ศูนย์วิทยบริการเพื่อส่งเสริมการเกษตร

10

เรื่องล่าสุด

โครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2567/2568 มติ ครม.มติครม. เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2567 ได้เห็นชอบการขอยกเลิกโครงการสนับสนุนปุ๋ยลดต้นทุนการผลิตของเกษตรกรผู้ปลูกข้าว และขอเสนอโครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2567/2568 โครงการฯ และเงื่อนไข วัตถุประสงค์ เป้าหมายเกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปี “รอบที่ 1” ปีการผลิต 2567/2568 ที่ขึ้นทะเบียนกับกรมส่งเสริมการเกษตร

ขอเชิญเกษตรกรและผู้สนใจ ฝึกอบรมการผลิตพืชพันธุ์ดี ประจำเดือนธันวาคม 2567 หลักสูตร : การผลิตพืชผัก (พริก) หลักสูตร : การขยายพันธุ์พืชแบบไม่อาศัยเพศ (อาโวคาโด มะม่วง ลำไย มันสำปะหลัง เสียบยอด ตอนกิ่ง x20) หลักสูตร : การผลิตและเพิ่มมูลค่าพืชทางเลือกกระเจี๊ยบแดง หลักสูตร

โครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าวปี 2567/2568 รายละเอียดโครงการ เกษตรกรสามารถตรวจสอบสถานะการแจ้งเพาะปลูกข้าวปี 2567/2568 ได้ด้วยตนเอง ผ่านเว็ปไซต์ https://efarmer.doae.go.th/checkFarmer รอบการนำส่งข้อมูลให้ ธ.ก.ส. หรือผ่านแอพลิเคชัน “ฟาร์มบุ๊ก” (FARMBOOK) หากตรวจสอบแล้วมีข้อมูลการแจ้งเพาะปลูกข้าว แต่ยังไม่ได้รับเงินโครงการฯ โปรดติดต่อทาง ธกส. ได้โดยตรง หรือตรวจเช็คสิทธิ์ออนไลน์กับทาง ธกส. ขั้นตอนการตรวจสอบสถานะการโอนเงินช่วยเหลือชาวนา ไร่ละ

ขอเชิญร่วมงานคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ในพระราชานุเคราะห์ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ฯ สยามมกุฎราชกุมาร ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ไตรมาสที่ 1 พบกับหน่วยบริการต่างๆและกิจกรรมมากมาย อาทิเช่น คลินิกพืช คลินิกดิน คลินิกชลประทาน คลินิกปศุสัตว์ คลินิกประมง คลินิกบัญชี คลินิกข้าว ฯลฯ อย่าลืมมาร่วมงานและใช้บริการกับหน่วยบริการต่างๆภายในงาน สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม :

ขอเชิญร่วมงานคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ในพระราชานุเคราะห์ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ฯ สยามมกุฎราชกุมาร ไตรมาสที่ 1 สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ : สำนักงานเกษตรจังหวัดปทุมธานี

ในสภาพอากาศที่มีน้ำค้างจัด จนถึงช่วงสาย อากาศค่อนข้างเย็น ชาวนาควรระวังการระบาดของโรค โรคขอบใบแห้ง สาเหตุ : เชื้อแบคทีเรีย ลักษณะอาการทำลายระยะกล้าถึงออกรวง อาการพบเป็นแผลช้ำที่ขอบใบ ต่อมาจุดช้ำนี้จะขยายกลายเป็นทางสีเหลืองยาวตามใบข้าว ใบที่เป็นโรค จะแห้งเร็วและสีเขียวจะจางลงกลายเป็นสีเทา ๆ ในกรณีที่ต้นข้าวมีความอ่อนแอต่อโรค ต้นข้าวจะเหี่ยวเฉาและแห้งตายทั้งต้น การป้องกันกำจัด โรคไหม้ข้าว สาเหตุ : เชื้อรา ลักษณะอาการทำลายระยะกล้าถึงออกรวง

สำนักงานเกษตรอำเภอเกาะยาว รับสมัครเกษตรกรเข้าร่วมโครงการส่งเสริมการปลูกผัก ถั่วลิสง แตงโม และถั่วเขียว สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : สนง.เกษตรอำเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา 

ลมหนาวมาเยือนแล้วจ้าาา วันนี้ขอชวนพี่น้องเกษตรกรมาอ่านเรื่องราวของ “การปลูกพืช โรคและแมลงศัตรูพืช ในช่วงอากาศหนาว” เพื่อนำข้อมูลไปปรับใช้กับแปลงเกษตรในพื้นที่ของตนเอง ผ่าน 3 เอกสารแนะนำ ดังนี้เลย การปลูกพืชหน้าหนาวคลิกอ่าน : https://bit.ly/4gfSnA4 โรคและแมลงศัตรูพืช ที่ต้องระวังในช่วงอากาศหนาวคลิกอ่าน : https://bit.ly/485wKyR ระวัง 3 โรคข้าวหน้าหนาวคลิกอ่าน : https://bit.ly/41B2LhV

เลือกพันธุ์มันสำปะหลัง ให้ผลผลิตปังตามมาตรฐาน หมายเหตุ : เพื่อให้สอดคล้องตามมาตรฐาน มกษ.5901 มาตรฐานสินค้าเกษตร เรื่อง การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับมันสำปะหลัง เรียบเรียงโดย : กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ กรมส่งเสริมการเกษตร

