การขออนุญาตขนย้ายต้นพันธุ์ ท่อนพันธุ์ มันสำปะหลัง
การขออนุญาตขนย้ายต้นพันธุ์ ท่อนพันธุ์ มันสำปะหลัง เจ้าหน้าที่เก็บสำเนาใบอนุญาตทั้ง 2 ส่วน และดำเนินการต่อ เอกสารเพิ่มเติม : https://www.opsmoac.go.th/kanchanaburi-news-files-432791791112 ที่มา : สำนักงานเกษตรอำเภอเมืองกำแพงเพชร
เกณฑ์การประเมินพื้นที่ระบาดศัตรูพืชในพืชเศรษฐกิจสำคัญ (มันสำปะหลัง)
เกณฑ์การประเมินพื้นที่ระบาดศัตรูพืชในพืชเศรษฐกิจสำคัญ (มันสำปะหลัง) 1.โรคใบด่างมันสำปะหลัง กรณี พบต้นมันสำปะหลัง แสดงอาการโรคใบด่างมันสำปะหลัง กระจายทั่วแปลง ให้ถือว่าพื้นที่ระบาดเท่ากับพื้นที่ปลูก กรณี พบต้นมันสำปะหลัง แสดงอาการโรคใบด่างมันสำปะหลัง เป็นหย่อมหรือบริเวณมุมใดมุมหนึ่งของแปลงให้แบ่งขอบเขตแปลงในบริเวณที่เป็นโรค ในรัศมี 20 เมตร จากจุดที่เป็นโรค แล้วจึงคิดเป็นสัดส่วนเทียบกับพื้นที่ปลูก 2.เพลี้ยแป้งมันสำปะหลังให้สำรวจอย่างน้อย 10 จุดสำรวจ จุดละ 1 ต้น ทั่วแปลงพื้นที่ระบาด = พบเพลี้ยแป้ง 3 จุดขึ้นไปพื้นที่เฝ้าระวัง = พบเพลี้ยแป้ง 1-2 จุด ที่มา : สำนักงานเกษตรอำเภอเมืองกำแพงเพชร
โรคโคนเน่า-รากเน่าในมันสำปะหลัง
โรคโคนเน่า-รากเน่าในมันสำปะหลัง เกิดจากเชื้อราไฟทอปธอรา (Phythopthora meadii) เป็นเชื้อราในดินมันสำปะหลังจะแสดงอาการตั้งแต่อายุ 3 เดือนขึ้นไป โดยเชื้อจะเข้าสู่โคนต้นก่อน ทำให้เกิดอาการบวมพองและมีปุ่มรากที่โคนต้นเหนือผิวดิน จากนั้นเชื้อจะลามลงไปที่รากและก้านขั้วหัวมันส่วนอาการเหนือดิน สังเกตได้จากใบเริ่มซีดเหลือง จากนั้นใบล่างเริ่มแสดงอาการเหี่ยวและแห้งคาต้น เมื่อถอนต้นรากและหัวเน่า แต่ลำต้นยังเป็นปกติ หากเกาตรกรตัดต้นไปขายเป็นท่อนพันธุ์ จะทำให้เชื้อสามารถแพร่ขยายได้ในวงกว้าง การป้องกันกำจัด ในกรณีที่พบการระบาดของโรครุนแรง ควรปฏิบัติดังนี้ จัดทำโดย : สำนักงานเกษตรจังหวัดชัยนาท
หนอนกระทู้ไร่มันสำปะหลัง
ระวัง หนอนกระทู้ไร่มันสำปะหลัง สภาพอากาศในช่วงนี้มีฝนตก และฝนตกหนักบางพื้นที่ เตือนผู้ปลูกมันสำปะหลัง ใน ทุกระยะ การเจริญเติบโต รับมือหนอนกระทู้ โดยหนอนระยะแรกเข้าทำลายเป็นกลุ่ม ในระยะต่อมาจะทำลายรุนแรงมากขึ้น เนื่องจากเป็นหนอนที่มีขนาดใหญ่ สามารถกัดกินใบ ก้าน แนวทางป้องกัน/แก้ไข ๑. หมั่นสำรวจแปลงปลูก ตั้งแต่เริ่มงอก หากพบกลุ่มไข่และตัวหนอนทำการเก็บทำลายทันที๒. ปล่อยแมลงศัตรูธรรมชาติ เช่น แตนเบียนไตรโคแกรมม่า แมลงหางหนีบ มวนพิฆาต เป็นต้น๓. ใช้สารชีวภัณฑ์ พ่นด้วยเชื้อแบคทีเรียบาซิลลัส ทูริงเยนซิส ตามคำแนะนำของกรมวิชาการเกษตร โดยเฉพาะหนอนระยะแรกๆ ควรพ่นสารชีวภัณฑ์ในช่วงเย็น จะเกิดประสิทธิภาพสูงสุด๔. หากพบการระบาดรุนแรงใช้สารเคมีป้องกันกำจัดแมลงตามคำแนะนำ การป้องกันกำจัดโดยวิธีใช้สารเคมี สารที่แนะนำในการป้องกันกำจัด IRAC กลุ่ม ๕๑. สารสไปนีโทแรม ๑๒% เอสซี อัตรา ๒๐ มิลลิลิตรต่อน้ำ ๒๐ ลิตร๒. สารสไปนีโทแรม ๒๕% ดับเบิ้ลยูจี อัตรา ๑๐ กรัมต่อน้ำ ๒๐ ลิตร IRAC กลุ่ม ๖๑. สารอีมาเมกตินเบนโซเอต ๑.๙๒% อีซี อัตรา ๒๐ มิลลิลิตรต่อน้ำ ๒๐ ลิตร๒. สารอีมาเมกตินเบนโซเอต ๕% ดับเบิ้ลยูจี อัตรา ๑๐ กรัมต่อน้ำ ๒๐
ด้วงกัดใบบุกไร่มันสำปะหลัง!
ด้วงกัดใบบุกไร่มันสำปะหลัง! เตือนเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังทุกพื้นที่ ดำเนินการ ดังนี้ 1.ให้เกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังสำรวจแปลงปลูกของตน 2.สังเกตลักษณะการทำลายของด้วงกัดใบคือ ใบเว้า ๆ แหว่ง ๆ มีมูลด้วงบริเวณยอดของต้นมันสำปะหลัง และตัวด้วงมักอาศัยอยู่เป็นคู่ๆ หรือรวมกันเป็นกลุ่มบนลำต้น 3.ป้องกันกำจัดด้วยวิธีเขตกรรม คือ เก็บด้วงไปทำลาย 4. พ่นสารฆ่าแมลง คาร์บาริล 85% ดับเบิ้ลยูพี (สารกลุ่ม1a) อัตรา 60 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตรหรือ ฟิโพรนิล 5%sc (กลุ่ม2b) อัตรา 80 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร ที่มา : https://www.facebook.com/pr.doae/posts/pfbid02z8V7AsU2psmjaM8gNv6AWu3YepqmrbmwGahd56qqgwzXS3SQ2SvAXjmYbntuqzp9l