ศูนย์วิทยบริการเพื่อส่งเสริมการเกษตร

10

เรื่องล่าสุด

ผักปลูกง่ายได้กินใน 60 วัน 4 วัน : ถั่วงอก 7 วัน : เห็ดนางฟ้า ต้นอ่อนผักบุ้ง ต้นอ่อนทานตะวัน 30 วัน : ผักบุ้ง โหระพา แมงลัก กะเพรา สะระแหน่ 40

เรื่องเล่าเช้าวันจันทร์ “ข้อสังเกตก่อนซื้อทุเรียน” ในฤดูกาลปกติ ประเทศไทยมีทุเรียนออกสู่ตลาดประมาณเดือน เม.ย.-ก.ย. นอกจากนี้มีเกษตรกรบางส่วนผลิตทุเรียนนอกฤดู ช่วยสร้างรายได้ให้มากขึ้น หลีกเลี่ยงความเสี่ยงราคาผลผลิตตกต่ำในช่วงผลผลิตออกมากตามฤดูกาล โดยพื้นที่ภาคตะวันออกสามารถเก็บเกี่ยวได้ ตั้งแต่เดือน ก.พ.- มี.ค. ส่วนพื้นที่ภาคใต้สามารถเก็บเกี่ยวได้ตั้งแต่เดือ ธ.ค.- ก.พ. 5 ข้อสังเกตก่อนซื้อทุเรียนคลิกอ่าน : https://bit.ly/42Tgsr5 ชาวสวนไม่ตัด ผู้บริโภคไม่ซื้อ ทุเรียนอ่อนคลิกอ่าน

ระบบเกษตรอัจฉริยะ “Handy Sense” HandySense ระบบเกษตรแม่นยำ ฟาร์มอัจฉริยะ ผนวกเทคโนโลยีเซนเซอร์ตรวจวัดสภาพแวดล้อมทางการเกษตรและระบบควบคุมการทำงานอัตโนมัติได้รับการออกแบบให้ใช้งานง่ายทนทานต่อสภาพแวดล้อม สามารถเข้าใจ HandySense ได้เพิ่มขึ้น คลิกเพิ่มเติมจากลิงก์ด้านล่างได้เลยค่ะ Handy sense เกษตรอัจฉริยะรับชม : https://bit.ly/40ZOp8Q เพิ่มรายได้ เพิ่มผลผลิต ด้วยระบบเกษตรอัจฉริยะ “Handy Sense”คลิกอ่าน : https://bit.ly/4b6ED9A

เกร็ดความรู้สำหรับเกษตรกรผู้เลี้ยงครั่ง หลังจากปล่อยครั่งไปแล้ว 1 เดือน ครั่งจะขับถ่ายมูลหวาน ออกมาจากช่องขับถ่าย หากเกษตรกรที่ปล่อยครั่งบนต้นจามจุรีที่มีขนาดใหญ่ อาจจะสังเกตการเจริญเติบโตของครั่งได้ยาก ดังนั้นเรามีเทคนิคในการสังเกตครั่งมาฝากกันค่ะ 1.ไม้อาศัยต้นเตี้ย ก็จะเห็นการเจริญเติบโตของครั่งได้ชัดเจน มีการสร้างไขสีขาว และการขับน้ำหวานที่มีสีใสออกมา เมื่อสัมผัสอากาศนาน ๆ ก็จะเริ่มแข็งตัวและเปลี่ยนเป็นสีเหลือง สีทอง สีน้ำตาล 2.ไม้อาศัยต้นใหญ่และมีความสูงมาก เราอาจจะสังเกตได้ดังนี้ เรียบเรียง :

แมลงศัตรูพืชในฤดูร้อนที่ต้องระวัง ฤดูร้อนเกษตรกรผู้ปลูกพืชตระกูลกะหล่ำและผักกาด เช่น คะน้า กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก บรอกโคลี กวางตุ้ง ผักกาดขาว ผักกาดหอม ฯลฯ ต้องเผชิญกับศัตรูพืชต่าง ๆ เพราะด้วยสภาพอากาศที่มีความชื้นต่ำติดต่อกันยาวนานหลายเดือน นับเป็นสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมสำหรับแมลงศัตรูพืช ซึ่งสร้างความเสียหายให้กับพืชที่ปลูกได้ โดยแมลงศัตรูพืชที่พบมากในช่วงอากาศร้อน เช่น เพลี้ยอ่อน ด้วงหมัดผัก หนอนใยผัก และหนอนกระทู้ผัก