รอบรู้เรื่อง “น้ำส้มควันไม้” เพื่อใช้ในด้านการเกษตร

รอบรู้เรื่อง "น้ำส้มควันไม้" เพื่อใช้ในด้านการเกษตร

รอบรู้เรื่อง “น้ำส้มควันไม้” เพื่อใช้ในด้านการเกษตร น้ำส้มควันไม้ หรือ น้ำวู้ดเวเนการ์ (Wood vinegar)ซึ่งในการเลือก เก็บผลผลิตควันไม้นี้ เจ้าของเราสามารถตรวจสอบได้จากเทอร์โมมิเตอร์ที่วัดอุณหภูมิที่บริเวณปากปล่องควันตามมาตรฐาน ถ้าเกษตรกรไม่มีเทอร์โมมิเตอร์ในการวัดอุณหภูมิ ให้ใช้วิธีสังเกตควันแทน และควรเก็บผลผลิตน้ำส้มควันไม้ได้ในช่วงอุณหภูมิที่ปากปล่องระหว่าง 80 องศาเซลเซียส ถึง 150 องศาเซลเซียส ซึ่งอุณหภูมิภายในตัวเตาเผาจะเท่ากับ 300-400 องศาเซลเซียส และเป็นช่วงที่ผลผลิตจะมีคุณภาพที่ดีที่สุด เรียบเรียงโดย : สำนักงานเกษตรอำเภอธัญบุรี

อาการผิดปกติของพืชที่เกิดจากเชื้อรา

อาการผิดปกติของพืชที่เกิดจากเชื้อรา

อาการผิดปกติของพืชเกิดแตกต่างกันขึ้นอยู่กับชนิดของเชื้อราสาเหตุและส่วนต่าง ๆ ของพืชที่ถูกเข้าทำลาย ผลเกิดจุดแผล ยุบตัว เน่า อาจพบส่วนของเชื้อรา (สปอร์/เส้นใย) และเมล็ดอ่อนนุ่ม สีผิดปกติ ใบเกิดแผลจุด/แผลไหม้/แผลเป็นแถบตามความยาวของใบ อาจพบส่วนของเชื้อรา (สปอร์/เส้นใย) บนจุดแผล หรือด้านใต้ใบ ลำต้น/กิ่งเกิดอาการเน่า เริ่มจากระบบราก โคนต้น ระบบท่อลำเลียง/เนื้อไม้ เปลี่ยนสี ยางไหล ใบเหลืองร่วง เหี่ยวแห้ง ยอดแห้งตาย เรียบเรียงโดย : สำนักงานเกษตรอำเภอเมืองปทุมธานี เว็บไซต์ : pathumthani.doae.go.th/mueang

โรคข้าวสำคัญ ที่พบตามระยะการเจริญเติบโตโรคข้าวสำคัญ

โรคข้าวสำคัญ ที่พบตามระยะการเจริญเติบโตโรคข้าวสำคัญ

โรคข้าวสำคัญ ที่พบตามระยะการเจริญเติบโตโรคข้าวสำคัญ เชื้อรา▪️ โรคกล้าเน่า▪️ โรคไหม้▪️ โรคใบจุดสีน้ำตาล▪️ โรคใบขีดสีน้ำตาล▪️ โรคกาบใบแห้ง▪️ โรคกาบใบเน่า▪️ โรคเมล็ดด่าง เชื้อแบคทีเรีย▪️ โรคขอบใบแห้ง▪️ โรคใบขีดโปร่งแสง เชื้อไวรัส▪️ โรคใบสีส้ม▪️ โรคใบหงิก▪️ โรคเขียวเตี้ย▪️ โรคหูด เชื้อไฟโตพลาสมา▪️ โรคใบสีแสด▪️ โรคเหลืองเตี้ย ไส้เดือนฝอย▪️ โรครากปม สภาพแวดล้อมไม่เหมาะสม▪️ เมาตอซัง ดาวน์โหลดไฟล์ PDF. จัดทำโดย : กองส่งเสริมการอารักขาพืชและจัดการดินปุ๋ย 

มาทำความรู้จัก…หมอพืชชุมชน

มาทำความรู้จัก...หมอพืชชุมชน

มาทำความรู้จัก…หมอพืชชุมชน หมอพืชชุมชน คือ เกษตรกรผู้ผ่านหลักสูตรหมอพืชชุมชนอบรมด้านการวินิจฉัยและจัดการศัตรูพืชเบื้องต้น โดยเฉพาะในพืชเศรษฐกิจของพื้นที่ คุณลักษณะ1. วินิจฉัยอาการผิดปกติและจัดการศัตรูพืชเบื้องต้นได้2. เก็บข้อมูลภาพถ่ายและตัวอย่างเพื่อการวินิจฉัยได้ 3. มีจิตสาธารณะ ประสานงานกับเจ้าหน้าที่และเกษตรกรได้ ดาวน์โหลดไฟล์ PDF. จัดทำโดย : กองส่งเสริมการอารักขาพืชและจัดการดินปุ๋ย

มารู้จัก “หมอพืช”

มารู้จัก "หมอพืช"

หมอพืช คือ เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร ผู้มีความรู้และความสามารถในการวินิจฉัยอาการผิดปกติของพืชเบื้องต้น และให้คำแนะนำการจัดการศัตรูพืชที่เหมาะสมกับสภาพปัญหาและบริบทของพื้นที่ให้กับเกษตรกร ดาวน์โหลดไฟล์ PDF. จัดทำโดย : กองส่งเสริมการอารักขาพืชและจัดการดินปุ๋ย