ศูนย์วิทยบริการเพื่อส่งเสริมการเกษตร

10

เรื่องล่าสุด

โรคราน้ำค้างในพืชตระกูลแตง สาเหตุเกิดจากเชื้อรา : Pseudoperonospora cubensis อาการเริ่มแรกพบจุดสีเหลืองหรือน้ำตาลขนาดเล็ก และขยายใหญ่ขึ้นเป็นปื้นสีเหลือง โดยจะพบที่ใบล่าง ใบแก่หรือโคนเถา ในเวลาเช้ามืดจะเห็นเส้นใยเชื้อราสีขาวหรือเทาที่ใต้ใบ ขอบใบจะม้วนและร่วง ปื้นสีเหลืองนั้นต่อไปจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล*ในเมล่อน แคนตาลูปและแตงโม จะทำให้ความหวานลดลง วิธีการดูแลรักษา ที่มา : สำนักงานเกษตรอำเภอเมืองกำแพงเพชร

แมลงสิง

แมลงสิง แมลงสิง เป็นมวนชนิดหนึ่ง ตัวเต็มวัยมีรูปร่างเพรียวยาว ขนาดประมาณ 1.5 ซม. หนวดยาวใกล้เคียงกับลำตัว ลำตัวด้านบนสีน้ำตาล ด้านล่างสีเขียว เมื่อถูกรบกวนจะบินหนี ปล่อยกลิ่นเหม็นจากต่อมที่ส่วนท้อง ตัวเต็มวัยออกหากินช่วงเช้ามืดและบ่าย เพศเมียวางไข่ได้หลายร้อยฟองในช่วงชีวิต 2-3 เดือน วางไข่เป็นกลุ่ม 10-12 ฟอง เรียงเป็นแถวตรงบนใบข้าวขนานกับเส้นกลางใบ ไข่มีสีน้ำตาลแดงเข้ม รูปร่างคล้ายจาน

โรคดอกกระถินในข้าว สาเหตุ : เกิดจากเชื้อรา Ustilaginoidea virens (Cke.) การเข้าทำลายในช่วงที่สภาพอากาศมีความชื้นสูง เชื้อราเข้าทำลายรวงข้าวในระยะเริ่มออกดอก เชื้อราสาเหตุโรค มีลักษณะเป็นผงหรือกลุ่มก้อนขนาดเล็กสีเหลือง พบอยู่ระหว่างเปลือกเมล็ดข้าว ต่อมาเชื้อราจะมีขนาดใหญ่ขึ้นเจริญเติบโตคลุมเมล็ดข้าวทั้งเมล็ด เมื่อเชื้อราเจริญต่อไป เยื่อหุ้มจะแตกออก เชื้อราจะเปลี่ยนเป็นสีส้ม ถ้าเชื้อราแก่จัด อาจพบเป็นสีดำ สุดท้ายก้อนเชื้อราดอกกระถินจะมีรอยแยกและมีสีเขียวเข้มปนเหลือง ระยะนี้เชื้อราจะปลิวไปกับลม เข้าทำลายเมล็ดข้าว ต้นอื่น

รายงานประจำปี เดือนตุลาคม 2567 สามารถเข้ามารับบริการการอ่านได้ที่ ห้องสมุดกรมส่งเสริมการเกษตร อาคารส่งเสริมการเกษตรเบญจสิริกิติ์ ชั้น 5 (ห้องสมุดกรมส่งเสริมการเกษตร) หรือที่ http://library.doae.go.th สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : โทรศัพท์ 0-2579-2594 โทรสาร 0-2579-5517

สามารถเข้ามารับบริการการอ่านได้ที่ ห้องสมุดกรมส่งเสริมการเกษตร อาคารส่งเสริมการเกษตรเบญจสิริกิติ์ ชั้น 5 (ห้องสมุดกรมส่งเสริมการเกษตร) สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : โทรศัพท์ 0-2579-2594 โทรสาร 0-2579-5517 http://library.doae.go.th

วันที่ 28 ตุลาคม 2567 สื่อประชาสัมพันธ์ จำนวน 1 ชิ้น นายพีรพันธ์ คอทอง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร พร้อมด้วย นายครองศักดิ์ สงรักษา รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร นายวีรศักดิ์ บุญเชิญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร นายสุริยะ คำปวง รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร ผู้อำนวยการกอง/สำนักส่วนกลาง

วันที่ 28 ตุลาคม 2567 สื่อประชาสัมพันธ์ จำนวน 1 ชิ้น นายพีรพันธ์ คอทอง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวปิดและร่วมประกาศความสำเร็จในการดำเนินโครงการการจัดการห่วงโซ่อุปทานข้าวและมันฝรั่ง เพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ ด้วยวิธีการปลูกข้าว มันฝรั่งและข้าวโพดหมุนเวียนอย่างยั่งยืน (RePSC) ณ โรงแรมเรอเนสซองส์ กรุงเทพฯ ราชประสงค์

