ศูนย์วิทยบริการเพื่อส่งเสริมการเกษตร

10

เรื่องล่าสุด

เทคนิคการจัดการน้ำแบบเปียกสลับแห้งในนาข้าว การทำนาเปียกสลับแห้ง คือ การทำนาโดยควบคุมระดับน้ำในแปลงนาให้มีช่วงน้ำขัง กับช่วงน้ำแห้งสลับกันในช่วงเวลาที่เหมาะสม เพื่อกระตุ้นให้รากและลำต้นของต้นข้าวแข็งแรงขึ้น เนื่องจากดินและรากได้รับอากาศพอ ก็สามารถดูดปุ๋ยได้ดีขึ้น ทำให้ลดการใช้ปุ๋ย 1.การเตรียมดิน ปรับพื้นที่ให้เรียบสม่ำเสมอและสามารถจัดระบบน้ำได้ 2.การติดตั้งท่อพีวีซี (PVC) เพื่อดูระดับน้ำ เตรียมท่อพีวีซี ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 4 นิ้ว ยาว 25 ซม. เจาะรูห่างกัน

เพลี้ยหอยเกล็ด

เพลี้ยหอยเกล็ด พบการระบาดในแปลงมันสำปะหลังที่ใกล้เก็บเกี่ยว หรือพบในต้นมันสำปะหลังที่กองสุมไว้ทำพันธุ์ โดยเพลี้ยหอยเกล็ดมีลักษณะเกล็ดสีขาวนูน ขึ้นปกคลุมเกือบทุกส่วนของมันสำปะหลัง ทั้งส่วนยอด ลำต้น กิ่ง เหง้า และหัว กรณีที่มีการปลูกมันสำปะหลังที่มีเพลี้ยหอยเกล็ดติดไปกับท่อนพันธุ์ การระบาดจะมีความรุนแรงและรวดเร็ว ทำให้ผลผลิตเสียหายถึง 20% ส่วนลักษณะการทำลาย เพลี้ยหอยเกล็ดจะดูดกินน้ำเลี้ยงจากพืช ทำให้ใบเหลืองและร่วง แคระแกร็น หากมีเพลี้ยหอยเกล็ดปกคลุมทั้งลำต้น ทำให้ลำต้นแห้งตาย การแพร่ระบาดติดไปกับท่อนพันธุ์ และเกษตรกรที่ปฏิบัติงานในแปลงที่มีการระบาดและเครื่องมือทางการเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตรแนะนำวิธีการป้องกันกำจัด

เพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง ที่พบในมันสำปะหลังมี 4 ชนิด คือ เพลี้ยแป้งลาย เพลี้ยแป้งแจ็คเบียส เพลี้ยแป้งมันสำปะหลังสีเขียว และเพลี้ยแป้งมันสำปะหลังสีชมพู สำหรับเพลี้ยแป้งที่ทำความเสียหายให้กับมันสำปะหลังอย่างรุนแรงคือ เพลี้ยแป้งมันสำปะหลังสีชมพู ซึ่งเป็นแมลงศัตรูต่างถิ่น ลักษณะการทำลายเพลี้ยแป้งจะดูดกินน้ำเลี้ยงตามส่วนต่าง ๆ เช่น ใบ ยอด และตา ส่งผลต่อคุณภาพท่อนพันธุ์ หัวมีขนาดเล็ก เปอร์เซ็นต์แป้งต่ำ หากการระบาดรุนแรงยอดจะแห้งตาย ถ้ามีระบาดในช่วงที่มันสำปะหลังอายุน้อย

