ศูนย์วิทยบริการเพื่อส่งเสริมการเกษตร

10

เรื่องล่าสุด

สำนักงานเกษตรอำเภอบ้านหมี่ รับสมัครเกษตรกรที่สนใจเข้าร่วมอบรมแหนแดง การเพาะเลี้ยงและขยายพันธุ์แหนแดง วันที่ 23 มกราคม 2568กิจกรรม : อบรมการเพาะเลี้ยงและการขยายพันธุ์แหนแดงณ ศูนย์เรียนรู้กสิกรรมไร้สารพิษละโว้ อ.ท่าวุ้ง จ.ลพบุรี วันที่ 24 มกราคม 2568กิจกรรม : การศึกษาดูงานการเพาะเลี้ยงและการขยายพันธุ์แหนแดงตามหลักวิชาการณ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรนครสวรรค์ อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์ เข้าดูรายละเอียดเพิ่มเติม

คำแนะนำการป้องกันกำจัด เพลี้ยจักจั่นมะม่วง ชื่อวิทยาศาสตร์1.Idioscopus clypealis (Lethierry)2.Idioscopus niveosparsus (Lethierry) วงจรชีวิตตัวเต็มวัยเพศเมียวางไข่เป็นฟองเดี่ยว ๆ รูปร่างยาวรี สีเหลืองอ่อน ตามแกนกลางใบอ่อนหรือก้านช่อดอกปรากฎเป็นรอยแผลเล็ก ๆ คล้ายรอยมีดกรีด ภายหลังจากการวางไข่แล้ว ประมาณ 1-2 วัน จะเห็นยางสีขาวของมะม่วงไหลหยดออกให้เห็น ระยะไข่ 7-10 วัน

การปลูกเลี้ยงกล้วยไม้มีวิธีการหรือขั้นตอนหลากหลายตามลักษณะสกุลหรือพันธุ์ที่ต้องการ หากเกษตรกรหรือผู้สนใจปลูกเลี้ยงกล้วยไม้สกุลหรือพันธุ์ใด จำเป็นต้องศึกษาและทำความเข้าใจกล้วยไม้สกุลหรือพันธุ์นั้น ๆ ก่อน โดยสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้จาก 2 เอกสาร ด้านล่าง สวนกล้วยไม้ GAP สำหรับเกษตรกรคลิกอ่าน : https://bit.ly/40rr54E การปลูกเลี้ยงกล้วยไม้แบบมืออาชีพคลิกอ่าน : https://bit.ly/3NXdDPU

ขอเชิญเกษตรกร ผู้ที่สนใจ เข้าร่วม การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร “การผลิตนางพญาผึ้งสายพันธุ์ดี” ณ ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านแมลงเศรษฐกิจ จังหวัดชุมพร สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านแมลงเศรษฐกิจ จังหวัดชุมพร

หนอนกระทู้ผัก (common cutworm) ชื่อวิทยาศาสตร์ : Spodoptera litura (Fabricius)วงศ์ : Noctuidaeอันดับ : Lipidoptera วงจรชีวิตหนอนกระทู้ผักเฉลี่ย 25-35 วัน ลักษณะการทำลายเมื่อหนอนฟักออกจากไข่จะอยู่รวมเป็นกลุ่ม กัดแทะเฉพาะผิวใบเหลือแต่เส้นใบ เห็นเป็นสีขาว เมื่อหนอนโตขึ้นจะสามารถกัดกินได้ปริมาณมากและรวดเร็ว ทำให้ใบพืขขาดเป็นรู ในช่วงกลางวันหนอนมักจะหลบอยู่ใต้ใบ ตามซอกของใบ

รับสมัครเกษตรกรเข้าร่วม โครงการปลูกพืชใช้น้ำน้อย เงื่อนไขเข้าร่วมโครงการ เอกสารการสมัคร **สมัครได้ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนกว่าจะครบจำนวน สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : สำนักงานเกษตรอำเภอศรีสำโรง จังหวัดสุโขทัย

