ศูนย์วิทยบริการเพื่อส่งเสริมการเกษตร

10

เรื่องล่าสุด

สเปรย์ไล่ยุง

สเปรย์ไล่ยุง ส่วนประกอบ วิธีทำ ในสมุนไพรมีสารสำคัญ คือน้ำมันหอมระเหยที่มีกลิ่นเฉพาะ ซึ่งเป็นกลิ่นที่ยุงไม่ชอบ ที่มา : ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรจังหวัดจันทบุรี

โครงการพัฒนาเกษตรกรรุ่นใหม่ให้เป็น YOUNG SMART FARMER ปี 2568 สำนักงานเกษตรอำเภอตะพานหิน ประชาสัมพันธ์การรับสมัครบุคคลที่มีอายุระหว่าง 17-45 ปี ประกอบอาชีพทางการเกษตรเข้าร่วมโครงการพัฒนาเกษตรกรรุ่นใหม่ Young Smart Farmer ประจำปี 2568 ตั้งแต่วันนี้ ถึง 30 พฤศจิกายน 2567 ได้ที่สำนักงานเกษตรอำเภอตะพานหิน

สาเหตุอาการผิดปกติของพืช สิ่งมีชีวิต ข้อสังเกต : เกิดแบบสุ่ม/กระจายตัว มีการระบาดไปสู่ต้นอื่น พบแมลง ร่องรอย มูล กลิ่น สิ่งไม่มีชีวิต ข้อสังเกต : มักเกิดบริเวณเดียว/มีขอบเขต ไม่มีการระบาดไปสู่ต้นอื่น สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : สำนักงานเกษตรจังหวัดชัยนาท

ห้องสมุดกรมส่งเสริมการเกษตร แนะนำนิตยสาร เดือนกันยายน 2567 สามารถเข้ามารับบริการการอ่านได้ที่ ห้องสมุดกรมส่งเสริมการเกษตร อาคารส่งเสริมการเกษตรเบญจสิริกิติ์ ชั้น 5 (ห้องสมุดกรมส่งเสริมการเกษตร) สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : โทรศัพท์ 0-2579-2594 โทรสาร 0-2579-5517 สืบค้นข้อมูลเรื่องอื่น ๆ เพิ่มเติมได้ที่ : http://library.doae.go.th

ห้องสมุดกรมส่งเสริมการเกษตร “แนะนำหนังสือใหม่ เดือนกันยายน 2567“ เกษตรกรรมในสยาม บทวิเคราะห์เชิงประวัติศาสตร์เศรษฐกิจของราชอาณาจักรสยามงานอย่างไร (ต่อต้าน) คอร์รัปชัน 101 ทฤษฎีและเทคนิคการปรับพฤติกรรม กล้วยไม้ ORCHIDS Farm House สวนเกษตรในบ้าน สามารถเข้ามารับบริการการอ่านได้ที่ ห้องสมุดกรมส่งเสริมการเกษตร อาคารส่งเสริมการเกษตรเบญจสิริกิติ์ ชั้น 5 (ห้องสมุดกรมส่งเสริมการเกษตร) สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

วันที่ 26 กันยายน 2567 สโมสรโรตารีแก่นจันทน์ จังหวัดราชบุรี ขอรับสื่อเอกสารคำแนะนำและแผ่นพับ จำนวน 84 เล่ม/แผ่น สำหรับมอบหนังสือให้กับห้องสมุดเฉลิมราชกุมารี อ.เมืองจังหวัดราชบุรี เนื่องในเดือนเเห่งการศึกษาขั้นพื้นฐานเเละการรู้หนังสือ (Basic Education and Literacy Month)

หลังจากเกษตรกรประสบปัญหาน้ำท่วมอย่างหนักหน่วง เมื่อถึงคราวน้ำลดอาจเกิดปัญหาเรื่องดินตามมา วันนี้กรมส่งเสริมการเกษตร ขอนำเสนอวิธีการจัดการดินหลังน้ำท่วม เพื่อให้เกษตรกรสามารถนำข้อมูลไปปรับใช้ในการฟื้นฟูสภาพดิน ดูแลสวนไม้ผล และแปลงผักได้อย่างถูกวิธี คลิกอ่านด้านล่างเลย

เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล (ฺBrown Planthopper) ลักษณะการทำลายระยะกล้า ระยะแตกกอ ระยะออกรวง ตั้งแต่ตัวอ่อนจนถึงตัวเต็มวัย สามารถทำลายต้นข้าวได้อย่างรุนแรง โดยการดูดกินน้ำเลี้ยงจากต้นข้าว ทำให้ต้นข้าวมีอาการใบเหลือง เหี่ยวแล้ว แห้งเป็นสีน้ำตาลแก่คล้ายน้ำร้อนลวกที่เรียกว่า hopper burn ต้นกล้า และต้นข้าวที่กำลังแตกกอที่ถูกทำลายจะแห้งตาย ต้นข้าวที่ออกรวงแล้วจะมีเมล็ดไม่สมบูรณ์ และมีน้ำหนักเบา ล้มง่าย เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลพบมากในพันธุ์ข้าวที่ต้นเตี้ยและแตกกอมาก เนื่องจากมีจำนวนต้นข้าวให้แมลงดูดกินมาก และจะระบาดรุนแรงในระหว่างเดือนที่มีอากาศร้อน