โรคพุ่มแจ้มันสำปะหลัง สาเหตุของโรคเกิดจากเชื้อไฟโตพลาสมา มีเพลี้ยจักจั่นเป็นพาหะ และต้นสาบม่วงเป็นพืชอาศัยของโรคพุ่มแจ้ ลักษณะอาการคล้ายกับการทำลายของเพลี้ยแป้ง โดยเชื้อไฟโตพลาสมาจะทำให้ท่อลำเลียงอาหารอุดตัน ทำให้ส่วนยอดแคระแกร็น มีการแตกตาข้างมาก ยอดเป็นพุ่ม ใบเล็กลงสีเหลืองซีด และมีใบแห้งติดกิ่งหรือร่วงหล่น ใบที่เป็นโรคจะเริ่มแห้งตายจากใบล่างขึ้นไปถึงที่ปลายยอด ต่อมากิ่งก้านจะแห้งตายจากยอด ลำต้นแคระแกร็น ข้อปล้องสั้น และใบมีขนาดเล็กลง ในระยะเก็บเกี่ยว หากเชื้อลุกลามลงไปที่หัวมันสำปะหลังจะทำให้หัวมีเส้นสีน้ำตาลดำตามแนวยาวใต้เปลือก คุณภาพผลผลิตลดลง และเปอร์เซ็นต์แป้งต่ำ ถ้าพบการระบาดรุนแรงมันสำปะหลังอาจยืนต้นตายได้ กรมส่งเสริมการเกษตรแนะนำวิธีการป้องกันกำจัด ดังนี้

โรคใบด่างมันสำปะหลัง สาเหตุของโรคเกิดจากเชื้อไวรัส Sri Lankan Cassava mosaic virus (SLCMV) มีแมลงหวี่ขาวยาสูบเป็นพาหะ ลักษณะอาการของโรค ส่วนของยอดอ่อนหรือยอดที่เกิดใหม่จะแสดงอาการด่างเขียวอ่อนหรือเหลืองสลับเขียวเข้ม มีขนาดเรียวเล็ก หงิกงอ และเสียรูปทรง อาการบนใบส่วนที่ถัดลงมาจากยอดหรือใบแก่จะพบอาการด่างเขียวอ่อนหรือเหลืองสลับเขียวเข้ม หงิกงอ และเสียรูปทรง ความเสียหายจากโรคจะทำให้มันสำปะหลังไม่สร้างหัวสะสมอาหารหรือหัวมีขนาดเล็ก ซึ่งอาจทำให้ผลผลิตลดลง กรมส่งเสริมการเกษตรแนะนำวิธีการป้องกันกำจัด ดังนี้ 1) ปลูกมันสำปะหลังที่ปลอดโรค

แมลงดำหนามข้าว (Rice hispa) ชื่อวิทยาศาสตร์ : Dicladispa armigera (olivier) วงจรชีวิต รูปร่างลักษณะ ระยะตัวเต็มวัยเป็นด้วงปีกแข็งชนิดหนึ่ง มีหนามแข็งแหลมแปกคลุมตัว ลำตัวยาว 5-6 มม. เพศเมียวางไข่เป็นฟองเดี่ยว ๆ ประมาณ 50 ฟอง ใกล้ปลายใบอ่อน ระยะตัวเต็มวัย

ไถกลบตอซัง

ไถกลบตอซัง ปรับโครงสร้างดิน ลดการเผา ลดหมอกควัน การเผาตอซังการเผาตอซังมีผลกระทบอย่างมากต่อการทำลายโครงสร้างของดิน จุลินทรีย์ และสิ่งมีชีวิตที่เป็นประโยชน์ในดิน เนื่องจากความร้อนจากการเผาตอซังก่อให้เกิดผลเสียต่อทรัพยากร โดยทำให้โครงสร้างของดินเปลี่ยนแปลงไป สูญเสียอินทรียวัตถุและธาตุอาหารในดิน ทำลายจุลินทรีย์และแมลงที่เป็นประโยชน์ในดิน สูญเสียน้ำในดิน และทำให้เกิดฝุ่นละออง เถ้าเขม่า และก๊าซหลายชนิด และทำให้เกิดมลพิษและเป็นอันตรายต่อสุขภาพ การใช้น้ำหมักชีวภาพที่ผลิตจากสารเร่งซุปเปอร์ พด.2 ช่วยย่อยสลายตอซังสารเร่งซุปเปอร์ พด.2 เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่เพิ่มประสิทธิภาพการย่อยโปรตีน ไขมัน

การเก็บเมล็ดพันธุ์จุดเริ่มต้นการสร้างความมั่นคงทางด้านอาหาร ลดความเสี่ยงจากการขาดแคลนอาหารและเมล็ดพันธุ์เมื่อเกิดวิกฤตต่าง ๆ ประเภทของเมล็ดพันธุ์ที่เก็บได้ในครัวเรือน ตัวอย่างการเก็บเมล็ดพันธุ์ ถั่วต่าง ๆเก็บฝักแก่สีน้ำตาล ผึ่งลมในที่ร่มให้แห้ง นำเมล็ดออกทำความสะอาด เก็บในภาชนะปิดสนิท พริกเก็บผลสุกแก่ นำเมล็ดออกทำความสะอาด ผึ่งลมในที่ร่มให้แห้ง เก็บในภาชนะปิดสนิท บวบเก็บผลแก่จัดแห้ง นำเมล็ดออกทำความสะอาด ผึ่งลมในที่ร่มให้แห้ง เก็บในภาชนะปิดสนิท ที่มา : สำนักงานเกษตรอำเภอคลองหาด จังหวัดสระแก้ว

การใช้สารเคมีป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืชของลำไย ผีเสื้อมวนหวานใช้เหยื่อพิษล่อตัวเต็มวัย โดยใช้ผลไม้สุกมีกลิ่นหอม เช่น กล้วย สับปะรด มะละกอ หรือลูกตาลสุก ตัดเป็นชิ้นหนาประมาณ 1 นิ้ว แล้วจุ่มในสารฆ่าแมลงคาร์บาริล 85% WP อัตรา 2 กรัม ต่อน้ำ 1 ลิตร แช่ทิ้งไว้ประมาณ 5

ราแป้งราดำมะม่วง เกิดจากเชื้อรา Oidium mangiferae พบอาการที่ช่อดอก พบเป็นผงสีขาวคล้ายแป้ง ขึ้นฟูตามก้านช่อดอก ทำให้ดอกมีลักษณะช้ำเป็นสีน้ำตาลอ่อนต่อมาเปลี่ยนเป็นสีดำ แห้งและหลุดร่วงหากติดผลจะทำให้ผลที่ได้ไม่สมบูรณ์มีขนาดเล็กและหลุดร่วงจากขั้วได้ง่าย ส่วนอาการที่ใบจะพบจุดแผลสีเหลือง จะพบเชื้อราเป้นผงสีขาวคล้ายแป้งขึ้นปกคลุมผิวใบ อาการรุนแรงจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเทา และใบบิดเบี้ยวผิดรูป แนวทางการป้องกัน โรคราดำ เกิดจากเชื้อรา Capnodium sp. และ Mesiola sp. พบคราบราสีดำตามส่วนของลำต้น

39. หนอนเจาะเมล็ดทุเรียน

39. หนอนเจาะเมล็ดทุเรียน

หนอนเจาะเมล็ดทุเรียน ภัยร้ายที่เกษตรกรต้องงระวัง!!! วันนี้เรา จะพาทุกท่านมารู้จักกับเจ้าหนอนตัวร้ายที่ทั่วโลกคุมเข้ม พร้อมแนะวิธีรับมือป้องกัน อ่านครบจบในโพสต์นี้

ปลวกในไร่อ้อย

ปลวกในไร่อ้อย

ปลวกในไร่อ้อย ปลวกเป็นแมลงที่เข้าทำลายอ้อยได้ทุกระยะการเจริญเติบโต เริ่มเข้าทำลายตั้งแต่ท่อนพันธุ์อ้อยตอนปลูก โดยเข้าไปกัดกินอยู่ภายในท่อนพันธุ์ ทำให้อ้อยไม่งอก และแห้งตายไป เมื่ออ้อยโตมีลำแล้วจะเข้าไปกัดตรงระดับต่ำกว่าผิวดินเล็กน้อยอยู่ภายในลำตันอ้อย ทำเป็นต้นอ้อยเป็นโพรงสูงขึ้นไปเรื่อยๆ นานเข้าลำต้นอ้อยจะหักล้มลง การเข้าทำลายของปลวกในแหล่งที่มีการระบาดอยู่เสมอมักทำให้ผลผลิตของอ้อยลดลงถึงครึ่งหนึ่ง การระบาดเข้าทำลายอ้อยรุนแรงยิ่งขึ้นเมื่อเกิดภาวะแห้งแล้งติดต่อกันยาวนาน การป้องกันกำจัด 1. ไถพรวนดินหลายๆ ครั้งก่อนปลูก เพื่อทำลายรังให้พวกมดและนกเข้าช่วยกินปลวก 2. หากพบปลวกจำนวนมากในแปลง ใช้สารเคมี ฟิโปรนิล ( Fipronil ) 5% W/V SCอัตรา 80 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดไปตามร่องอ้อย หลังจากวางท่อนพันธุ์แล้วกลบดิน 3. ในอ้อยตอ ไม่เผาใบอ้อยและใช้ใบอ้อยคลุมแปลง สามารถลดการเข้าทำลายของปลวกลงได้ 4.การใช้รถแทรกเตอร์ดันทำลายจอมปลวกที่พบในบริเวณแปลงอ้อย แล้วราดด้วยสารเคมีตามข้อ 2 ก็จะช่วยลดประชากรปลวกได้เช่นกัน ภาพจาก : กลุ่มอารักขาพืช สำนักงานเกษตรจังหวัดสุโขทัย https://www.facebook.com/permalink.ph

รู้จักศัตรูธรรมชาติ มวนเพชฌฆาต

รู้จักศัตรูธรรมชาติ มวนเพชฌฆาต

รู้จักศัตรูธรรมชาติ มวนเพชฌฆาต จัดทำโดย: ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืช จังหวัดชลบุรีhttps://www.facebook.com/profile.php?id=100066508688430&ref=page_internal มวนเพชฌฆาต เป็นแมลงตัวห้ำอีกชนิดที่สามารถช่วยเรากำจัดหนอนศัตรูพืช มวนเพชฌฆาตกินหนอนโดยใช้ปากที่มีลักษณะคล้ายเข็มแทงเข้าไปในตัวเหยื่อ ปล่อยสารให้เหยื่อเป็นอัมพาต แล้วดูดกินของเหลวจากเหยื่อ

รู้จักศัตรูธรรมชาติ มวนพิฆาต

รู้จักศัตรูธรรมชาติ มวนพิฆาต

รู้จักศัตรูธรรมชาติ มวนพิฆาต จัดทำโดย: ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืช จังหวัดชลบุรีhttps://www.facebook.com/profile.php?id=100066508688430&ref=page_internal มวนพิฆาต แมลงตัวห้ำชนิดปากดูด ทำลายเหยื่อโดยการใช้ปากที่มีลักษณะเป็นแท่ง แทงเข้าไปในตัวหนอนและปล่อยสารทำให้หนอนเป็นอัมพาต จากนั้นจึงดูดกินของเหลวจากตัวหนอน มวนพิฆาตกินหนอนได้หลายชนิด เช่น หนอนผีเสื้อ หนอนด้วง หนอนแมลงวัน

รู้จักศัตรูธรรมชาติ ด้วงเต่าสตีธอรัส

รู้จักศัตรูธรรมชาติ ด้วงเต่าสตีธอรัส

รู้จักศัตรูธรรมชาติ ด้วงเต่าสตีธอรัส จัดทำโดย: ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืช จังหวัดชลบุรีhttps://www.facebook.com/profile.php?id=100066508688430&ref=page_internal ด้วงเต่าสตีธอรัส ด้วงเต่าตัวห้ำขนาดเล็กประมาณ 1-1.5 มิลลิเมตร ลำตัวมีสีดำและปกคลุมด้วยขนขนาดเล็ก ทั้งระยะตัวอ่อนและตัวเต็มวัยตัวเป็นตัวห้ำไรแดง สามารถกินไข่และตัวไรแดงได้หลายร้อยตัว