กรมส่งเสริมการเกษตร ชวนเกษตรกรทำการเกษตรแบบปลอดการเผาวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร และสร้างมูลค่าเพิ่มจากการบริหารจัดการเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร จัดการแปลงเกษตรปลอดการเผา มุ่งสู่มาตรฐาน GAP เพื่อเพิ่มสินค้าคาร์บอนต่ำ ช่วยให้อากาศสะอาด ไม่ก่อฝุ่นละออง PM2.5 ช่วยลดต้นทุนการผลิตและสร้างรายได้ให้เกษตรกรด้วย “3R Model”

โรคแส้ดำอ้อย สาเหตุ : เชื้อรา Ustilago scitaminea การแพร่ระบาดเชื้อรานี้จะอาศัยอยู่ในทุกส่วนของพืช ติดอยู่กับตอเก่าในแปลง และท่อนพันธุ์ที่เป็นโรคผงสปอร์จากแส้ดำจะระบาดโดยปลิวติดไปกับลมและฝน นอกจากนั้นเชื้อราจะอาศัยอยู่ในดินที่อยู่ในเขตแห้งแล้งได้นาน ลักษณะอาการต้นอ้อยส่วนยอดผิดปกติเป็นก้านแข็งและยาวคล้ายแส้สีดำ ตอที่เป็นโรครุนแรงจะแตกหน่อมาก แคระแกร็นคล้ายตอตะไคร้ทุกยอดจะสร้างแส้ดำแล้วแห้งตายทั้งกอ พันธุ์ต้านทานโรคที่ปลูกในปีแรก อาจมีอาการแส้ดำเพียงบางยอด เจริญเติบโตได้ตามปกติและในพันธุ์ที่อ่อนแอต่อโรคจะมีอาการลำต้นผอมเรียว ใบเล็กแคบยาวคล้ายต้นหญ้าพง ให้ผลผลิตน้อย ความเสียหายและความรุนแรงของโรคจะเพิ่มมากขึ้นในอ้อยตอรุ่นต่อไป การป้องกันกำจัด เรียบเรียงโดย :

เพลี้ยไฟในข้าว เพลี้ยไฟเป็นแมลงจำพวกปากดูดขนาดเล็ก ลำตัวยาว มีทั้งชนิดมีปีกและไม่มีปีก ตัวเต็มวัยมีสีดำ ตัวอ่อนมีสีเหลืองอ่อน ตัวเต็มวัยเพศเมียวางไข่เดี่ยว ๆ สีครีมในเนื้อเยื่อของใบข้าว ไข่ฟักตัวเป็นตัวอ่อนที่มีสีเหลืองนวล จากนั้นตัวอ่อนจะเข้าดักแด้บนต้นข้าวต้นเดิมที่ฟักออกจากไข่ ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยมีปากแบบเขี่ยดูด ใช้ในการทำลายต้นข้าว ลักษณะการเข้าทำลายเพลี้ยไฟทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยจะทำลายข้าว โดยการดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบข้าวที่ยังอ่อน โดยอาศัยอยู่ตามซอกใบ ระบาดในระยะกล้า เมื่อใบข้าวโตขึ้น ใบที่ถูกทำลายปลายใบจะเหี่ยวขอบใบจะม้วนเข้าหากลางใบและอาศัยอยู่ในใบที่ม้วนนั้น พบทำลายข้าวในระยะกล้าหรือหลังปักดำ 2-3 สัปดาห์

ฤดูหนาวปลูกผักอะไรดี ? ? (ช่วงเดือนตุลาคม-มกราคม) พืชผักที่เจริญเติบโตได้ดีในฤดูหนาว ได้แก่ ผักสลัด กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก กุยช่าย ขึ้นฉ่าย แครอท กระเทียม หอมแดง มะเขือเทศ ถั่วลันเตา และพริกยักษ์ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม พืชผัก เป็นพืชสามารถปลูกได้ตลอดทั้งปี โดยทั่วไปแล้ว

