โรครากเน่าโคนเน่าทุเรียน
เตือนเกษตรกรชาวสวนทุเรียน ระวังการระบาดของโรครากเน่าโคนเน่า เนื่องจากช่วงนี้มีฝนตกความชื้นในอากาศสูง สภาพแวดล้อมเหมาะต่อการแพร่ระบาดของโรค ดังนั้นขอให้เกษตรกรหมั่นสำรวจสวนอย่างสม่ำเสมอ และไม่ควรปล่อยให้มีน้ำท่วมขังในสวน หากมีน้ำท่วมควรรีบระบายออก เมื่อพบทุเรียนมีอาการใบอ่อนแสดงอาการเหี่ยวเหลือง บริเวณแผลมีลักษณะฉ่ำน้ำ สีน้ำตาลอ่อน และเปลี่ยนเป็นสีดำตายนึ่งคล้ายน้ำร้อนลวก บริเวณลำต้นพบคราบน้ำบนผิวเปลือก รากฝอยมีลักษณะเปลือกล่อน และเปื่อยยุ่ยเป็นสีน้ำตาล ให้ดำเนินการควบคุมและป้องกันกำจัดก่อนเกิดการระบาดรุนแรง หรือสามารถขอคำแนะน่าในการป้องกันกำจัดได้ที่เจ้าหน้าที่ส่านักงานเกษตรอำเภอ หรือสำนักงานเกษตรจังหวัดใกล้บ้าน เชื้อสาเหตุ : เชื้อรา Phytophthora Palmivora ลักษณะอาการรากเน่า : หากขุดดูราก จะพบรากฝอยแสดงอาการเน่ามีลักษณะเปลือกล่อน และเปื่อยยุ่ยเป็นสีน้ำตาลอาการที่กิ่ง : ใบเหลืองเป็นบางกิ่ง สังเกตเห็นคล้ายคราบน้ำบนผิวเปลือกของกิ่งหรือต้นอาการที่ใบ : ใบอ่อนแสดงอาการเหี่ยว เหลือง บริเวณแผลมีลักษณะฉ่ำน้ำ สีน้ำตาลอ่อน และเปลี่ยนเป็นสีดำคล้ายน้ำร้อนลวก เส้นใบมีสีน้ำตาลดำ คำแนะนำป้องกันกำจัด1. การหมั่นสำรวจแปลงสม่ำเสมอ2. บำรุงต้นทุเรียนให้แข็งแรง3. หลีกเลี่ยงการกระทำที่ทำให้รากหรือลำต้นเกิดแผล4. ทำความสะอาดเครื่องมือก่อนนำไปใช้ใหม่ทุกครั้ง5. ตัดแต่งกิ่งหรือลำต้นส่วนที่เป็นโรคไปเผาทำลาย ชีวภัณฑ์หรือสารเคมีที่แนะนำ1. เชื้อราไตรโคเดอร์มา ผสมกับรำข้าวและปุ๋ยอินทรีย์ ในอัตรา 1:4:10 โรยลงดินในพื้นที่รัศมีทรงพุ่ม ในอัตรา 50 กรัมต่อตารางเมตร หรือใช้รองก้นหลุม อัตรา 10-100 กรัม2. การใช้เมทาแลกซิล 25% WP หรือ ฟอสอีทิล-อะลูมิเนียม 80% WP อัตรา 30 – 50 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร3. ฟอสโฟนิก แอซิด 40% SL ผสมน้ำสะอาด อัตรา 1:14. ใส่กระบอกฉีดยาฉีดเข้าลำต้นหรือราดดินด้วย ฟอสอีทิล-อะลูมิเนียม 80% WP หรือ เมทาแลกซิล 25% WP อัตรา 30 – 50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร5. ทาแผลด้วยฟอสอีทิลอะลูมิเนียม 80% WP อัตรา 80 – 100 กรัม หรือเมทาแลกซิล 25% WP อัตรา 50 – 60 กรัมต่อน้ำ 1 ลิตร ทุก 7 วัน จนกว่าแผลจะแห้ง เรียบเรียงโดย : ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืช จังหวัดสุพรรณบุรี
โรคทุเรียน
โรคทุเรียน สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืชจังหวัดพิษณุโลกhttps://www.facebook.com/profile.php?id=100007822839207