เกณฑ์การประเมินพื้นที่ระบาดศัตรูพืชในพืชเศรษฐกิจสำคัญ (มะพร้าว)
เกณฑ์การประเมินพื้นที่ระบาดศัตรูพืชในพืชเศรษฐกิจสำคัญ (มะพร้าว) 1.หนอนหัวดำมะพร้าวสุ่มนับทางใบที่เขียวสมบูรณ์ แยกระดับความรุนแรงน้อย = ใบเขียวสมบูรณ์ 13 ทางใบขึ้นไปปานกลาง = ใบเขียวสมบูรณ์ 6-13 ทางใบรุนแรง = ใบเขียวสมบูรณ์ น้อยกว่า 6 ทางใบ 2.แมลงดำหนามมะพร้าวสุ่มนับใบยอดที่ถูกทำลาย แยกตามระดับความรุนแรงน้อย = ใบยอดถูกทำลาย 1-5 ทางใบปานกลาง = ใบยอดถูกทำลาย 6-10 ทางใบรุนแรง = ใบยอดถูกทำลาย 11 ทางใบขึ้นใบ 3.ด้วงแรดมะพร้าวสำรวจมะพร้าวทุกต้นในแปลง หากพบทางใบมะพร้าวถูกทำลายเป็นรูปพัด = พบการระบาด 4.ด้วงงวงสำรวจมะพร้าวทุกต้นในแปลง หากพบมะพร้าวคอหักพับ ยืนต้นตาย = พบการระบาด 5.ไรสี่ขามะพร้าวสำรวจมะพร้าวร้อยละ 10 ของจำนวนต้นมะพร้าว หากพบผลมะพร้าวถูกทำลาย = พบการระบาด ที่มา : สำนักงานเกษตรอำเภอเมืองกำแพงเพชร
หนอนหัวดำในมะพร้าวและพืชตระกูลปาล์ม
เตือนเกษตรกรในพื้นที่จังหวัดชลบุรี เฝ้าระวังการระบาดของหนอนหัวดำในมะพร้าวและพืชตระกูลปาล์ม เตือนเกษตรกรเฝ้าระวังการเข้าทำลายของหนอนหัวดำในมะพร้าว/ปาล์มน้ำมัน สามารถพบได้ทั้งในระยะที่ยังไม่ให้ผลผลิตและให้ผลผลิตแล้ว จะพบตัวหนอนเข้าทำลายแทะกินผิวใต้ทางใบ จากนั้นตัวหนอนจะถักใยโดบใช้มูลที่ถ่ายออกมาผสมเส้นใยที่สร้างขึ้นมาทำอุโมงค์คลุมลำตัวยาวตามใต้ทางใบ ตัวหนอนจะอาศัยอยู่ภายในอุโมงค์ที่สร้างขึ้นและแทะกินผิวใบแก่ การป้องกันกำจัด 1.ตัดใบที่มีหนอนหัวดำลงทำลาย นำลงมาเผาหรือฝังทำลาย 2.การพ่นด้วยชีวภัณฑ์ “บีที” ซึ่งเป็นจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ใช้ในการควบคุมหนอนผีเสื้อศัตรูพืช อัตรา 100 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร ผสมด้วยสารจับใบ 5 มิลลิลิตร ฉีดพ่นต้นละ 3- 5 ลิตร ให้ทั่วทรงพุ่ม จำนวน 3 ครั้ง ห่างกัน 7-10 วัน (ไม่ควรฉีดพ่นในขณะที่มีแสงแดดจัด) 3.การใช้แตนเบียนควบคุมหนอนหัวดำ 4.การควบคุมด้วยสารเคมี โดยวิธีฉีดเข้าลำต้นมะพร้าวที่มีความสูงมากกว่า 12 เมตร ใช้สารอีมาเมกตินเบนโซเอต 1.92% EC ฉีดเข้าลำต้น ในอัตรา 30 มิลลิลิตรต่อต้น (วิธีนี้ห้ามใช้กับมะพร้าวที่สูงน้อยกว่า 12 เมตร มะพร้าวน้ำหอม มะพร้าวก
ด้วงงวงมะพร้าว
ด้วงงวงมะพร้าว ชื่อวิทยาศาสตร์ : Rhynchophorus ferrugineus การเข้าทำลายมักพบการเข้าทำลายตามรอยทำลายของด้วงแรดมะพร้าว โดยด้วงงวงมะพร้าว จะวางไข่บนแผลบริเวณลำต้น หรือบริเวณยอดต้นมะพร้าวที่ด้วงแรดเจาะทำลายไว้ หากถูกด้วงงวงมะพร้าวเข้าทำลายจำนวนมาก มะพร้าวจะมีอาการยอดอ่อนเหี่ยวแห้ง ใบเหลืองหักพับ บางครั้งพบการเข้าทำลายที่โคนลำต้น ทำให้ต้นตาย การป้องกันกำจัด วิธีเขตกรรมทำความสะอาดบริเวณสวนมะพร้าว เพื่อกำจัดแหล่งขยายพันธุ์ของด้วงแรด หากพบหนอนหรือดักแด้ด้วงงวงมะพร้าวให้จับมาทำลาย วีธีกลใช้เหล็กยาวปลายเป็นตะขอแทงเข้าไปในต้นเพื่อเกี่ยวตัวหนอนออกมาทำลาย และทาบริเวณรอยแผลด้วยสารทาร์ (เป็นส่วนผสมของน้ำมันเครื่อง 1 ลิตรผสมกับกำมะถันผง 100 กรัม คนให้เข้ากัน) เพื่อป้ิงกันไม่ให้ด้วงงวงมะพร้าวเข้าทำลายซ้ำรอยแผลที่เกิดจากการตัดทางใบ หรือรอยแตกที่โคนลำต้น ควรใช้สารทาร์ทาเพื่อป้องกันการวางไข่ ชีววิธีใช้เชื้อราเขียวเมตาไรเซียม ใส่ไว้บริเวณกองปุ๋ยคอก หรือท่อนมะพร้าวที่มีหนอนด้วงแรดมะพร้าวอาศัยอยู่ การใช้สารเคมีใช้สารไดอะซินอน 60% EC หรือสารฟิริมิฟอสเมทิล 50% EC อัตรา 80 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร ราดบริเวณคอมะ
เรื่องเล่าเช้าวันจันทร์ “การฟื้นฟูแปลงผัก พืชสมุนไพร ยางพารา และสวนมะพร้าวหลังน้ำลด”
ชวนอ่านเรื่องราวของ “การฟิ้นฟูแปลงผัก พืชสมุนไพร ยางพารา และสวนมะพร้าวหลังน้ำลด”รู้ก่อน เข้าใจก่อน กับ 4 เอกสารแนะนำดังนี้ การฟื้นฟูแปลงผักหลังน้ำลดคลิกอ่าน : https://bit.ly/48HwaaH การฟื้นฟูพืชสมุนไพรหลังน้ำลดคลิกอ่าน : https://bit.ly/3U4phvu การฟื้นฟูสวนยางพาราหลังน้ำลดคลิกอ่าน : https://bit.ly/42336ry การฟื้นฟูมะพร้าวหลังน้ำลดคลิกอ่าน : https://bit.ly/3T5S6q4 เรียบเรียง : สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 5 จังหวัดสงขลา กรมส่งเสริมการเกษตร
การฟื้นฟูมะพร้าวหลังน้ำลด
การฟื้นฟูมะพร้าวหลังน้ำลด ถูกน้ำท่วม 7-14 วัน ไม่เกิดความเสียหาย รอดินแห้ง ดูแลตามปกติ อาการหลังน้ำลด ประเมิน แก้ไข ฟื้นฟู ข้อสังเกตุ เรียบเรียงโดย : สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 5 จังหวัดสงขลา กรมส่งเสริมการเกษตร