การปลูกผักสวนครัวในพื้นที่จำกัด

การปลูกผักสวนครัวในพื้นที่จำกัด

การปลูกผักสวนครัวในพื้นที่จำกัด องค์ความรู้โดย นางลำใย ตรีหิรัญ Smart Farmer พระสมุทรเจดีย์1. ทำสวนผักในถาดใส่เมล็ดผักที่ต้องการปลูกลงไป หมั่นรดน้ำพรวนดิน แล้วนำไปวางในที่แสงแดดส่องถึงพืชที่นิยมปลูกได้แก่ ต้นอ่อนทานตะวัน ผักชี 2. ปลูกผักในแกลลอนเหลือใช้นำแกลลอนที่ไม่ได้ใช้งานแล้วมาล้างน้ำ ให้สะอาด ตัดพลาสติกที่ด้านข้างออก เพื่อให้มีพื้นที่สำหรับปลูกผักและรดน้ำ 3. ปลูกผักในกล่องโฟมกล่องโฟมที่ไม่ใช้แล้วสามารถนำมาปลูกผักได้เนื่องจากใส่ดินได้เยอะ มีนำหนักเบา เคลื่อนย้ายสะดวก เหมาะสำหรับการปลูกพืชผักกินใบ 4. ปลูกผักในยางรถยนต์เก่ายางรถยนต์เก่า แข็งแรง ทนทาน ทนแดดทนฝน ใส่ดินได้เป็นจำนวนมาก ช่วยให้ผักแตกรากได้ดี 5. ปลูกผักในวัสดุอื่นๆ ที่เหมาะสมนอกจากนั้นสามารถนำเอาวัสดุอื่นๆ เช่น กระบะพลาสติก กล่องพลาสติก ขวดน้ำต่างๆ มาปลูกผักสวนครัว ได้เช่นกัน สำนักงานเกษตรอำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ โทร : 0-2453-7147 Facebook(สำนักงานเกษตรอำเภอพระสมุทรเจดีย์) : https://www.facebook.com/profile.php?id=61551848502329

ฮอร์โมนพืช? (Plant Hormones)

ฮอร์โมนพืช? (Plant Hormones)

ฮอร์โมนพืช? (Plant Hormones) สารอินทรีย์ที่พืชสร้างขึ้นเองตามธรรมชาติ ในบริเวณเนื้อเยื่อของพืชก่อนเคลื่อนย้ายสารดังกล่าวไปยังเนื้อเยื่อเป้าหมาย เพื่อส่งสัญญาณเริ่มกระบวนการสร้าง ทำการควบคุมหรือเปลี่ยนแปลงส่วนต่าง ๆ ของพืช ทั้งด้านการเจริญเติบโต การงอกของเมล็ด การออกดอกออกผล การผลัดใบ รวมไปถึงการยับยั้งการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาภายในต้นพืช ออกซินหน้าที่ : ยับยั้งการเจริญตา (กิ่ง ก้าน ผล) กระตุ้นการแบ่งเซลล์ให้มีการยืดขยาย กระตุ้นการเจริญเข้าหาแสงของพืชสารที่คุณสมบัติคล้ายกัน เช่น แนฟทาลีน, กรดอินโดลบิวทีริก, ทูโฟร์ดี จิบเบอเรลินหน้าที่ : กระตุ้นการแบ่งเซลล์ การยืดตัวของเซลล์ กระตุ้นการงอกของเมล็ด เปลี่ยนเพศในพืชวงศ์แตงสารที่คุณสมบัติคล้ายกัน เช่น GA3 กรดแอบไซซิดหน้าที่ : กระตุ้นการเปิด-ปิดปากใบ ทำให้พืชเกิดการพักตัว ยับยั้งการเจริญและการยืดตัวของเซลล์สารที่คุณสมบัติคล้ายกัน เช่น คลอร์ฟูรีนอล, มาลีอิก ไฮดราไซด์ เอทิลีนหน้าที่ : กระตุ้นการสุกของผลไม้ การงอกของเมล็ด การหลุดร่วงของใบ ดอกและผล รวมไปถึงกระตุ้นการออกดอกของพืชบางชนิด เช่น สับปะรดสารที่คุณสมบัติคล้ายกัน เช่น เอทีฟอน, ถ่านแก๊ส(แคลเซียมคาร์ไบด์) ไซโตไคนินหน้าที่ : กระตุ้นการแบ่งเซลล์ การเจริญตาข้างและส่วนของเมล็ดสารที่คุณสมบัติคล้ายกัน เช่น เบนซิลอะดินีน, ไทเดียซูรอน, ซีเอติน, คิเนติน ที่มา : สำนักงานเกษตรอำเภอเมืองกำแพงเพชร

ไผ่ซางหม่น

ไผ่ซางหม่น

ไผ่ซางหม่น ลำตรงขนาดใหญ่เนื้อไม้แข็ง หนา มีความทนทาน ไม่มีหนาม และไม่ค่อยมีแขนง ลำแก่ ไม่ถูกรบกวนจากมอดและแมลง ลักษณะเด่นกอขนาดใหญ่ ลำใหญ่ตรง สูง 15-20 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลางลำ 6-10 เซนติเมตร ปล้องยาว 30-40 เซนติเมตร ลำมีสีเขียวหม่น เนื้อหนา พบมากทางภาคเหนือ ลำใช้ในงานก่อสร้าง เฟอร์นิเจอร์คุณภาพดี ราคาสูง หน่อใช้เป็นอาหาร มีน้ำหนักเฉลี่ยประมาณ 1.5-2 กิโลกรัม เมื่ออายุประมาณ 3 ปี สามารถให้หน่อสูงสุดถึง 40 หน่อต่อกอ การขยายพันธุ์และการดูแลรักษา เกร็ดน่ารู้หากต้องการลำไปใช้ทำเฟอร์นิเจอร์ ควรปล่อยหน่อให้เป็นลำโดยตัดกิ่ง แขนงเล็ก ๆ บริเวณโคนลำทิ้ง ที่มา : ศูนย์ขยายพันธุ์พืชที่ 5 จังหวัดบุรีรัมย์

กินผักตามธาตุเจ้าเรือน

กินผักตามธาตุเจ้าเรือน

กินผักตามธาตุเจ้าเรือน ที่มา : ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรจังหวัดจันทบุรี ธาตุเจ้าเรือนทา… – ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรจังหวัดจันทบุรี | Facebook ธาตุดิน : คนที่เกิดเดือนตุลาคม พฤศจิกายน ธันวาคม มักไม่ค่อยเจ็บป่วย เพราะธาตุดิน เป็นที่ตั้งของกองธาตุ มักมีร่างกายและกล้ามเนื้อแข็งแรง ควรรับประทานผักและผลไม้ที่มีรสฝาด รสหวาน รสมัน รสเค็ม เช่น ผักกระโดน ยอดมะม่วงหิมพานต์ ยอดมะยม สมอไทย กระถิน ผักหวาน ขนุนอ่อน สะตอ ผักโขม โสน ขจร ยอดฟักทอง ผักเชียงดา ลูกเนียง บวบ เป็นต้น ธาตุน้ำ : คนที่เกิดเดือนกรกฎาคม สิงหาคม กันยายน ตั้งแต่แรกเกิดถึง 16 ปี มักมีอาการเป็นหวัด คัดจมูก ตาแฉะ ในฤดูหนาว มักเจ็บป่วยง่าย เพราะธาตุน้ำกำเริบ คนธาตุน้ำมักมีรูปร่างสมส่วน ท้วมถึงอ้วน มีผิวพรรณสดใส ควรรับประทานผักและผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว เช่น กะเพรา โหระพา ขิง ข่า ตะไคร้ พริกไทย กระทือ ดอกกระเจียว กระชาย ยี่หรา ขมิ้นชัน ผักคราดหัวแหวน ช้าพลู (ชะพลู) ผักไผ่ พริกขี้หนู สะระแหน่ หูเสือ ผักแขยง ผักชีลาว ผักชีล้อม สมอไทย กานพลู เป็นต้น ธาตุลม : คนที่เกิดเดือนเมษายน พฤษภาคม มิถุนายน ช่วงอายุ 32 ปี ขึ้นไป มักเวียนศีรษะ หน้ามืด เป็นลมง่าย ในฤดูฝนจะเจ็บป่วยง่าย เพราะธาตุลมกำเริบ คนธาตุลมมักมีร่างกายสูงโปร่ง ไม่อ้วน ผิวหนังแห้ง ควรรับประทานผักผลไม้ที่มีรสเผ็ด เช่น กะเพรา โหระพา ขิง ข่า ตะไคร้ พริกไทย กระทือ ดอกกระเจียว กระชาย ยี่หรา ขมิ้นชัน ผักคราดหัวแหวน ช้าพลู (ชะพลู) ผักไผ่ พริกขี้หนู สะระแหน่ หูเสือ ผักแขยง ผักชีลาว ผักชีล้อม สมอไทย กานพลู เป็นต้น ธาตุไฟ : คนที่เกิดเดือนมกราคม กุมภาพันธ์ มีนาคม ช่วงอายุ 16-32 ปี มักขี้หงุดหงิด อารมณ์เสียบ่อย ในฤดูร้อน จะเจ็บป่วยง่าย เพราะธาตุไฟกำเริบ โดยมากคนธาตุไฟมักมีรูปร่างผอม ผิวคล้ำ ตกกระ กล้ามเนื้อและกระดูกหลวม จึงควรรับประทานผักและผลไม้ที่มีรสขม รสเย็น รสจืด เช่น ผักบุ้ง ตำลึง บัวบก กระเฉด สายบัว ผักกาดนา ผักกาดนกเขา มะระ ปลัง มะรุม ยอดมันเทศ กระเจี๊ยบมอญ สะเดา ยอดฟักทอง หยวกกล้วย หม่อน มันแกว พุทรา เป็นต้น

