ศูนย์วิทยบริการเพื่อส่งเสริมการเกษตร

10

เรื่องล่าสุด

โครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2567/2568 มติ ครม.มติครม. เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2567 ได้เห็นชอบการขอยกเลิกโครงการสนับสนุนปุ๋ยลดต้นทุนการผลิตของเกษตรกรผู้ปลูกข้าว และขอเสนอโครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2567/2568 โครงการฯ และเงื่อนไข วัตถุประสงค์ เป้าหมายเกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปี “รอบที่ 1” ปีการผลิต 2567/2568 ที่ขึ้นทะเบียนกับกรมส่งเสริมการเกษตร

ขอเชิญเกษตรกรและผู้สนใจ ฝึกอบรมการผลิตพืชพันธุ์ดี ประจำเดือนธันวาคม 2567 หลักสูตร : การผลิตพืชผัก (พริก) หลักสูตร : การขยายพันธุ์พืชแบบไม่อาศัยเพศ (อาโวคาโด มะม่วง ลำไย มันสำปะหลัง เสียบยอด ตอนกิ่ง x20) หลักสูตร : การผลิตและเพิ่มมูลค่าพืชทางเลือกกระเจี๊ยบแดง หลักสูตร

โครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าวปี 2567/2568 รายละเอียดโครงการ เกษตรกรสามารถตรวจสอบสถานะการแจ้งเพาะปลูกข้าวปี 2567/2568 ได้ด้วยตนเอง ผ่านเว็ปไซต์ https://efarmer.doae.go.th/checkFarmer รอบการนำส่งข้อมูลให้ ธ.ก.ส. หรือผ่านแอพลิเคชัน “ฟาร์มบุ๊ก” (FARMBOOK) หากตรวจสอบแล้วมีข้อมูลการแจ้งเพาะปลูกข้าว แต่ยังไม่ได้รับเงินโครงการฯ โปรดติดต่อทาง ธกส. ได้โดยตรง หรือตรวจเช็คสิทธิ์ออนไลน์กับทาง ธกส. ขั้นตอนการตรวจสอบสถานะการโอนเงินช่วยเหลือชาวนา ไร่ละ

ขอเชิญร่วมงานคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ในพระราชานุเคราะห์ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ฯ สยามมกุฎราชกุมาร ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ไตรมาสที่ 1 พบกับหน่วยบริการต่างๆและกิจกรรมมากมาย อาทิเช่น คลินิกพืช คลินิกดิน คลินิกชลประทาน คลินิกปศุสัตว์ คลินิกประมง คลินิกบัญชี คลินิกข้าว ฯลฯ อย่าลืมมาร่วมงานและใช้บริการกับหน่วยบริการต่างๆภายในงาน สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม :

ขอเชิญร่วมงานคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ในพระราชานุเคราะห์ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ฯ สยามมกุฎราชกุมาร ไตรมาสที่ 1 สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ : สำนักงานเกษตรจังหวัดปทุมธานี

ในสภาพอากาศที่มีน้ำค้างจัด จนถึงช่วงสาย อากาศค่อนข้างเย็น ชาวนาควรระวังการระบาดของโรค โรคขอบใบแห้ง สาเหตุ : เชื้อแบคทีเรีย ลักษณะอาการทำลายระยะกล้าถึงออกรวง อาการพบเป็นแผลช้ำที่ขอบใบ ต่อมาจุดช้ำนี้จะขยายกลายเป็นทางสีเหลืองยาวตามใบข้าว ใบที่เป็นโรค จะแห้งเร็วและสีเขียวจะจางลงกลายเป็นสีเทา ๆ ในกรณีที่ต้นข้าวมีความอ่อนแอต่อโรค ต้นข้าวจะเหี่ยวเฉาและแห้งตายทั้งต้น การป้องกันกำจัด โรคไหม้ข้าว สาเหตุ : เชื้อรา ลักษณะอาการทำลายระยะกล้าถึงออกรวง

สำนักงานเกษตรอำเภอเกาะยาว รับสมัครเกษตรกรเข้าร่วมโครงการส่งเสริมการปลูกผัก ถั่วลิสง แตงโม และถั่วเขียว สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : สนง.เกษตรอำเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา 

ลมหนาวมาเยือนแล้วจ้าาา วันนี้ขอชวนพี่น้องเกษตรกรมาอ่านเรื่องราวของ “การปลูกพืช โรคและแมลงศัตรูพืช ในช่วงอากาศหนาว” เพื่อนำข้อมูลไปปรับใช้กับแปลงเกษตรในพื้นที่ของตนเอง ผ่าน 3 เอกสารแนะนำ ดังนี้เลย การปลูกพืชหน้าหนาวคลิกอ่าน : https://bit.ly/4gfSnA4 โรคและแมลงศัตรูพืช ที่ต้องระวังในช่วงอากาศหนาวคลิกอ่าน : https://bit.ly/485wKyR ระวัง 3 โรคข้าวหน้าหนาวคลิกอ่าน : https://bit.ly/41B2LhV

