอารักขาพืชและจัดการดินปุ๋ย

ขอเชิญชวนร่วมงานรณรงค์สร้างการรับรู้และการเรียนรู้การเกษตรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green Day)  พบกับกิจกรรมที่น่าสนใจภายในงาน สถานีเรียนรู้เกี่ยวกับการทำการเกษตรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และการออกร้านจำหน่ายสินค้าจากเกษตรกร กลุ่มเกษตรกรต่าง ๆ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : สำนักงานเกษตรจังหวัด สุราษฎร์ธานี

ขอเชิญชวนร่วมงานโครงการคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ในพระราชานุเคราะห์สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ไตรมาส 2 ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ภายในงานพบกับ  สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : สำนักงานเกษตรอำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่

เชิญชวน เข้าร่วมเวทีรณรงค์สร้างการรับรู้และการเรียนรู้การเกษตรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม(Green Day) โครงการส่งเสริมการเกษตรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ในวันพฤหัสบดี ที่ 20 กุมภาพันธ์ 2568 ณ ลานวัฒนธรรมตำบลเขาขาว อำเภอละงู จังหวัดสตูล ภายในงานพบกับ>>>ฐานเรียนรู้ 5 ฐาน 1.เทคโนโลยีการผลิตข้าวและการใช้จุลินทรีย์ย่อยสลายตอซัง 2.การใช้แหนแดงในนาข้าว 3.การสร้างมูลค่าเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร 4.การปลูกพืชหลังนา 5. การเพาะเห็ดฟางในตะกร้า

เชื้อราไตรโคเดอร์มา Trichoderma spp. เชื้อราไตรโคเดอร์มา เชื้อราชนิดหนึ่งที่ดำรงชีวิตอยู่ในดิน อาศัยเศษซากอินทรีย์วัตถุเป็นอาหาร โดยมีคุณสมบัติในการควบคุมและทำลายเชื้อราสาเหตุโรคพืชทางดิน จึงทำให้พืชมีระบบรากที่สมบูรณ์ แข็งแรง หาอาหารได้มาก ต้นพืชจึงสมบูรณ์ให้ผลผลิตสูง และคุณภาพดี เชื้อราไตรโคเดอร์มา เป็นเชื้อราที่ยับยั้งการเจริญเติบโตและทำลายเชื้อราสาเหตุโรคพืชหลายชนิด ดังนี้ การเข้าทำลายโรคพืชของเชื้อราไตรโคเดอร์มา การใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มา จัดทำโดย : สำนักงานเกษตรอำเภอตาพระยา จังหวัดสระแก้ว

ใช้แหนแดงร่วมกับปุ๋ยเคมี ช่วยลดต้นทุน ปรับสมดุลดิน

ใช้แหนแดงร่วมกับปุ๋ยเคมี ช่วยลดต้นทุน ปรับสมดุลดิน

ใช้แหนแดงร่วมกับปุ๋ยเคมี ช่วยลดต้นทุน ปรับสมดุลดิน ประโยชน์ของแหนแดง จัดทำโดย : กลุ่มส่งเสริมและพัฒนาการผลิต สำนักงานเกษตรจังหวัดสระบุรี มกราคม ; 2568

“GOOD & FOOD SECURITY” ไข่ผำ สุขภาพที่ดีและความมั่นคงทางอาหาร

"GOOD & FOOD SECURITY" ไข่ผำ สุขภาพที่ดีและความมั่นคงทางอาหาร

“GOOD & FOOD SECURITY” ไข่ผำ สุขภาพที่ดีและความมั่นคงทางอาหาร ไข่ผำ หรือ ไข่น้ำไขผำ เป็นพืชน้ำพื้นบ้านที่พบได้ตามห้วย หนอง คลอง บึง ลักษณะเป็นเม็ดสีเขียวขนาดเล็ก มีชื่อว่า “กรีนคาเวียร์” และเป็นอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการด้านโปรตีนสูง รสชาติรสชาติของไข่ผำจะมีรสจืด เคี้ยวมัน เพราะเนื้อสัมผัสกรุบ ๆ คล้ายไข่ปลา หรือบางคนก็บอกว่าไข่ผำรสชาติเหมือนผักวอเตอร์เครสหรือกะหล่ำปลี สรุปแล้วก็คือมีรสชาติกลาง ๆ ไม่เด่นไปทางไหนเป็นพิเศษ สรรพคุณ เมนูจากไข่ผำไข่ผำ สามารถนำมาประกอบอาหารไทยได้หลากหลาย เช่น แกงคั่ว แกงอ่อม ไข่เจียว ไข่ตุ๋น เมี่ยงคำ เมี่ยงคำคุกกี้ เมนูยำ รวมทั้งนำไปทำสุกเป็นเครื่องจิ้ม แกงไข่ผำ จัดทำโดย : สำนักงานเกษตรอำเภอเขาฉกรรจ์ จังหวัดสระแก้ว

ฤดูหนาวปลูกผักอะไรดี?

ฤดูหนาวปลูกผักอะไรดี?