วันที่ 27 ตุลาคม 2567 สื่อประชาสัมพันธ์ จำนวน 1 ชิ้น นายพีรพันธ์ คอทอง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร เข้าเฝ้าฯ รับเสด็จ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ในการเสด็จพระราชดำเนินทรงบำเพ็ญพระราชกุศลถวายผ้าพระกฐิน โดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารค เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28

พืชสมุนไพรน่ารู้ กับ 3 เอกสารแนะนำ เรื่องราวของสมุนไพร ตั้งแต่การเริ่มปลูกสมุนไพร ควรปลูกอะไร มีสรรพคุณแบบไหน รวมถึงชี้เป้าแหล่งผลิตและจำหน่ายพืชสมุนไพร อ่านครบจบในโพสต์นี้เลย พืชสมุนไพรน่ารู้คลิกอ่าน : https://bit.ly/3UdAg5e สมุนไพรประจำบ้านคลิกอ่าน :https://bit.ly/304d9h2 ชี้เป้า แหล่งผลิตและจำหน่ายพืชสมุนไพรคลิกอ่าน : https://bit.ly/3Y3yEMk

“แนวทางการขับเคลื่อนงานกรมส่งเสริมการเกษตร ปี 2568” C4 : Collaboration > Connect > Create > Consortium“ทำงานร่วมกัน เชื่อมต่องาน สร้างสรรค์ แบ่งปันข้อมูลและเติบโตไปพร้อมกัน” เป้าหมายสำคัญ ขับเคลื่อนผ่าน >>>

โรคสแคป

โรคสแคป

โรคและแมลงศัตรูส้ม “โรคสแคป” เกิดจากเชื้อรา Elsinoe fawcettii Bitanc & Jankins ซึ่งชอบอากาศเย็น จึงพบโรคกับส้มที่ปลูกในพื้นที่ที่มีอากาศเย็น ติดต่อกันค่อนข้างนาน หรือในช่วงฤดูฝนและฤดูหนาวที่มีความชื้นสูง ลักษณะอาการ – อาการที่เกิดบนใบและบนผลส้มจะคล้ายกับโรคแคงเกอร์ โดยเริ่มแรกแผลมีลักษณะเป็นจุดใสขนาดเล็ก ต่อมาแผลจะนูนขึ้นและเป็นสีน้ำตาลอ่อน หลังจากนั้นแผลจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองอมเทา ตกสะเก็ด แข็งขรุขระคล้ายหูด ดาวน์โหลดไฟล์ PDF. จัดทำโดย : กองส่งเสริมการอารักขาพืชและจัดการดินปุ๋ย

แมลงวันหนอนชอนใบในพืชผัก

แมลงวันหนอนชอนใบในพืชผัก

แมลงวันหนอนชอนใบในพืชผัก หนอนชอนไชภายในใบพืช ทำให้เกิดรอยสีขาวคดเคี้ยวไปมา จัดทำโดย : กองส่งเสริมการอารักขาพืชและจัดการดินปุ๋ย ดาวน์โหลดไฟล์ PDF.

แมลงดำหนามมะพร้าว

แมลงดำหนามมะพร้าว

แมลงศัตรูมะพร้าว “แมลงดำหนามมะพร้าว” ลักษณะการเข้าทำลายตัวหนอนและตัวเต็มวัยกัดกินยอดอ่อน และจะซ่อนตัวอยู่ในใบอ่อนที่พับอยู่ โดยจะเคลื่อนย้ายไปกินยอดอื่นต่อ เมื่อใบของมะพร้าวที่ซ่อนตัวคลี่ออกมา ต้นมะพร้าวที่ถูกทำลายอย่างรุนแรง ใบจะเป็นสีขาวโพลนชัดเจน หรือที่เรียกว่า “มะพร้าวหัวหงอก” ดาวน์โหลดไฟล์ PDF. จัดทำโดย : กองส่งเสริมการอารักขาพืชและจัดการดินปุ๋ย

ไรสี่ขามะพร้าว

ไรสี่ขามะพร้าว

แมลงศัตรูมะพร้าว “ไรสี่ขามะพร้าว” ลักษณะการเข้าทำลายเข้าทำลายใต้กลีบขั้วผล และใต้กลีบเลี้ยง ทำให้เกิดรอยแผลที่ขั้วผลและลุกลามลงมาที่ผลทำให้แผลตกสะเก็ด เมื่อผลโตขึ้นจะเห็นแผลเป็นร่องลึก เมื่อแกะขั้วผลออกจะเห็นด้านในเป็นสีน้ำตาล หากนำไปส่องดูใต้กล้องจุลทรรศน์จะเห็นไรสี่ขามะพร้าวตัวเล็ก ๆ จำนวนมาก โดยจะเข้าทำลายเกือบทุกผลของทลายมะพร้าว ดาวน์โหลดไฟล์ PDF. จัดทำโดย : กองส่งเสริมการอารักขาพืชและจัดการดินปุ๋ย

การผสมสารเคมีให้ถูกวิธี

การผสมสารเคมีให้ถูกวิธี

4 ขั้นตอน การผสมสารเคมี ป้องกันกำจัดศัตรูพืชให้ถูกวิธี จัดทำโดย : ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืชจังหวัดพิษณุโลก ดาวน์โหลดไฟล์ PDF.