ไถกลบตอซัง

ไถกลบตอซัง ปรับโครงสร้างดิน ลดการเผา ลดหมอกควัน การเผาตอซังการเผาตอซังมีผลกระทบอย่างมากต่อการทำลายโครงสร้างของดิน จุลินทรีย์ และสิ่งมีชีวิตที่เป็นประโยชน์ในดิน เนื่องจากความร้อนจากการเผาตอซังก่อให้เกิดผลเสียต่อทรัพยากร โดยทำให้โครงสร้างของดินเปลี่ยนแปลงไป สูญเสียอินทรียวัตถุและธาตุอาหารในดิน ทำลายจุลินทรีย์และแมลงที่เป็นประโยชน์ในดิน สูญเสียน้ำในดิน และทำให้เกิดฝุ่นละออง เถ้าเขม่า และก๊าซหลายชนิด และทำให้เกิดมลพิษและเป็นอันตรายต่อสุขภาพ การใช้น้ำหมักชีวภาพที่ผลิตจากสารเร่งซุปเปอร์ พด.2 ช่วยย่อยสลายตอซังสารเร่งซุปเปอร์ พด.2 เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่เพิ่มประสิทธิภาพการย่อยโปรตีน ไขมัน ช่วยลดกลิ่นเหม็นระหว่างการหมัก และเพิ่มการละลายธาตุอาหารในการหมักเปลือกไข่ ก้าง และกระดูกสัตว์ในเวลาสั้นและได้คุณภาพ ซึ่งเจริญได้ในสภาพเป็นกรดประโยชน์ของน้ำหมักชีวภาพส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืช โดยพบว่าน้ำหมักชีวภาพมีฮอร์โมน และกรดอินทรีย์หลายชนิด เช่น ออกซิน จิบเบอเรลลิน ไซโตไคนิน กรดแลคติก กรดอะซิติก กรดอะมิโน และกรดฮิวมิก กระตุ้นการงอกของเมล็ด ส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืช และเพิ่มการย่อยสลายตอซัง การไถกลบตอซังข้าว การไถกลบเศษพืชในพื้นที่ปลูกอ้อยเกษตรกรจะได้รับประโยชน์จากวัสดุเหลือทิ้งจากใบอ้อยและยอดอ้อย หลังจากการเก็บเกี่ยวผลผลิตปีแรกและผลผลิตอ้อยตอในปีต่อ ๆ ไปด้วย วัสดุเศษพืชดังกล่าวควรทิ้งไว้และทำการไถกลบทุกครั้ง เพื่อเป็นการเพิ่มอินทรีย์วัตถุให้กับดิน รวมทั้งคืนธาตุอาหารบางส่วนที่ต้นอ้อยดูดใช้กลับคืนสู่ดิน การไถกลบเศษพืชในพื้นที่ปลูกพืชไร่พื้นที่ปลูกพืชไร่โดยเฉพาะข้าวโพด มีการเก็บเกี่ยวผลผลิตและมีเศษวัสดุเหลือทิ้ง ได้แก่ ซังข้าวโพด และเปลือกข้าวโพด ซึ่งไม่มีการนำมาใช้ประโยชน์ เกษตรกรสามารถที่จะใช้ประโยชน์จากวัสดุเหลือทิ้งหลังจากการเก็บเกี่ยวผลผลิต แล้วไถกลบลงในดินระหว่างการเตรียมแปลงปลูกพืชใหม่ต่อไปได้ โดยวัสดุเศษพืชไร่จำพวกตอซังข้าวโพดและข้าวฟ่าง ทำการฉีดพ่นน้ำหมักชีวภาพ 1 ลิตรต่อไร่ ผสมกับน้ำ 40 ลิตร ใช้ระยะเวลาการไถกลบ 10 วัน ส่วนพืชตระกูลถั่วไถกลบโดยใช้น้ำหมักชีวภาพอัตราเดียวกันฉีดพ่นแล้วไถกลบประมาณ 10 วัน ประโยชน์จากการไถกลบตอซัง ที่มา : สำนักงานเกษตรอำเภอคลองวัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว
9 ทางเลือกจัดการเศษวัสดุทางการเกษตร

9 ทางเลือกจัดการเศษวัสดุทางการเกษตรเกษตรกรไทยร่วมใจ หยุดเผาในพื้นที่เกษตรอย่างยั่งยืน ลดต้นทุน/เพิ่มรายได้ ดาวน์โหลดไฟล์ PDF. ที่มา : วารสารส่งเสริมการเกษตรปีที่ 57 ฉบับที่ 313 เดือนพฤศจิกายน – ธันวาคม 2566
น้ำหมักย่อยสลายฟางข้าว

น้ำหมักย่อยสลายฟางข้าว ปลอดการเผาในพื้นที่เกษตรกรรม (เกษตรกรไทยยุคใหม่ ใส่ใจสิ่งแวดล้อม) วัตถุดิบ ดาวน์โหลดไฟล์ PDF. เรียบเรียงโดย : กลุ่มอารักขาพืช สำนักงานเกษตรจังหวัดกำแพงเพชร ร่วมกับสำนักงานเกษตรอำเภอลานกระบือ
สาเหตุที่ไม่ควรเผาฟาง

สาเหตุที่ไม่ควรเผาฟาง ดาวน์โหลดไฟล์ PDF. เรียบเรียงโดย : กลุ่มอารักขาพืช สำนักงานเกษตรจังหวัดพิจิตร
ฟางข้าวมีคุณค่า มากประโยชน์

ฟางข้าวมีคุณค่า มากประโยชน์ ช่วยปรับปรุงบำรุงดิน จึงไม่ควรเผา เรียบเรียงโดย : กลุ่มอารักขาพืช สำนักงานเกษตรจังหวัดพิจิตร