ฤดูหนาวปลูกผักอะไรดี ? ? (ช่วงเดือนตุลาคม-มกราคม) พืชผักที่เจริญเติบโตได้ดีในฤดูหนาว ได้แก่ ผักสลัด กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก กุยช่าย ขึ้นฉ่าย แครอท กระเทียม หอมแดง มะเขือเทศ ถั่วลันเตา และพริกยักษ์ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม พืชผัก เป็นพืชสามารถปลูกได้ตลอดทั้งปี โดยทั่วไปแล้ว พืชผักส่วนใหญ่มักจะเจริญเติบโตได้ดีในฤดูหนาว ด้วยสภาพอากาศที่เย็นสบาย จึงทำให้มีผลผลิตออกสู่ตลาดปริมาณมาก 5 วิธีดูแลพืชผักในช่วงฤดูหนาวแม้พืชผักจะเป็นพืชอายุสั้น เก็บเกี่ยวผลผลิตได้เร็ว ดูแลรักษาง่าย แต่เกษตรกรจำเป็นต้องรู้จักวิธีจัดการแปลงผักของตนเอง เพื่อป้องกันผลกระทบทั้งด้านคุณภาพ และปริมาณผลผลิต จากอุณหภูมิที่ลดต่ำลงในหลายพื้นที่ ดังนั้น การปลูกกพืชผักในช่วงนี้ จึงต้องมีการวางแผนการผลิตให้ดี และให้ความสำคัญกับการดูแลรักษา โดยเกษตรกรสามารถปฏิบัติตามง่าย ๆ ดังนี้ 1.เลือกพันธุ์พืชที่เหมาะสมกับสภาพดินฟ้าอากาศ สภาพพื้นที่ และความต้องการของตลาด ควรใช้เมล็ดพันธุ์ดี จากแหล่งที่น่าเชื่อถือเพื่อให้ได้ผลผลิตที่ได้มีคุณภาพและตรงตามพันธุ์ และควรเป็นพืชอายุสั้น เก็บเกี่ยวผลผลิตได้เร็ว ดูแลรักษาง่าย 2.พื้นที่ปลูกควรมีแหล่งน้ำเพียงพอตลอดฤดูกาลเพาะปลูก ระวังอย่าให้พืชขาดน้ำ และอย่าให้น้ำมากเกินไปจนแฉะ จะทำให้พืชเน่าตายได้ ควรให้น้ำในช่วงเช้าหรือเย็น และไม่ควรให้น้ำตอนแดดจัด 3.สภาพพื้นดินมีความอุดมสมบูรณ์ อยู่ห่างจากแหล่งที่มีสารปนเปื้อนและโรงงานอุตสาหกรรมที่อาจก่อให้เกิดสารตกค้างในผลผลิตและควรมีวัสดุคลุมแปลงเพื่อรักษาความชื้นในแปลงปลูก 4.เกษตรกรควรป้องกันการเกิดโรคจากเชื้อราโดยการโชยน้ำ ชำระล้างใบในช่วงเช้า และการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยป้องกันโรคเน่าในพืชผักได้ 5.หมั่นดูแลและสังเกตการเจริญเติบโตของพืชผักที่ปลูก หากพบศัตรูพืชเข้าทำลายให้รีบกำจัดก่อนที่จะเกิดความเสียหายมาก หากไม่จำเป็นควรหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมี หรือใช้ในปริมาณที่กำหนดตามคำแนะนำ เรียบเรียงโดย : สำนักงานเกษตรจังหวัดชัยนาท

การปลูกเตยหอม

การปลูกเตยหอม

การปลูกเตยหอม การเตรียมดินและโรงเรือนปลูก การปลูกเตยหอมปลูกด้วยวิธีการดำหน่อพันธุ์ ประมาณ 25,000 หน่อต่อไร่ โดยมีระยะห่างประมาณ 50 เซนติเมตร วิธีการดูแลรักษาใส่ปุ๋ย สูตร 16-20-0 ในอัตรา 50-100 กิโลกรัมต่อไร่ ทุก ๆ 3-4 เดือน การเก็บเกี่ยว

การปลูกผักสลัดยกแคร่

การปลูกผักสลัดยกแคร่

การปลูกผักสลัดยกแคร่ ส่วนประกอบของดินปลูก วัสดุอุปกรณ์ การเพาะปลูกเพาะเมล็ดผักสลัดลงถาดเพาะกล้า 15 วัน จากนั้นย้ายลงแปลงปลูกยกแคร่ เมื่อผักมีอายุ 30-45 วัน สามารถเก็บเกี่ยวได้ (วันเก็บเกี่ยวขึ้นอยู่กับชนิดผักสลัด) การใส่ปุ๋ย1.หลังจากเพาะปลูกครบ 7 วัน ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 จำนวน 1 ครั้ง2.ให้ฮอร์โมนนมหรือฮอรืโมนไข่ 3-4 วันต่อครั้ง การให้น้ำใช้บัวรดน้ำ หรือใช้สายยางรดน้ำ ให้น้ำ 3 ครั้ง/วัน ข้อดี ข้อมูลโดย : กลุ่มวิสาหกิจชุมชนปลูกผักปลอดภัยบ้านมะค่าปุ่ม จัดทำโดย : สำนักงานเกษตรอำเภอตาพระยา จังหวัดสระแก้ว