ส่งเสริมไม่เผาด้วย 3R Model น้ำหมักย่อยสลายฟาง “จุลินทรีย์หน่อกล้วย” วัตถุดิบ วิธีทำ การนำไปใช้ใช้น้ำหมักชีวภาพอัตรา 5 ลิตรต่อไร่ เจือจางกับน้ำ 100 ลิตร ราดลงในแปลงข้าวเพื่อช่วยให้ตอซังข้าวย่อยสลายได้ง่าย หมักไว้ประมาณ 2 สัปดาห์ แล้วจึงปั่นดินนาทำเทือกเพื่อเตรียมเพาะปลูกข้าวครั้งใหม่ต่อไป เรียบเรียงโดย : สำนักงานเกษตรอำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี

แคดเมียน (CADMIUM) คืออะไร??แคดเมียนเป็นแร่โลหะชนิดหนึ่ง สามารถเกิดขึ้นได้เองในธรรมชาติ โดยอาจมาจากวัตถุต้นกำเนิดดิน การทำเหมืองแร่ โรงงานผลิตไฟฟ้าโดยใช้ถ่านหิน การทำแบตเตอรี่ การใช้ปุ๋ย และสารเคมีกำจัดศัตรูพืชในการเกษตร และสามารถพบแคดเมียมปนเปื้อนได้ในอาหารและน้ำ การปนเปื้อนโลหะหนักในดิน มีสาเหตุมาจากกิจกรรมทางการเกษตรและอุตสาหกรรม เช่น การทิ้งของเสียโดยไม่มีการจัดการอย่างเหมาะสม ทำให้เกิดการตกค้างและสะสมโลหะหนักในดิน เช่น สารหนู แคดเมียม ตะกั่ว ปรอท เป็นต้น

แมลงสิง ศัตรูข้าวระยะออกรวง รูปร่างลักษณะ ลักษณะการทำลาย การป้องกันกำจัด เรียบเรียง : กลุ่มส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนด้านอารักขาพืชและดินปุ๋ย กองส่งเสริมการอารักขาพืชและจัดการดินปุ๋ย

ขอเชิญชวนร่วมงานรณรงค์สร้างการรับรู้และการเรียนรู้การเกษตรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green Day)  พบกับกิจกรรมที่น่าสนใจภายในงาน สถานีเรียนรู้เกี่ยวกับการทำการเกษตรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และการออกร้านจำหน่ายสินค้าจากเกษตรกร กลุ่มเกษตรกรต่าง ๆ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : สำนักงานเกษตรจังหวัด สุราษฎร์ธานี

“พลู” พืชทางเลือกสร้างรายได้

"พลู" พืชทางเลือกสร้างรายได้

พลูเป็นพืชที่ปลูกได้ทุกสภาพพื้นที่ ดูแลง่ายสามารถปลูกได้ทุกฤดูราคาซื้อขายพลูกินใบขึ้นลงได้ตามภาวะ ราคาตลาด ตั้งแต่ 45-120 บาทต่อกิโลกรัม การปลูกเตรียมไม้ค้าง เนื่องจากพลูเป็นไม้เลื้อยที่ต้องอาศัยเจริญเกาะขึ้นไปกับค้าง ไม้ที่ใช้จะเป็นไม้ไผ่ เพราะไม้ไผ่มีน้ำหนักเบาและมีเนื้อเยื่อไม้ที่เหนียว ทำให้พลูยึดเกาะได้ดี วิธีปลูก ทำการปักไม้ค้างระยะห่างต้น 60 ซม. ขุดหลุมให้ลึก 60 ซม. ขนาด 50×50 ซม. ส่วนดินที่ใส่ลงไปในหลุมให้ผสมมูลวัวด้วย แล้วปลูกพันธุ์พลูลงไปค้างละ 5 ยอด ให้อยู่ตรงข้ามกัน การดูแลจำเป็นอย่างยิ่งต้องเอาใจใส่ต่อการดูแลอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้พลูเจริญเติบโตดี มีผลผลิตสูง โดยการพรวนดินให้ลึก 1 หน้า จอบให้ทั่ว และให้ปุ๋ยเคมี ร่วมกับปุ๋ยคอก 2 ครั้ง ต่อเดือน รดน้ำ เช้า-เย็น โดยใช้ระบบน้ำแบบสปริงเคิล การเก็บเกี่ยวเมื่อพลูได้อายุ 1 ปี เริ่มเก็บใบพลูอาทิตย์ละ 2 ครั้ง ตลาดราคาตลาด ตั้งแต่ 45-120 บาท ต่อกิโลกรัม เรียบเรียง : สำนักงานเกษตรอำเภอวังน้ำเย็น จังหวัดสระแก้ว