โรคใบจุดและเน่าเละ สาเหตุจากเชื้อรา : Cercospora lactucae-sativae ลักษณะการทำลายทำลายผลผลิตผักสลัดทุกระยะการเจริญเติบโต โดยเฉพาะผักที่มีใบกว้าง เช่น กรีนคอส บัตเตอร์เฮด โดยเริ่มแรกแผลมีลักษณะเป็นจุดฉ่ำน้ำ สีน้ำตาลอ่อน ต่อมาแผลขยายใหญ่มีลักษณะกลมหรือค่อนข้างกลม เรียงซ้อนกันเป็นชั้น กลางแผลมีสีเทาหรือสีขาว ขอบแผลมีสีน้ำตาล ลักษณะคล้ายตากบ แผลมีหลายขนาดตั้งแต่จุดเล็กถึงจุดใหญ่ ขนาด 1-10 มิลลิเมตร เกิดกระจายทั่วใบ

โรคขอบใบแห้ง

โรคขอบใบแห้ง

โรคขอบใบแห้ง สาเหตุเกิดจากแบคทีเรีย : เชื้อแบคทีเรียอยู่ในดิน น้ำ และเมล็ดพันธุ์ที่ปนเปื้อน สภาพที่เหมาะสมต่อการระบาด อาการและการระบาด เรียบเรียงโดย : กลุ่มอารักขาพืช สำนักงานเกษตรจังหวัดพิจิตร

ขอบใบแห้งในนาข้าว

ขอบใบแห้งในนาข้าว

โรคขอบใบแห้งในนาข้าว สาเหตุ – เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Xanthomonas oryzae pv. oryzae (ex Ishiyama) Swings et al. การแพร่ระบาด – สามารถแพร่ไปกับน้ํา ในสภาพแวดล้อมที่มีความชื้นสูงและมีลมพัดแรง จะช่วยให้โรคแพร่ระบาดอย่างกว้างขวาง อาการ – เป็นโรคได้ตั้งแต่ระยะกล้า แตกกอ จนถึง ออกรวง ดาวน์โหลดไฟล์ PDF. จัดทำโดย : ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืช จังหวัดชัยนาท

ระวัง 3 โรคข้าวหน้าหนาว

ระวัง 3 โรคข้าวหน้าหนาว

ระวัง 3 โรคข้าวหน้าหนาว โรคขอบใบแห้งทําลายระยะกล้าถึงออกรวง อาการพบเป็นแผลช้าที่ขอบใบต่อมาประมาณ 7-10 วัน จุดช้ำนี้จะขยายกลายเป็นทางสีเหลืองยาวตามใบข้าว ใบที่เป็นโรค จะแห้งเร็ว และสีเขียวจะจางลงเป็นสีเทา ๆ ในกรณีที่ต้นข้าวมีความอ่อนแอต่อโรค ต้นข้าวจะเหี่ยวเฉาและแห้งตายทั้งต้นโดยรวดเร็ว เรียกอาการของโรคนี้ว่า ครีเสก (kresek) การป้องกันกําจัด ใช้พันธุ์ต้านทานโรค ไม่ใส่ ปุ๋ยไนโตรเจนมากเกินไปสารเคมีป้องกันกําจัด เสตร็พโตมัยซินซัลเฟต+ออกซีเตทตราไซคลินไฮโดรคลอร์ไรด์ ไตรเบซิคคอปเปอร์ซัลเฟต ซิงค์ไทอะโซล โรคไหม้ทําลายระยะกล้าถึงออกรวง ใบเป็นจุดสีน้ําตาลคล้ายรูปตา หัวท้ายแหลม ตรงกลาง แผลมีจุดสีเทา กรณีที่โรคระบาดรุนแรงแผลขยายติดกัน กล้าข้าวจะแห้งฟุบตายทั้งกอ อาการคล้ายถูกไฟไหม้ ระยะแตกกอ อาการของโรคพบได้ที่กาบใบ ข้อต่อใบและข้อต่อของลำต้น ระยะออกรวง มีแผลที่คอรวง เกิดเมล็ดลีบ ถ้าข้าวเริ่มโน้มรวงเกิดแผลช้ําที่คอรวง ทําให้รวงหัก การป้องกันกําจัด ใช้พันธุ์ต้านทานโรค คลุกเมล็ดด้วยสารป้องกันเชื้อรา ไม่ควร หว่านข้าวหนาแน่นเกินไป ลดปริมาณการใช้ปุ๋ยไนโตรเจนลงสารเคมีป้องกันกําจัด ไตรไซคลาโซล ไอโซโปรไธโอเ

4 โรคข้าวระยะกล้า

4 โรคข้าวระยะกล้า

4 โรคข้าวระยะกล้า สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืชจังหวัดพิษณุโลก https://www.facebook.com/profile.php?id=100007822839207 โรค-แมลงศัตรูข้าว และการป้องกันกำจัด : https://esc.doae.go.th/โรค-แมลงศัตรูข้าว/

โรคขอบใบแห้ง

โรคขอบใบแห้ง

โรคข้าวที่เกิดจากเชื้อ “แบคทีเรีย” โรคขอบใบแห้ง สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืช จังหวัดเชียงใหม่