ศูนย์วิทยบริการเพื่อส่งเสริมการเกษตร

10

เรื่องล่าสุด

สเปรย์ไล่ยุง

สเปรย์ไล่ยุง ส่วนประกอบ วิธีทำ ในสมุนไพรมีสารสำคัญ คือน้ำมันหอมระเหยที่มีกลิ่นเฉพาะ ซึ่งเป็นกลิ่นที่ยุงไม่ชอบ ที่มา : ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรจังหวัดจันทบุรี

โครงการพัฒนาเกษตรกรรุ่นใหม่ให้เป็น YOUNG SMART FARMER ปี 2568 สำนักงานเกษตรอำเภอตะพานหิน ประชาสัมพันธ์การรับสมัครบุคคลที่มีอายุระหว่าง 17-45 ปี ประกอบอาชีพทางการเกษตรเข้าร่วมโครงการพัฒนาเกษตรกรรุ่นใหม่ Young Smart Farmer ประจำปี 2568 ตั้งแต่วันนี้ ถึง 30 พฤศจิกายน 2567 ได้ที่สำนักงานเกษตรอำเภอตะพานหิน

สาเหตุอาการผิดปกติของพืช สิ่งมีชีวิต ข้อสังเกต : เกิดแบบสุ่ม/กระจายตัว มีการระบาดไปสู่ต้นอื่น พบแมลง ร่องรอย มูล กลิ่น สิ่งไม่มีชีวิต ข้อสังเกต : มักเกิดบริเวณเดียว/มีขอบเขต ไม่มีการระบาดไปสู่ต้นอื่น สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : สำนักงานเกษตรจังหวัดชัยนาท

ห้องสมุดกรมส่งเสริมการเกษตร แนะนำนิตยสาร เดือนกันยายน 2567 สามารถเข้ามารับบริการการอ่านได้ที่ ห้องสมุดกรมส่งเสริมการเกษตร อาคารส่งเสริมการเกษตรเบญจสิริกิติ์ ชั้น 5 (ห้องสมุดกรมส่งเสริมการเกษตร) สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : โทรศัพท์ 0-2579-2594 โทรสาร 0-2579-5517 สืบค้นข้อมูลเรื่องอื่น ๆ เพิ่มเติมได้ที่ : http://library.doae.go.th

ห้องสมุดกรมส่งเสริมการเกษตร “แนะนำหนังสือใหม่ เดือนกันยายน 2567“ เกษตรกรรมในสยาม บทวิเคราะห์เชิงประวัติศาสตร์เศรษฐกิจของราชอาณาจักรสยามงานอย่างไร (ต่อต้าน) คอร์รัปชัน 101 ทฤษฎีและเทคนิคการปรับพฤติกรรม กล้วยไม้ ORCHIDS Farm House สวนเกษตรในบ้าน สามารถเข้ามารับบริการการอ่านได้ที่ ห้องสมุดกรมส่งเสริมการเกษตร อาคารส่งเสริมการเกษตรเบญจสิริกิติ์ ชั้น 5 (ห้องสมุดกรมส่งเสริมการเกษตร) สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

วันที่ 26 กันยายน 2567 สโมสรโรตารีแก่นจันทน์ จังหวัดราชบุรี ขอรับสื่อเอกสารคำแนะนำและแผ่นพับ จำนวน 84 เล่ม/แผ่น สำหรับมอบหนังสือให้กับห้องสมุดเฉลิมราชกุมารี อ.เมืองจังหวัดราชบุรี เนื่องในเดือนเเห่งการศึกษาขั้นพื้นฐานเเละการรู้หนังสือ (Basic Education and Literacy Month)

หลังจากเกษตรกรประสบปัญหาน้ำท่วมอย่างหนักหน่วง เมื่อถึงคราวน้ำลดอาจเกิดปัญหาเรื่องดินตามมา วันนี้กรมส่งเสริมการเกษตร ขอนำเสนอวิธีการจัดการดินหลังน้ำท่วม เพื่อให้เกษตรกรสามารถนำข้อมูลไปปรับใช้ในการฟื้นฟูสภาพดิน ดูแลสวนไม้ผล และแปลงผักได้อย่างถูกวิธี คลิกอ่านด้านล่างเลย

เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล (ฺBrown Planthopper) ลักษณะการทำลายระยะกล้า ระยะแตกกอ ระยะออกรวง ตั้งแต่ตัวอ่อนจนถึงตัวเต็มวัย สามารถทำลายต้นข้าวได้อย่างรุนแรง โดยการดูดกินน้ำเลี้ยงจากต้นข้าว ทำให้ต้นข้าวมีอาการใบเหลือง เหี่ยวแล้ว แห้งเป็นสีน้ำตาลแก่คล้ายน้ำร้อนลวกที่เรียกว่า hopper burn ต้นกล้า และต้นข้าวที่กำลังแตกกอที่ถูกทำลายจะแห้งตาย ต้นข้าวที่ออกรวงแล้วจะมีเมล็ดไม่สมบูรณ์ และมีน้ำหนักเบา ล้มง่าย เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลพบมากในพันธุ์ข้าวที่ต้นเตี้ยและแตกกอมาก เนื่องจากมีจำนวนต้นข้าวให้แมลงดูดกินมาก และจะระบาดรุนแรงในระหว่างเดือนที่มีอากาศร้อน

โรคใบจุดและเน่าเละ สาเหตุจากเชื้อรา : Cercospora lactucae-sativae ลักษณะการทำลายทำลายผลผลิตผักสลัดทุกระยะการเจริญเติบโต โดยเฉพาะผักที่มีใบกว้าง เช่น กรีนคอส บัตเตอร์เฮด โดยเริ่มแรกแผลมีลักษณะเป็นจุดฉ่ำน้ำ สีน้ำตาลอ่อน ต่อมาแผลขยายใหญ่มีลักษณะกลมหรือค่อนข้างกลม เรียงซ้อนกันเป็นชั้น กลางแผลมีสีเทาหรือสีขาว ขอบแผลมีสีน้ำตาล ลักษณะคล้ายตากบ แผลมีหลายขนาดตั้งแต่จุดเล็กถึงจุดใหญ่ ขนาด 1-10 มิลลิเมตร เกิดกระจายทั่วใบ

โรคโคนเน่า-รากเน่าในมันสำปะหลัง

โรคโคนเน่า-รากเน่าในมันสำปะหลัง

โรคโคนเน่า-รากเน่าในมันสำปะหลัง เกิดจากเชื้อราไฟทอปธอรา (Phythopthora meadii) เป็นเชื้อราในดินมันสำปะหลังจะแสดงอาการตั้งแต่อายุ 3 เดือนขึ้นไป โดยเชื้อจะเข้าสู่โคนต้นก่อน ทำให้เกิดอาการบวมพองและมีปุ่มรากที่โคนต้นเหนือผิวดิน จากนั้นเชื้อจะลามลงไปที่รากและก้านขั้วหัวมันส่วนอาการเหนือดิน สังเกตได้จากใบเริ่มซีดเหลือง จากนั้นใบล่างเริ่มแสดงอาการเหี่ยวและแห้งคาต้น เมื่อถอนต้นรากและหัวเน่า แต่ลำต้นยังเป็นปกติ หากเกาตรกรตัดต้นไปขายเป็นท่อนพันธุ์ จะทำให้เชื้อสามารถแพร่ขยายได้ในวงกว้าง การป้องกันกำจัด ในกรณีที่พบการระบาดของโรครุนแรง ควรปฏิบัติดังนี้ จัดทำโดย : สำนักงานเกษตรจังหวัดชัยนาท

หนอนกระทู้ไร่มันสำปะหลัง

หนอนกระทู้ไร่มันสำปะหลัง

ระวัง หนอนกระทู้ไร่มันสำปะหลัง สภาพอากาศในช่วงนี้มีฝนตก และฝนตกหนักบางพื้นที่ เตือนผู้ปลูกมันสำปะหลัง ใน ทุกระยะ การเจริญเติบโต รับมือหนอนกระทู้ โดยหนอนระยะแรกเข้าทำลายเป็นกลุ่ม ในระยะต่อมาจะทำลายรุนแรงมากขึ้น เนื่องจากเป็นหนอนที่มีขนาดใหญ่ สามารถกัดกินใบ ก้าน แนวทางป้องกัน/แก้ไข ๑. หมั่นสำรวจแปลงปลูก ตั้งแต่เริ่มงอก หากพบกลุ่มไข่และตัวหนอนทำการเก็บทำลายทันที๒. ปล่อยแมลงศัตรูธรรมชาติ เช่น แตนเบียนไตรโคแกรมม่า แมลงหางหนีบ มวนพิฆาต เป็นต้น๓. ใช้สารชีวภัณฑ์ พ่นด้วยเชื้อแบคทีเรียบาซิลลัส ทูริงเยนซิส ตามคำแนะนำของกรมวิชาการเกษตร โดยเฉพาะหนอนระยะแรกๆ ควรพ่นสารชีวภัณฑ์ในช่วงเย็น จะเกิดประสิทธิภาพสูงสุด๔. หากพบการระบาดรุนแรงใช้สารเคมีป้องกันกำจัดแมลงตามคำแนะนำ การป้องกันกำจัดโดยวิธีใช้สารเคมี สารที่แนะนำในการป้องกันกำจัด IRAC กลุ่ม ๕๑. สารสไปนีโทแรม ๑๒% เอสซี อัตรา ๒๐ มิลลิลิตรต่อน้ำ ๒๐ ลิตร๒. สารสไปนีโทแรม ๒๕% ดับเบิ้ลยูจี อัตรา ๑๐ กรัมต่อน้ำ ๒๐ ลิตร IRAC กลุ่ม ๖๑. สารอีมาเมกตินเบนโซเอต ๑.๙๒% อีซี อัตรา ๒๐ มิลลิลิตรต่อน้ำ ๒๐ ลิตร๒. สารอีมาเมกตินเบนโซเอต ๕% ดับเบิ้ลยูจี อัตรา ๑๐ กรัมต่อน้ำ ๒๐

ด้วงกัดใบบุกไร่มันสำปะหลัง!

ด้วงกัดใบบุกไร่มันสำปะหลัง!

ด้วงกัดใบบุกไร่มันสำปะหลัง! เตือนเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังทุกพื้นที่ ดำเนินการ ดังนี้ 1.ให้เกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังสำรวจแปลงปลูกของตน 2.สังเกตลักษณะการทำลายของด้วงกัดใบคือ ใบเว้า ๆ แหว่ง ๆ มีมูลด้วงบริเวณยอดของต้นมันสำปะหลัง และตัวด้วงมักอาศัยอยู่เป็นคู่ๆ หรือรวมกันเป็นกลุ่มบนลำต้น 3.ป้องกันกำจัดด้วยวิธีเขตกรรม คือ เก็บด้วงไปทำลาย 4. พ่นสารฆ่าแมลง คาร์บาริล 85% ดับเบิ้ลยูพี (สารกลุ่ม1a) อัตรา 60 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตรหรือ ฟิโพรนิล 5%sc (กลุ่ม2b) อัตรา 80 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร ที่มา : https://www.facebook.com/pr.doae/posts/pfbid02z8V7AsU2psmjaM8gNv6AWu3YepqmrbmwGahd56qqgwzXS3SQ2SvAXjmYbntuqzp9l

เรื่องเล่าเช้าวันจันทร์ ชวนทำความรู้จักกับ “มันสำปะหลัง” และ “ศัตรูของมันสำปะหลัง”

เรื่องเล่าเช้าวันจันทร์ ชวนทำความรู้จักกับ "มันสำปะหลัง" และ "ศัตรูของมันสำปะหลัง"

ชวนอ่านเรื่องราวของ “มันสำปะหลัง” และ “ศัตรูของมันสำปะหลัง” เนื่องจากช่วงนี้มีการระบาดในหลายพื้นที่ เกษตรกรจึงจำเป็นต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ 1.คำแนะนำการป้องกันกำจัด หนอนกระทู้…ในมันสำปะหลังคลิกอ่าน : https://bit.ly/4ccGaL22.การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตมันสำปะหลังคลิกอ่าน : https://bit.ly/44kBVbU3.ศัตรูมันสำปะหลังและการจัดการคลิกอ่าน : https://bit.ly/3uG8XqJ4.ศัตรูธรรมชาติในแปลงมันสำปะหลังคลิกอ่าน : https://bit.ly/3J70pMW

อาการขาดแมกนีเซียมในมันสำปะหลัง

อาการขาดแมกนีเซียมในมันสำปะหลัง

แมกนีเซียม (Mg) เป็นองค์ประกอบของส่วนที่เป็นสีเขียวของพืช (คลอโรฟิลล์) ซึ่งทำหน้าที่ในการสังเคราะห์แสง ส่งเสริมการดูดกินและนำพาฟอสฟอรัสขึ้นสู่ลำต้น ช่วยสังเคราะห์กรดอะมิโน วิตามิน ไขมัน มีส่วนช่วยในการสร้างน้ำมันเมื่ออยู่ร่วมกับกำมะถัน นอกจากนี้ยังทำหน้าที่หลายอย่างซึ่งมีความสำคัญต่อการหายใจของเซลล์พืช เมื่อพืชขาดแมกนีเชียม ใบแก่ (ใบล่าง) เปลี่ยนเป็นสีเหลือง แต่เส้นใบสีเขียวชัดเจนบนใบสีเหลืองคล้าย “ก้างปลา” อาการนี้เรียกว่า “ใบเหลืองระหว่างเส้นใบ” หรือ “คลอโรซีส” (chlorosis) อาการใบเหลือง จะเริ่มที่ใบแก่ที่สุดก่อนแล้วทยอยเหลืองขึ้นไปลำต้นส่วนบน แต่ใบบนจะไม่แสดงอาการนี้ ความสูงของต้นมักจะไม่ลดลงและใบจะไม่ผิดรูปร่าง การขาดแมกนีเซียม ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นในดินที่เป็นกรดจัดต่อมา เมื่อขาดแมกนีเซียมอย่างต่อเนื่อง ใบเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลและแห้งตายในที่สุด ใบที่แตกออกมาใหม่จะมีขนาดเล็ก ขอบใบงอเข้าหากันและเปราะง่าย ง่ายต่อการเข้าทำลายของศัตรูพืช จากการสำรวจพื้นที่ ยังพบอาการขาดธาตุแมกนีเซียม โดยเกษตรกรแจ้งมาว่าพบอาการใบด่างสีเหลืองเขียว กลัวว่าจะเป็นโรคใบด่างมันสำปะหลัง จากการลงพื้นที่พบว่า อาการใบ