กระชาย

กระชาย

กระชาย การใช้ประโยชน์สรรพคุณ สารสำคัญ พืชล้มลุกมีเหง้าหรือลำต้นใต้ดินเกาะเป็นกระจุก การขยายพันธุ์ : เหง้า การปลูกยกร่องแปลงกว้าง 80-120 ซม. ใช้ระยะปลูกระหว่างแถวและต้น 25-30 ซม. การดูแลรักษารดน้ำทุก 2-3 วัน/ครั้ง เมื่อได้อายุครบ 1 เดือน ใส่ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก การเก็บเกี่ยว ข้อควรระวัง ที่มา : ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรจังหวัดฉะเชิงเทรา

สมุนไพรไล่แมลง สารสกัดเมล็ดสะเดา

สมุนไพรไล่แมลง สารสกัดเมล็ดสะเดา

สมุนไพรไล่แมลง สารสกัดเมล็ดสะเดา ประโยชน์ของเมล็ดสะเดา สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืชจังหวัดพิษณุโลก

พืชสมุนไพร

พืชสมุนไพร

พืชสมุนไพร ใบเสลดพังพอนตัวเมียใบ แก้พิษแมลงกัดต่อย แก้ผดผื่นคัน ลำต้น กิ่ง ใบย่านางใบ รสจืดขม มีฤทธิ์เย็นสามารถช่วยดับพิษต่าง ๆ ในร่างกายได้ ใบตำลึงช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันความเสื่อมของเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกาย ช่วยบำรุงผิวพรรณ ช่วยซ่อมแซมและสร้างเนื้อเยื่อในร่างกาย ใบหม่อนใบ รสจืดเย็น เป็นยาขับเหงื่อ แก้ไข้ แก้ตัวร้อน แก้ร้อนในกระหายน้ำ ทำยาต้มใช้อมแก้เจ็บคอ และทำให้เนื้อเยื่อชุ่มชื้น ใบฟ้าทะลายโจรช่วยรักษาโรคผิวหนัง ฝี แผลฝี ช่วยยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย ที่เป็นสาเหตุของการเกิดหนองได้ ใบเตยใบเตย มีฤทธิ์เย็น เป็นยาเย็น คุ้มครองเซลล์ สร้างภาวะด่างเสริมกระแสเลือดให้กับร่างกาย ดาวน์โหลดไฟล์ PDF. จัดทำโดย : ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรจังหวัดสุราษฎร์ธานี

มะขามป้อม

มะขามป้อม

มาทำความรู้จัก “มะขามป้อม” มะขามป้อม (Indian gooseberry) ชื่อวิทยาศาสตร์ Phyllanthus emblica ชื่อวงศ์ EUPHORBIACEAE สมุนไพร แก้ไข้ แก้ไอ ทำให้ชุ่มคอ ต้านอนุมูลอิสระเซลล์ร้ายในร่างกาย การปลูกมะขามป้อมทำได้ไม่ยาก เลือกพันธุ์ดีที่เป็นที่ต้องการของตลาด เช่นพันธุ์แป้นสยาม พันธุ์แม่ลูกดก เนื่องจากเป็นพันธุ์ที่ให้ผลผลิตสูง และรสชาติดี การปลูกให้ปลูกในดินที่มีอินทรีย์วัตถุ เช่น มูลไก่ ให้น้ำในฤดูแล้งเพื่อช่วยในการออกดอก ซึ่งมะขามป้อมเป็นพืชที่ทนแล้งได้ดี โรคและแมลงค่อนข้างน้อย ผลผลิตนำมาแปรรูป เช่นมะขามป้อมแช่อิ่ม ก็จะเพิ่มรสชาติความอร่อยมากยิ่งขึ้น แต่หากใครต้องการบรรเทาอาการเจ็บป่วยให้บริโภคผลสดจะดีต่อสุขภาพ ดาวน์โหลดไฟล์ PDF. จัดทำโดย : ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรจังหวัดสุราษฎร์ธานี