ศูนย์วิทยบริการเพื่อส่งเสริมการเกษตร

10

เรื่องล่าสุด

ห้องสมุดกรมส่งเสริมการเกษตร แนะนำหนังสือใหม่ เดือนมกราคม 2568 สามารถเข้ามารับบริการการอ่านได้ที่ ห้องสมุดกรมส่งเสริมการเกษตร อาคารส่งเสริมการเกษตรเบญจสิริกิติ์ ชั้น 5 (ห้องสมุดกรมส่งเสริมการเกษตร) สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : โทรศัพท์ 0-2579-2594 โทรสาร 0-2579-5517 สืบค้นข้อมูลเรื่องอื่น ๆ เพิ่มเติมได้ที่ : http://library.doae.go.th

เมื่อวันที่ 14 มกราคม 2568 ศูนย์วิทยบริการเพื่อส่งเสริมการเกษตร ได้ส่งมอบกล่องยูเอสที ให้กับการทางพิเศษแห่งประเทศไทย ในโครงการกล่องวิเศษ ทางพิเศษรักษ์โลก ปีงบประมาณ 2567

มาตรการการดำเนินงานภายใต้การรับมือสถานการณ์ไฟป่า หมอกควัน และฝุ่นละออง ปี 2568 ของกรมส่งเสริมการเกษตร 1.มาตรการสร้างความตระหนักรู้และป้องปราม 2.มาตรการบริหารจัดการเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร 3.มาตรการปรับลดการปลูกพืชเชิงเดี่ยว 4.มาตรการไม่เผาเรารับซื้อ 5.มาตรการไฟจำเป็น 6.การประชาสัมพันธ์และสร้างการรับรู้

วิสาหกิจชุมชนและเครือข่ายวิสาหกิจชุมชน โปรดทราบ กรมส่งเสริมการเกษตร เปิดให้วิสาหกิจชุมชนและเครือข่ายวิสาหกิจชุมชน ต่อทะเบียนได้ตั้งแต่ วันที่ 1 – 30 มกราคมของทุกปี โดยยื่นแบบคำขอดำเนินกิจการต่อของวิสาหกิจชุมชนและเครือข่ายวิสาหกิจชุมชน (สวช.03) ณ สำนักงานเกษตรอำเภอที่จดทะเบียน หรือผ่าผ่านเว็บไซต์ ระบบสารสนเทศวิสาหกิจชุมชน https://smce.doae.go.th เอกสารประกอบการยื่น ดังนี้1. หนังสือสําคัญแสดงการจดทะเบียน (ท.ว.ช.2)2. เอกสารสําคัญแสดงการดําเนินกิจการ (ท.ว.ช.3)3.

กรมส่งเสริมการเกษตร เชิญเที่ยวงาน “Beyond & Journey of Siam Orchids” กิจกรรมส่งเสริมการผลิตและการตลาดกลุ่มสินค้ากล้วยไม้ ไม้ดอกไม้ประดับ กิจกรรมภายในงาน พบกับ

โรคราสนิมในถั่ว สาเหตุ : เกิดจากเชื้อรา Uromyces spp. ลักษณะอาการเป็นโรคที่พบบ่อยที่สุดอีกโรคหนึ่งของถั่ว โดยอาจเกิดกับถั่วเกือบทุกชนิด เป็นโรคที่อาจสร้างความเสียหายร้ายแรงได้ ในสภาวะหรือในขณะที่สิ่งแวดล้อมเหมาะสมต่อโรค จะเกิดขึ้นได้บนทุกส่วนของต้นถั่วที่อยู่เหนือดิน แต่จะพบมากที่สุดบนใบ โดยอาการจะเริ่มจากจุดสีเขียวซีดหรือเหลืองที่มีลักษณะกลม ๆ เล็ก ๆ ขึ้นก่อน ต่อมาตอนกลางจุดจะยกนูนสูงขึ้น แล้วแตกออกพร้อมกับจะมีผงหรือกลุ่มของสปอร์สีน้ำตาลแดงเกิดขึ้นเป็นจุด ๆ เห็นได้ชัดเจน ส่วนของเนื้อใบรอบจุดแผลก็จะมีลักษณะเป็นเซลล์ตายสีเหลือง

เตือนเฝ้าระวังศัตรูพืช ประจำเดือนมกราคม 2568 ภาคเหนือข้าว ระวัง เพลี้ยกระโดดหลังขาว หนอนกอข้าว แมลงบั่ว โรคไหม้ข้าวลำไย ระวัง มวนลำไย เพลี้ยแป้ง หนอนกินใบ โรคพุ่มไม้กวาดกาแฟ ระวัง มอดเจาะผลกาแฟ เพลี้ยหอยสีเขียว โรคใบจุดผัก ระวัง หนอนกระทู้ผัก โรคราน้ำค้าง โรคราแป้ง

กระท้อน คลองน้อย สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) ลำดับที่ 7 จังหวัดสุราษฎร์ธานี กระท้อนพันธุ์อีล่าและพันธุ์ปุยฝ้าย จากแหล่งปลูกที่เป็นดินสองน้ำ (น้ำจืดผสมน้ำกร่อย) ทรงผลค่อนข้างกลม ผิวเปลือกสีเหลืองทอง เปลือกบาง เนื้อหนา ไม่ฝาด ปุยหรือเนื้อหุ้มเมล็ดฟู หนา แน่น สีขาว รสชาติหวานอมเปรี้ยวเล็กน้อย ปลูกในพื้นที่ตำบลคลองน้อย บางไทร

คำแนะนำการป้องกันหนอนกระทู้

คำแนะนำการป้องกันหนอนกระทู้

คำแนะนำการป้องกันกำจัดหนอนกระทู้ เฝ้าระวังการระบาดของหนอนกระทู้ เนื่องจากช่วงนี้พบการระบาดของหนอนกระทู้หอม และหนอนกระทู้ผักเข้าทำลายมันสำปะหลังในหลายพื้นที่ นอกจากนี้ยังพบหนอนกระทู้กล้าเข้าทำลายในข้าว และหนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุดเข้าทำลายข้าวโพด ประกอบกับสภาพอากาศที่แห้งแล้งเป็นเวลานาน และเริ่มมีฝนตกในหลายพื้นที่ ทำให้ดักแด้ที่พักตัวอยู่ในดินพัฒนาเป็นตัวเต็มวัย (ผีเสื้อกลางคืน) และวางไข่ สภาพอากาศเช่นนี้ทำให้วงจรชีวิตหนอนสั้นลง ขยายพันธุ์อย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดการแพร่ระบาดเป็นวงกว้างและเข้าทำลายหลายชนิดพืช รูปร่างลักษณะ หนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุด : fall armyworm (Spodoptera frugiperda (J.E. Smith)) หนอนกระทู้กล้า : lawn armyworm (Spodoptera mauritia (Boisduval)) หนอนกระทู้ผัก : common cutworm (Spodoptera litura (Fabricius)) หนอนกระทู้หอม : beet armyworm (Spodoptera exigua (Hubner)) เรียบเรียงโดย : กลุ่มอารักขาพืช สำนักงานเกษตรจังหวัดพิจิตร

การควบคุมหนอนกระทู้หอมในมันสำปะหลังโดยชีววิธี

การควบคุมหนอนกระทู้หอมในมันสำปะหลังโดยชีววิธี

การควบคุมหนอนกระทู้หอมในมันสำปะหลังโดยชีววิธี หนอนกระทู้หอม (bee armyworm) ชื่อวิทยาศาสตร์ Spodoptera exigua (Hubner) เรียบเรียงโดย :  กองส่งเสริมการอารักขาพืชและจัดการดินปุ๋ย

คำแนะนำการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืช หนอนกระทู้หอมในมันสำปะหลัง

คำแนะนำการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืช หนอนกระทู้หอมในมันสำปะหลัง

คำแนะนำการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืช หนอนกระทู้หอมในมันสำปะหลัง เลือกใช้สารเคมีชนิดใดชนิดหนึ่ง และต้องสำรวจแปลงหลังพ่นสารเคมีแล้ว 1-2 วัน หากพบหนอนระบาดอยู่ให้พ้นซ้ำ และควรสลับกลุ่มสารเคมี เพื่อป้องกันการดื้อยา จัดทำโดย : กองส่งเสริมการอารักขาพืชและจัดการดินปุ๋ย (กอป.) กรมส่งเสริมการเกษตร

หนอนกระทู้หอม กัดกินต้นมันสำปะหลัง

หนอนกระทู้หอม กัดกินต้นมันสำปะหลัง

หนอนกระทู้หอม กัดกินต้นมันสำปะหลัง คำแนะนำ :1.เมื่อพบตัวหนอนหรือกลุ่มไข่ในแปลง ให้เก็บและนำมาทำลาย พร้อมกำจัดวัชพืชในแปลงและรอบแปลง2.ฉีดพ่นด้วยสารป้องกันกำจัดศัตรูพืช โดยเลือกสารชนิดใดชนิดหนึ่ง ผสมน้ำ 20 ลิตร เช่นㆍ คลอแรนทรานิลิโพรล 5.17% SC อัตรา 20 มิลลิลิตรㆍ เดลทาเมทริน 3% EC อัตรา 30 มิลลิลิตร หมายเหตุ* หากการระบาดของหนอนลดลงให้ควบคุมด้วยชีวภัณฑ์ โดยฉีดพ่นเชื้อแบคทีเรีย บาซิลลัส ทูริงเยนซิส (Bt) อัตรา 80 มิลลิลิตรผสมน้ำ 20 ลิตร หลังจากฉีดพ่นสารเคมีแล้ว 15 วันทั้งนี้ กรมส่งเสริมการเกษตรได้ประสานงานองค์การบริหารปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อหารือแนวทางช่วยเหลือเกษตรกร จัดซื้อสารเคมีสนับสนุนโดยเร่งด่วน ที่มา : https://www.facebook.com/pr.doae/posts/pfbid026Xgma92wiBBm9MApYmWts27K3JsePAvCXhqRtyzh8pQ1gaoq5oQDxGiUpKQGHWfdl

หนอนกระทู้หอม

หนอนกระทู้หอม

หนอนกระทู้หอม ในหอมแดง สภาพอากาศในช่วงนี้อากาศเย็นและมีหมอกบางในตอนเช้า เตือนผู้ปลูกหอมแดงในระยะพัฒนาหัวรับมือหนอนกระทู้หอม หนอนกระทู้หอมจะเจาะเข้าไปอาศัยในใบหอมและกัดกินเนื้อเยื่อใบหอม ทำให้ใบมีสีขาว และจะกัดกินไปถึงหัวหอมทำให้ไม่สามารถเก็บผลผลิตได้ เรียบเรียงโดย : กลุ่มอารักขาพืช สำนักงานเกษตรจังหวัดยโสธร