ศูนย์วิทยบริการเพื่อส่งเสริมการเกษตร

10

เรื่องล่าสุด

เพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง ที่พบในมันสำปะหลังมี 4 ชนิด คือ เพลี้ยแป้งลาย เพลี้ยแป้งแจ็คเบียส เพลี้ยแป้งมันสำปะหลังสีเขียว และเพลี้ยแป้งมันสำปะหลังสีชมพู สำหรับเพลี้ยแป้งที่ทำความเสียหายให้กับมันสำปะหลังอย่างรุนแรงคือ เพลี้ยแป้งมันสำปะหลังสีชมพู ซึ่งเป็นแมลงศัตรูต่างถิ่น ลักษณะการทำลายเพลี้ยแป้งจะดูดกินน้ำเลี้ยงตามส่วนต่าง ๆ เช่น ใบ ยอด และตา ส่งผลต่อคุณภาพท่อนพันธุ์ หัวมีขนาดเล็ก เปอร์เซ็นต์แป้งต่ำ หากการระบาดรุนแรงยอดจะแห้งตาย ถ้ามีระบาดในช่วงที่มันสำปะหลังอายุน้อย

โรคพุ่มแจ้มันสำปะหลัง สาเหตุของโรคเกิดจากเชื้อไฟโตพลาสมา มีเพลี้ยจักจั่นเป็นพาหะ และต้นสาบม่วงเป็นพืชอาศัยของโรคพุ่มแจ้ ลักษณะอาการคล้ายกับการทำลายของเพลี้ยแป้ง โดยเชื้อไฟโตพลาสมาจะทำให้ท่อลำเลียงอาหารอุดตัน ทำให้ส่วนยอดแคระแกร็น มีการแตกตาข้างมาก ยอดเป็นพุ่ม ใบเล็กลงสีเหลืองซีด และมีใบแห้งติดกิ่งหรือร่วงหล่น ใบที่เป็นโรคจะเริ่มแห้งตายจากใบล่างขึ้นไปถึงที่ปลายยอด ต่อมากิ่งก้านจะแห้งตายจากยอด ลำต้นแคระแกร็น ข้อปล้องสั้น และใบมีขนาดเล็กลง ในระยะเก็บเกี่ยว หากเชื้อลุกลามลงไปที่หัวมันสำปะหลังจะทำให้หัวมีเส้นสีน้ำตาลดำตามแนวยาวใต้เปลือก คุณภาพผลผลิตลดลง และเปอร์เซ็นต์แป้งต่ำ ถ้าพบการระบาดรุนแรงมันสำปะหลังอาจยืนต้นตายได้ กรมส่งเสริมการเกษตรแนะนำวิธีการป้องกันกำจัด ดังนี้

โรคใบด่างมันสำปะหลัง สาเหตุของโรคเกิดจากเชื้อไวรัส Sri Lankan Cassava mosaic virus (SLCMV) มีแมลงหวี่ขาวยาสูบเป็นพาหะ ลักษณะอาการของโรค ส่วนของยอดอ่อนหรือยอดที่เกิดใหม่จะแสดงอาการด่างเขียวอ่อนหรือเหลืองสลับเขียวเข้ม มีขนาดเรียวเล็ก หงิกงอ และเสียรูปทรง อาการบนใบส่วนที่ถัดลงมาจากยอดหรือใบแก่จะพบอาการด่างเขียวอ่อนหรือเหลืองสลับเขียวเข้ม หงิกงอ และเสียรูปทรง ความเสียหายจากโรคจะทำให้มันสำปะหลังไม่สร้างหัวสะสมอาหารหรือหัวมีขนาดเล็ก ซึ่งอาจทำให้ผลผลิตลดลง กรมส่งเสริมการเกษตรแนะนำวิธีการป้องกันกำจัด ดังนี้ 1) ปลูกมันสำปะหลังที่ปลอดโรค

แมลงดำหนามข้าว (Rice hispa) ชื่อวิทยาศาสตร์ : Dicladispa armigera (olivier) วงจรชีวิต รูปร่างลักษณะ ระยะตัวเต็มวัยเป็นด้วงปีกแข็งชนิดหนึ่ง มีหนามแข็งแหลมแปกคลุมตัว ลำตัวยาว 5-6 มม. เพศเมียวางไข่เป็นฟองเดี่ยว ๆ ประมาณ 50 ฟอง ใกล้ปลายใบอ่อน ระยะตัวเต็มวัย

ไถกลบตอซัง

ไถกลบตอซัง ปรับโครงสร้างดิน ลดการเผา ลดหมอกควัน การเผาตอซังการเผาตอซังมีผลกระทบอย่างมากต่อการทำลายโครงสร้างของดิน จุลินทรีย์ และสิ่งมีชีวิตที่เป็นประโยชน์ในดิน เนื่องจากความร้อนจากการเผาตอซังก่อให้เกิดผลเสียต่อทรัพยากร โดยทำให้โครงสร้างของดินเปลี่ยนแปลงไป สูญเสียอินทรียวัตถุและธาตุอาหารในดิน ทำลายจุลินทรีย์และแมลงที่เป็นประโยชน์ในดิน สูญเสียน้ำในดิน และทำให้เกิดฝุ่นละออง เถ้าเขม่า และก๊าซหลายชนิด และทำให้เกิดมลพิษและเป็นอันตรายต่อสุขภาพ การใช้น้ำหมักชีวภาพที่ผลิตจากสารเร่งซุปเปอร์ พด.2 ช่วยย่อยสลายตอซังสารเร่งซุปเปอร์ พด.2 เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่เพิ่มประสิทธิภาพการย่อยโปรตีน ไขมัน

การเก็บเมล็ดพันธุ์จุดเริ่มต้นการสร้างความมั่นคงทางด้านอาหาร ลดความเสี่ยงจากการขาดแคลนอาหารและเมล็ดพันธุ์เมื่อเกิดวิกฤตต่าง ๆ ประเภทของเมล็ดพันธุ์ที่เก็บได้ในครัวเรือน ตัวอย่างการเก็บเมล็ดพันธุ์ ถั่วต่าง ๆเก็บฝักแก่สีน้ำตาล ผึ่งลมในที่ร่มให้แห้ง นำเมล็ดออกทำความสะอาด เก็บในภาชนะปิดสนิท พริกเก็บผลสุกแก่ นำเมล็ดออกทำความสะอาด ผึ่งลมในที่ร่มให้แห้ง เก็บในภาชนะปิดสนิท บวบเก็บผลแก่จัดแห้ง นำเมล็ดออกทำความสะอาด ผึ่งลมในที่ร่มให้แห้ง เก็บในภาชนะปิดสนิท ที่มา : สำนักงานเกษตรอำเภอคลองหาด จังหวัดสระแก้ว

การใช้สารเคมีป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืชของลำไย ผีเสื้อมวนหวานใช้เหยื่อพิษล่อตัวเต็มวัย โดยใช้ผลไม้สุกมีกลิ่นหอม เช่น กล้วย สับปะรด มะละกอ หรือลูกตาลสุก ตัดเป็นชิ้นหนาประมาณ 1 นิ้ว แล้วจุ่มในสารฆ่าแมลงคาร์บาริล 85% WP อัตรา 2 กรัม ต่อน้ำ 1 ลิตร แช่ทิ้งไว้ประมาณ 5

ราแป้งราดำมะม่วง เกิดจากเชื้อรา Oidium mangiferae พบอาการที่ช่อดอก พบเป็นผงสีขาวคล้ายแป้ง ขึ้นฟูตามก้านช่อดอก ทำให้ดอกมีลักษณะช้ำเป็นสีน้ำตาลอ่อนต่อมาเปลี่ยนเป็นสีดำ แห้งและหลุดร่วงหากติดผลจะทำให้ผลที่ได้ไม่สมบูรณ์มีขนาดเล็กและหลุดร่วงจากขั้วได้ง่าย ส่วนอาการที่ใบจะพบจุดแผลสีเหลือง จะพบเชื้อราเป้นผงสีขาวคล้ายแป้งขึ้นปกคลุมผิวใบ อาการรุนแรงจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเทา และใบบิดเบี้ยวผิดรูป แนวทางการป้องกัน โรคราดำ เกิดจากเชื้อรา Capnodium sp. และ Mesiola sp. พบคราบราสีดำตามส่วนของลำต้น

การปาฐกถา เรื่อง “นโยบายของรัฐต่อการส่งเสริมการเกษตร การทำเกษตรปลอดภัย ใส่ใจสิ่งแวดล้อม” โดย นายพีรพันธ์ คอทอง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตรวันพุธที่ 4 ธันวาคม 2567 เวลา 9.30 น. ณ อาคารศูนย์เรียนรวม 4 ห้อง 102 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน

การปลูกผักสลัดยกแคร่ ส่วนประกอบของดินปลูก วัสดุอุปกรณ์ การเพาะปลูกเพาะเมล็ดผักสลัดลงถาดเพาะกล้า 15 วัน จากนั้นย้ายลงแปลงปลูกยกแคร่ เมื่อผักมีอายุ 30-45 วัน สามารถเก็บเกี่ยวได้ (วันเก็บเกี่ยวขึ้นอยู่กับชนิดผักสลัด) การใส่ปุ๋ย1.หลังจากเพาะปลูกครบ 7 วัน ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 จำนวน 1 ครั้ง2.ให้ฮอร์โมนนมหรือฮอรืโมนไข่ 3-4 วันต่อครั้ง

เริ่มต้นฤดูกาลเพาะปลูกใหม่แล้ว… อย่าลืมขึ้นทะเบียนเกษตรกรและปรับปรุงทะเบียนเกษตรกร

เริ่มต้นฤดูกาลเพาะปลูกใหม่แล้ว… อย่าลืมขึ้นทะเบียนเกษตรกรและปรับปรุงทะเบียนเกษตรกร

เริ่มต้นฤดูกาลเพาะปลูกใหม่แล้ว… เกษตรกรทุกท่าน อย่าลืม  ขึ้นทะเบียนเกษตรกรและปรับปรุงทะเบียนเกษตรกร ให้เป็นปัจจุบัน  เพื่อนำข้อมูลไปใช้ในการวางแผน พัฒนาภาคการเกษตร รวมทั้งนำไปใช้ประโยชน์ในการช่วยเหลือตามโครงการและมาตรการของภาครัฐ สามารถดำเนินการได้ผ่านช่องทาง ดังนี้

ไขข้อข้องใจกับทะเบียนเกษตรกร

ไขข้อข้องใจกับทะเบียนเกษตรกร

ทำไมต้องขึ้นทะเบียนเกษตรกร สามารถขึ้นทะเบียนเกษตรกรด้วยวิธีใดบ้าง วิธีที่ 1 : แจ้งกับเจ้าหน้าที่ สำหรับเกษตรกรรายเดิม แปลงเดิม1.1 แจ้งข้อมูลได้ที่สำนักงานเกษตรอำเภอทุกแห่ง1.2 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีความพร้อมและร่วมเป็นหน่วยสนับสนุน ที่เกษตรกรมีพื้นที่การเกษตรอยู่1.3 แจ้งข้อมูลผ่านผู้นำชุมชน หรือ ตัวแทนอาสาสมัครเกษตรหมู่บ้าน (อกม.) หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย เกษตรกรรายใหม่ และรายเดิม แต่เพิ่มแปลงใหม่แจ้งข้อมูลได้ที่สำนักงานเกษตรอำเภอ ที่ตั้งแปลงที่ทำกิจกรรมการเกษตรอยู่ วิธีที่ 2 : ดำเนินการด้วยตนเอง เกษตรกรรายเดิม แปลงเดิม2.1 Farmbook Application เกษตรกรรายใหม่ หรือรายเดิม เพิ่มแปลงใหม่2.2 แจ้งข้อมูลผ่าน e-Form ที่เว็บไซต์ efarmer.doae.go.th หลักฐานที่ต้องใช้ (กรณีติดต่อสำนักงานเกษตรอำเภอ)1.บัตรประชาชน (ตัวจริง)2.สำเนาหลักฐานถือครองที่ดิน3.เกษตรกรรายใหม่ หรือรายเดิม แต่เพิ่มแปลงใหม่ ต้องนำหลักฐานการใช้ที่ดิน (ตัวจริงหรือสำเนา) มาแสดงด้วย ต้องปลูกพืชแต่ละชนิดอย่างต่ำจำนวนเท่าใด ถึงจะสามารถขึ้นทะเบียนเกษตรกรได้ หากต้องการทราบ รหัสทะเบียนเกษตรกรของตนเองต้องทำอย่างไร แอปพลิเคชัน Farmboo