การปลูกมะนาวในวงบ่อซีเมนต์

การปลูกมะนาวในวงบ่อซีเมนต์

การปลูกมะนาวในวงบ่อซีเมนต์ ขั้นตอน 1.การคัดเลือกพันธุ์ 1.1 พันธุ์มะนาวที่ปลูกในวงบ่อซีเมนต์ เพื่อบังคับให้มะนาวออกดอก ติดผลนอกฤดู สามารถบังคับให้ออกดอกติดผลได้ทุกสายพันธุ์ มะนาวที่เหมาะสมสำหรับการปลูกในวงบ่อซีเมนต์ เพื่อบังคับให้ออกนอกฤดู เช่น มะนาวพันธุ์แป้นพิจิตร 1 มะนาวพันธุ์ตาฮิติ มะนาวพันธุ์แป้นรำไพ 1.2 ต้นพันธุ์มะนาว คัดเลือกต้นพันธุ์มะนาวจาก “กิ่งตอน” หรือ “การเสียบยอด” เลือกต้นพันธุ์ที่สมบูรณ์แข็งแรงมาปลูกในวงบ่อซีเมนต์ 2.การเตรียมพื้นที่ สำหรับการปลูกมะนาว ทำการปรับพื้นที่ให้เรียบสม่ำเสมอ กำหนดระยะปลูกมะนาว ระหว่างแถว-ต้น ระยะการวางวงบ่อซีเมนต์ มี 2 ระยะ 3.การเตรียมวงบ่อซีเมนต์ วงบ่อซีเมนต์ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 80 ซม. สูง 40 ซม. ด้านล่างของวงบ่อซีเมนต์ ต้องมีแผ่นรองก้นวงบ่อซีเมนต์ (ต้องไม่เชื่อมติดกับวงบ่อซีเมนต์) 4.การเตรียมดินปลูกส่วนผสมดินสำหรับปลูกมะนาวในวงบ่อซีเมนต์ 4.การเตรียมดินปลูกส่วนผสมดินสำหรับปลูกมะนาวในวงบ่อซีเมนต์ “ดินผสมอาจมีหลายสูตร สามารถใช้ตามความเหมาะสมของผู้ปลูก” 5.การปลูก1. นำดินที่ผสมแล้วมาใส่ในวงบ่อแล้วเติมดินให้พูนขึ้น2. ขุดหลุมตรงกลางในวงบ่อซีเมนต์ ขนาดเท่ากับถุงมะนาวที่ชำแล้ว บีบรอบถุงชำมะนาวเบา ๆ เมื่อดินหลวม ๆ ดึงถุงพลาสติกออก3. นำต้นพันธุ์มะนาวปลูกตรงกลางหลุม กลบดิน กดเบา ๆ ให้แน่นพอประมาณ จากนั้นนำหลักมาปักแล้วใช้เชือกฟางผูกให้แน่น ใช้ฟางข้าวหรือหญ้าแห้งคลุมหน้าดิน คุมความชื้น ครั้งแรกอาจต้องรดน้ำให้ชุ่ม เรียบเรียง : ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรจังหวัดฉะเชิงเทรา