ฤดูหนาวปลูกผักอะไรดี?
ฤดูหนาวปลูกผักอะไรดี ? ? (ช่วงเดือนตุลาคม-มกราคม) พืชผักที่เจริญเติบโตได้ดีในฤดูหนาว ได้แก่ ผักสลัด กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก กุยช่าย ขึ้นฉ่าย แครอท กระเทียม หอมแดง มะเขือเทศ ถั่วลันเตา และพริกยักษ์ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม พืชผัก เป็นพืชสามารถปลูกได้ตลอดทั้งปี โดยทั่วไปแล้ว พืชผักส่วนใหญ่มักจะเจริญเติบโตได้ดีในฤดูหนาว ด้วยสภาพอากาศที่เย็นสบาย จึงทำให้มีผลผลิตออกสู่ตลาดปริมาณมาก 5 วิธีดูแลพืชผักในช่วงฤดูหนาวแม้พืชผักจะเป็นพืชอายุสั้น เก็บเกี่ยวผลผลิตได้เร็ว ดูแลรักษาง่าย แต่เกษตรกรจำเป็นต้องรู้จักวิธีจัดการแปลงผักของตนเอง เพื่อป้องกันผลกระทบทั้งด้านคุณภาพ และปริมาณผลผลิต จากอุณหภูมิที่ลดต่ำลงในหลายพื้นที่ ดังนั้น การปลูกกพืชผักในช่วงนี้ จึงต้องมีการวางแผนการผลิตให้ดี และให้ความสำคัญกับการดูแลรักษา โดยเกษตรกรสามารถปฏิบัติตามง่าย ๆ ดังนี้ 1.เลือกพันธุ์พืชที่เหมาะสมกับสภาพดินฟ้าอากาศ สภาพพื้นที่ และความต้องการของตลาด ควรใช้เมล็ดพันธุ์ดี จากแหล่งที่น่าเชื่อถือเพื่อให้ได้ผลผลิตที่ได้มีคุณภาพและตรงตามพันธุ์ และควรเป็นพืชอายุสั้น เก็บเกี่ยวผลผลิตได้เร็ว ดูแลรักษาง่าย 2.พื้นที่ปลูกควรมีแหล่งน้ำเพียงพอตลอดฤดูกาลเพาะปลูก ระวังอย่าให้พืชขาดน้ำ และอย่าให้น้ำมากเกินไปจนแฉะ จะทำให้พืชเน่าตายได้ ควรให้น้ำในช่วงเช้าหรือเย็น และไม่ควรให้น้ำตอนแดดจัด 3.สภาพพื้นดินมีความอุดมสมบูรณ์ อยู่ห่างจากแหล่งที่มีสารปนเปื้อนและโรงงานอุตสาหกรรมที่อาจก่อให้เกิดสารตกค้างในผลผลิตและควรมีวัสดุคลุมแปลงเพื่อรักษาความชื้นในแปลงปลูก 4.เกษตรกรควรป้องกันการเกิดโรคจากเชื้อราโดยการโชยน้ำ ชำระล้างใบในช่วงเช้า และการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยป้องกันโรคเน่าในพืชผักได้ 5.หมั่นดูแลและสังเกตการเจริญเติบโตของพืชผักที่ปลูก หากพบศัตรูพืชเข้าทำลายให้รีบกำจัดก่อนที่จะเกิดความเสียหายมาก หากไม่จำเป็นควรหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมี หรือใช้ในปริมาณที่กำหนดตามคำแนะนำ เรียบเรียงโดย : สำนักงานเกษตรจังหวัดชัยนาท
กลุ่มพืชและชนิดพืชแนะนำที่สามารถเพาะปลูกได้ในช่วงฤดูแล้ง
กลุ่มพืชและชนิดพืชแนะนำที่สามารถเพาะปลูกได้ในช่วงฤดูแล้ง กลุ่มพืชไร่ จำนวน 5 ชนิด ได้แก่ กลุ่มพืชสมุนไพร จำนวน 1 ชนิด ได้แก่ กลุ่มไม้ดอกไม้ประดับ จำนวน 2 ชนิด ได้แก่ กลุ่มพืชผัก จำนวน 31 ชนิด ได้แก่ เรียบเรียงโดย : กลุ่มส่งเสริมและพัฒนาการผลิต สำนักงานเกษตรจังหวัดลพบุรี
10 พืชใช้น้ำน้อยปลูกได้ในฤดูแล้ง
10 พืชใช้น้ำน้อยปลูกได้ในฤดูแล้ง ทำไมต้องปลูกพืชใช้น้ำน้อย คะน้าปริมาณน้ำ 300 ลูกบาศก์เมตร/ไร่ราคา 25 บาท/กิโลกรัม มะระจีนปริมาณน้ำ 500 ลูกบาศก์เมตร/ไร่ราคา 20 บาท/กิโลกรัม เห็ดฟางปริมาณน้ำ 300 ลูกบาศก์เมตร/ไร่ราคา 125 บาท/กิโลกรัม แตงกวาปริมาณน้ำ 560 ลูกบาศก์เมตร/ไร่ราคา 20 บาท/กิโลกรัม กวางตุ้งปริมาณน้ำ 300 ลูกบาศก์เมตร/ไร่ราคา 16 บาท/กิโลกรัม พริกปริมาณน้ำ 700 ลูกบาศก์เมตร/ไร่ราคา 53 บาท/กิโลกรัม ถั่วเขียวผิวมันปริมาณน้ำ 350 ลูกบาศก์เมตร/ไร่ราคา 29 บาท/กิโลกรัม ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ปริมาณน้ำ 700 ลูกบาศก์เมตร/ไร่ราคา 9 บาท/กิโลกรัม (ที่ความชื้น 14.5%) ถั่วฝักยาวปริมาณน้ำ 400 ลูกบาศก์เมตร/ไร่ราคา 43 บาท/กิโลกรัม มันเทศปริมาณน้ำ 700 ลูกบาศก์เมตร/ไร่ราคา 32 บาท/กิโลกรัม จัดทำโดย : กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์
อาการของต้นพืชที่ถูกน้ำท่วมและการดูแลฟื้นฟูไม้ผลหลังน้ำลด
อาการของต้นพืชที่ถูกน้ำท่วมและการดูแลฟื้นฟูไม้ผลหลังน้ำลด อาการของต้นพืชที่ถูกน้ำท่วม ดอกและผลต้นไม้ที่ถูกน้ำท่วมจะเกิดสภาวะเครียด กระตุ้นการสร้างฮอร์โมนเอทีลีนในปริมาณสูงกว่าปกติ ทำให้ต้นไม้ทิ้งดอกใบและผล โดยจะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ระบบรากรากขาดออกซิเจน เนื่องจากน้ำจะแทรกซึมเข้าไปตามช่องว่างของอากาศที่มีอยู่ในดิน ส่งผลต่อการลำเลียงน้ำและแร่ธาตุ ขึ้นไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของลำต้น ต้นไม้จะสร้างรูเปิดขึ้น ซึ่งมักจะสร้างอยู่ตรงกลางส่วนของลำต้นบริเวณเหนือผิวน้ำที่ท่วมขังเพียงเล็กน้อย เพื่อนำออกซิเจนไปเลี้ยงราก ถ้าต้นไม้มีการสร้างรูเปิดมาก ก็จะยิ่งทำให้ต้นไม้มีโอกาสรอดมากเท่านั้น ใบพืชใบเหลือง มักจะเกิดกับใบแก่หรือใบที่อยู่ส่วนโคนของกิ่งในแต่ละกิ่งย่อย และเหลืองเข้มมากขึ้น ส่วนอาการซีดเหลืองมักจะพบในต้นไม้ที่ถูกน้ำท่วมขังต่อเนื่อง นอกจากนี้ยังพบอาการใบลู่หรือห้อยลงอีกด้วย การปรับปรุงสภาพของดินโดยใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาเชื้อราไตรโคเดอร์มา มีคุณสมบัติในการควบคุมและทำลายเชื้อราสาเหตุโรคพืชทางดิน เช่น ไฟทอปธอรา ไรซอกโทเนีย พิเทียม สเคลอโรเทียม ฟิวซาเรียม ฯลฯ และยังทำให้พืชมีระบบรากที่สมบูรณ์ แข็งแรง หาอาหารได้ดี เรียบเรียง : ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืช จังหวัดเชียงใหม่
การฟื้นฟูนาข้าวหลังน้ำลดและการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาในนาข้าว
การฟื้นฟูนาข้าวหลังน้ำลดและการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาในนาข้าว การฟื้นฟูนาข้าวหลังน้ำลด การเกิดน้ำท่วมในพื้นที่นาข้าว อาจเกิดได้ 2 กรณี คือ จากฝนตกหนักน้ำป่าไหลหลาก เกิดน้ำท่วมฉับพลับ หรือเกิดจากน้ำท่วมขังเป็นระยะเวลานาน ส่งผลต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของข้าวเสียหาย โดยขึ้นอยู่กับระยะการเจริญเติบโตของข้าว ความลึกของน้ำ และระยะเวลาการท่วมขัง การจัดการนาข้าว การใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มา ใช้ควบคุมโรคที่มีสาเหตุเกิดจากเชื้อราสำหรับนาข้าว มีอัตราการใช้ดังนี้ เรียบเรียง : สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 6 จังหวัดเชียงใหม่