เกษตรสมุทรปราการแนะนำ แนวทางดูแลรักษากล้วยในช่วงฤดูฝน

เกษตรสมุทรปราการแนะนำ แนวทางดูแลรักษากล้วยในช่วงฤดูฝน แนวทางดูแลรักษากล้วยในช่วงฤดูฝน โรคกล้วยที่พบบ่อยในช่วงฤดูฝน : โรคตายพรายในกล้วย สาเหตุ : เกิดจากเเชื้อรา Fusarium oxysporum f. sp. cubense ลักษณะอาการ : ใบกล้วยที่อยู่รอบนอกหรือใบแก่ แสดงอาการเหี่ยวเหลืองจากขอบและลุกลามเข้ากลางใบ ก้านใบหักพับตรงรอยต่อกับลำต้น และจะทยอยหักพับตั้งแต่ใบที่อยู่รอบนอกเข้าไปสู่ใบด้านใน แนวทางป้องกัน : ป้องกันด้วยการใช้สารชีวภัณฑ์ฉีดพ่นเพื่อควบคุมโรค อาทิเช่น เชื้อราไตรโคเดอร์มาหรือเชื้อแบคทีเรียบาซิลลัส เรียบเรียงโดย : สำนักงานเกษตรจังหวัดสมุทรปราการ
เกษตรสมุทรปราการแนะนำ แนวทางดูแลรักษามะม่วงในช่วงฤดูฝน

เกษตรสมุทรปราการแนะนำ แนวทางดูแลรักษามะม่วงในช่วงฤดูฝน แนวทางดูแลรักษามะม่วงในช่วงฤดูฝน โรคมะม่วงที่พบบ่อยในช่วงฤดูฝน : โรคแอนแทรคโนสในมะม่วงสาเหตุ : เกิดจากเเชื้อรา Colletotrichum gloeosporioides Penz. ลักษณะอาการ : ใบอ่อนมีอาการเป็นจุดฉ่ำน้ำ และจะเปลี่ยนเป็นสีดำ บริเวณที่เป็นแผลจะหดตัวเล็กลงทำให้ใบบิดเบี้ยว แนวทางป้องกัน : ป้องกันด้วยการใช้สารชีวภัณฑ์ฉีดพ่นเพื่อควบคุมโรค อาทิเช่น เชื้อราไตรโคเดอร์มา หรือเชื้อแบคทีเรียบาซิลลัส เรียบเรียงโดย : สำนักงานเกษตรจังหวัดสมุทรปราการ
9 วิธีปลูกทุเรียนให้รอด

9 วิธีปลูกทุเรียนให้รอด เรียบเรียงโดย : ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักพืชจังหวัดพิษณุโลก
ข้อกำหนดการส่งออกมังคุดไปญี่ปุ่น

ข้อกำหนดการส่งออกมังคุดไปญี่ปุ่น ภายใต้มาตรการแนวทางดำเนินการในรูประบบ Systems approach ; SA สวนมังคุดสวนที่ขึ้นทะเบียนกับกรมวิชาการเกษตร (กวก.) ต้องปฏิบัติ ดังนี้– มีใบรับรอง GAP– ผลิตตามกรมวิชาการเกษตร– มีการจัดการสวนมังคุด โรงคัดบรรจุ1. ขึ้นทะเบียนโรงคัดบรรจุกับกรมวิชาการเกษตร2. ส่งแบบฟอร์มคำขอเข้าร่วม “โครงการส่งออกมังคุดผลสดไปประเทศญี่ปุ่นภายใต้มาตรการ SA”3. พนักงานต้องอบรมการคัดแยกและตรวจสอบผลมังคุดจากกรมวิชาการเกษตร4. ผลมังคุดต้อง – ผ่านการตรวจสอบร่องรอยความเสียหาย– ทำความสะอาดผลและใต้กลีบเลี้ยง– ไม่มีศัตรูพืชกักกัน ดิน และวัชพืช5. กรมวิชาการเกษตรสุ่มตัวอย่างน้อย 5% ก่อนการส่งออก (ต้องไม่มีแมลงวันผลไม้ ศัตรูพืชกักกันอื่นและร่องรอยความเสียหาย) การส่งออก– การขนส่งทางเรือ– การขนส่งทางเครื่องบิน– การถือขึ้นเครื่องบิน เรียบเรียงโดย : กองส่งเสริมการอารักขาพืชและจัดการดินปุ๋ย กรมส่งเสริมการเกษตร
การปลูกมะขามเปรี้ยวยักษ์

การปลูกมะขามเปรี้ยวยักษ์ มะขามเปรี้ยวยักษ์ เป็นไม้ยืนต้นที่เพาะปลูกได้ง่าย การดูแลไม่ยุ่งยาก สามารถปลูกได้ในดินเหนียว ดินลูกรัง ดินทราย แต่ดินที่เหมาะสมที่สุด ในการปลูกควรเป็นดินร่วนปนทราย เพราะจะสามารถระบายน้ำได้ดี คุณสมบัติของมะขามเปรี้ยวยักษ์นั้น เป็นพืชทนแล้ง ให้ผลดก ติดฝักง่าย มีฝักขนาดใหญ่ ให้เนื้อปริมาณที่มากกว่ามะขามเปรี้ยวทั่ว ๆ ไป สามารถใช้ประโยชน์ได้ทั้งลำต้น ยอดอ่อน ฝักสด และฝักแก่ เรียบเรียงโดย : ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตร จังหวัดฉะเชิงเทรา