เลือกพันธุ์มันสำปะหลัง ให้ผลผลิตปังตามมาตรฐาน หมายเหตุ : เพื่อให้สอดคล้องตามมาตรฐาน มกษ.5901 มาตรฐานสินค้าเกษตร เรื่อง การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับมันสำปะหลัง เรียบเรียงโดย : กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ กรมส่งเสริมการเกษตร

7เทคนิคการปลูกและดูแลรักษาพืชผักในฤดูฝน

7เทคนิคการปลูกและดูแลรักษาพืชผักในฤดูฝน

7 เทคนิคการปลูกและดูแลรักษาพืชผักในฤดูฝน 2. การเตรียมเมล็ดพันธุ์ ควรใช้เมล็ดพันธุ์จากแหล่งที่เชื่อถือได้ เพื่อป้องกันเชื้อราที่ติดมากับเมล็ด 5. การกำจัดวัชพืช ในฤดูฝนวัชพืชจะเจริญเติบโตได้ดีและเป็นที่อาศัยของโรคแมลงศัตรูพืช ควรหมั่นกำจัดวัชพืช 6. การรดน้ำแปลงผัก การรดแปลงผักด้วยน้ำปูนใส ช่วยให้กล้าผักมีความแข็งแรง แและเพิ่มอัตรารอดตายจากโรคพืชที่เข้าทำลายได้ 7. การใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มา วิธีการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาในการป้องกันกำจัดโรคพืชอย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัย ดาวน์โหลดไฟล์ PDF. เรียบเรียงโดย : สำนักงานเกษตรอำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี

การดูแลต้นไม้ในช่วงฤดูแล้ง

การดูแลต้นไม้ในช่วงฤดูแล้ง

การดูแลต้นไม้ในช่วงฤดูแล้ง การให้น้ำ การใช้วัสดุคลุมดิน การตัดแต่งกิ่ง การกำจัดวัชพืชและแนวกันไฟ การใส่ปุ๋ย การเสริมความแข็งแรงให้พืช กรณีที่ไม่มีระบบน้ำหรือน้ำสำรองไว้ ดาวน์โหลดไฟล์ PDF. เรียบเรียงโดย : ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักพืช จังหวัดสุพรรณบุรี

ข้อกำหนด 8 ประการ GAP พืช

ข้อกำหนด 8 ประการ GAP พืช

ข้อกำหนด 8 ประการ เพื่อให้ได้การรับรองแหล่งผลิต GAP พืช 1.น้ำ – น้ำที่ใช้ในกระบวนการผลิตต้องมาจากแหล่งที่ไม่มีสภาพแวดล้อม ซึ่งก่อให้เกิดการปนเปื้อนต่อผลผลิต2.พื้นที่ปลูก – ไม่อยู่ในสภาพแวดล้อมซึ่งก่อให้เกิดการปนเปื้อนวัตถุ หรือสิ่งอันตรายต่อผลผลิต3.วัตถุอันตรายทางการเกษตร – จัดเก็บเป็นหมวดหมู่ ในสถานที่เก็บที่มิดชิดและใช้ตามคำแนะนำของกรมวิชาการเกษตร4.การจัดการคุณภาพในกระบวนการผลิตก่อนการเก็บเกี่ยว – มีแผนควบคุมการผลิต เพื่อให้ได้ผลผลิตคุณภาพ โดยใช้หลักการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี5.การเก็บเกี่ยวและการปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว – เก็บเกี่ยวผลผลิตที่มีอายุเหมาะสม ผลผลิตมีคุณภาพตามความต้องการของตลาดและข้อตกลงของประเทศคู่ค้า6.การพักผลิตผล การขนย้ายในแปลงปลูกและการเก็บรักษาผลผลิต – มีการจัดการด้านสุขลักษณะเพื่อป้องกันการปนเปื้อนที่มีผลต่อความปลอดภัยของผู้บริโภค7.สุขลักษณะส่วนบุคคล – ผู้ปฏิบัติงานต้องมีความรู้ความเข้าใจในสุขลักษณะส่วนบุคคลเพื่อสามารถปฏิบัติงานได้อย่างถูกสุขลักษณะ8.การบันทึกข้อมูลและการตามสอบ – มีการบันทึกข้อมูลการปฏิบัติงาน การใช้สารเคมี ข้อมูลผู้รับซื้อและปริมาณผลผลิตเพื่อประโยชน์ต่อการตามสอบ ดาวน์โหลดไฟล์ PDF. เรียบเรียงโดย : สำนักงานเกษตรอำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี