ศูนย์วิทยบริการเพื่อส่งเสริมการเกษตร

10

เรื่องล่าสุด

ห้องสมุดกรมส่งเสริมการเกษตร แนะนำหนังสือใหม่ เดือนมกราคม 2568 สามารถเข้ามารับบริการการอ่านได้ที่ ห้องสมุดกรมส่งเสริมการเกษตร อาคารส่งเสริมการเกษตรเบญจสิริกิติ์ ชั้น 5 (ห้องสมุดกรมส่งเสริมการเกษตร) สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : โทรศัพท์ 0-2579-2594 โทรสาร 0-2579-5517 สืบค้นข้อมูลเรื่องอื่น ๆ เพิ่มเติมได้ที่ : http://library.doae.go.th

เมื่อวันที่ 14 มกราคม 2568 ศูนย์วิทยบริการเพื่อส่งเสริมการเกษตร ได้ส่งมอบกล่องยูเอสที ให้กับการทางพิเศษแห่งประเทศไทย ในโครงการกล่องวิเศษ ทางพิเศษรักษ์โลก ปีงบประมาณ 2567

มาตรการการดำเนินงานภายใต้การรับมือสถานการณ์ไฟป่า หมอกควัน และฝุ่นละออง ปี 2568 ของกรมส่งเสริมการเกษตร 1.มาตรการสร้างความตระหนักรู้และป้องปราม 2.มาตรการบริหารจัดการเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร 3.มาตรการปรับลดการปลูกพืชเชิงเดี่ยว 4.มาตรการไม่เผาเรารับซื้อ 5.มาตรการไฟจำเป็น 6.การประชาสัมพันธ์และสร้างการรับรู้

วิสาหกิจชุมชนและเครือข่ายวิสาหกิจชุมชน โปรดทราบ กรมส่งเสริมการเกษตร เปิดให้วิสาหกิจชุมชนและเครือข่ายวิสาหกิจชุมชน ต่อทะเบียนได้ตั้งแต่ วันที่ 1 – 30 มกราคมของทุกปี โดยยื่นแบบคำขอดำเนินกิจการต่อของวิสาหกิจชุมชนและเครือข่ายวิสาหกิจชุมชน (สวช.03) ณ สำนักงานเกษตรอำเภอที่จดทะเบียน หรือผ่าผ่านเว็บไซต์ ระบบสารสนเทศวิสาหกิจชุมชน https://smce.doae.go.th เอกสารประกอบการยื่น ดังนี้1. หนังสือสําคัญแสดงการจดทะเบียน (ท.ว.ช.2)2. เอกสารสําคัญแสดงการดําเนินกิจการ (ท.ว.ช.3)3.

กรมส่งเสริมการเกษตร เชิญเที่ยวงาน “Beyond & Journey of Siam Orchids” กิจกรรมส่งเสริมการผลิตและการตลาดกลุ่มสินค้ากล้วยไม้ ไม้ดอกไม้ประดับ กิจกรรมภายในงาน พบกับ

โรคราสนิมในถั่ว สาเหตุ : เกิดจากเชื้อรา Uromyces spp. ลักษณะอาการเป็นโรคที่พบบ่อยที่สุดอีกโรคหนึ่งของถั่ว โดยอาจเกิดกับถั่วเกือบทุกชนิด เป็นโรคที่อาจสร้างความเสียหายร้ายแรงได้ ในสภาวะหรือในขณะที่สิ่งแวดล้อมเหมาะสมต่อโรค จะเกิดขึ้นได้บนทุกส่วนของต้นถั่วที่อยู่เหนือดิน แต่จะพบมากที่สุดบนใบ โดยอาการจะเริ่มจากจุดสีเขียวซีดหรือเหลืองที่มีลักษณะกลม ๆ เล็ก ๆ ขึ้นก่อน ต่อมาตอนกลางจุดจะยกนูนสูงขึ้น แล้วแตกออกพร้อมกับจะมีผงหรือกลุ่มของสปอร์สีน้ำตาลแดงเกิดขึ้นเป็นจุด ๆ เห็นได้ชัดเจน ส่วนของเนื้อใบรอบจุดแผลก็จะมีลักษณะเป็นเซลล์ตายสีเหลือง

เตือนเฝ้าระวังศัตรูพืช ประจำเดือนมกราคม 2568 ภาคเหนือข้าว ระวัง เพลี้ยกระโดดหลังขาว หนอนกอข้าว แมลงบั่ว โรคไหม้ข้าวลำไย ระวัง มวนลำไย เพลี้ยแป้ง หนอนกินใบ โรคพุ่มไม้กวาดกาแฟ ระวัง มอดเจาะผลกาแฟ เพลี้ยหอยสีเขียว โรคใบจุดผัก ระวัง หนอนกระทู้ผัก โรคราน้ำค้าง โรคราแป้ง

กระท้อน คลองน้อย สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) ลำดับที่ 7 จังหวัดสุราษฎร์ธานี กระท้อนพันธุ์อีล่าและพันธุ์ปุยฝ้าย จากแหล่งปลูกที่เป็นดินสองน้ำ (น้ำจืดผสมน้ำกร่อย) ทรงผลค่อนข้างกลม ผิวเปลือกสีเหลืองทอง เปลือกบาง เนื้อหนา ไม่ฝาด ปุยหรือเนื้อหุ้มเมล็ดฟู หนา แน่น สีขาว รสชาติหวานอมเปรี้ยวเล็กน้อย ปลูกในพื้นที่ตำบลคลองน้อย บางไทร

52. การผลิตกล้วยพันธุ์ดี

52. การผลิตกล้วยพันธุ์ดี

“อยากปลูกกล้วย” แต่ไม่รู้จะเริ่มอย่างไรดี? วันนี้กรมส่งเสริมการเกษตร ชวนหาคำตอบไปพร้อมๆ กัน ตั้งแต่กระบวนการเลือกกล้วยพันธุ์ดี การเพาะปลูก การดูแล การใส่ปุ๋ย และเรื่องของการตลาด คลิกอ่านได้ในโพสต์นี้เลย อยากรู้ว่า “พืชพันธุ์ดี ดีอย่างไร ซื้อที่ไหนได้ของดี”อ่านเพิ่มเติมได้ที่ >> https://esc.doae.go.th/49-พืชพันธุ์ดี-ดีอย่างไร-ซ/

เรื่องเล่าเช้าวันจันทร์ “กล้วย”

เรื่องเล่าเช้าวันจันทร์ "กล้วย"

เรื่องกล้วย ๆ เรื่องฮิตช่วงนี้ที่ใคร ๆ ก็ถามไถ่เข้ามา อยากปลูกต้องทำอย่างไร เลือกพันธุ์ไหนดี วันนี้ชวนอ่านกับ 3 เอกสารแนะนำ ด้านล่างนี้เลยค่ะ การผลิตกล้วยพันธุ์ดีคลิกอ่าน : https://bit.ly/4efoRdj “กล้วยหอมทอง” เรื่องกล้วย กล้วย ที่ไม่กล้วย!คลิกอ่าน : https://bit.ly/3TqI2bn แนวทางดูแลรักษากล้วยในช่วงฤดูฝนคลิกอ่าน : https://bit.ly/4ebx41A

พืชในท้องถิ่นของหนู

พืชในท้องถิ่นของหนู

พืชในท้องถิ่นของหนู สารบัญ เรียบเรียงโดย : ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรจังหวัดฉะเชิงเทรา กรมส่งเสริมการเกษตร ดาวน์โหลดไฟล์ PDF.

เกษตรสมุทรปราการแนะนำ แนวทางดูแลรักษากล้วยในช่วงฤดูฝน

เกษตรสมุทรปราการแนะนำ แนวทางดูแลรักษากล้วยในช่วงฤดูฝน

เกษตรสมุทรปราการแนะนำ แนวทางดูแลรักษากล้วยในช่วงฤดูฝน แนวทางดูแลรักษากล้วยในช่วงฤดูฝน โรคกล้วยที่พบบ่อยในช่วงฤดูฝน : โรคตายพรายในกล้วย สาเหตุ : เกิดจากเเชื้อรา Fusarium oxysporum f. sp. cubense ลักษณะอาการ : ใบกล้วยที่อยู่รอบนอกหรือใบแก่ แสดงอาการเหี่ยวเหลืองจากขอบและลุกลามเข้ากลางใบ ก้านใบหักพับตรงรอยต่อกับลำต้น และจะทยอยหักพับตั้งแต่ใบที่อยู่รอบนอกเข้าไปสู่ใบด้านใน แนวทางป้องกัน : ป้องกันด้วยการใช้สารชีวภัณฑ์ฉีดพ่นเพื่อควบคุมโรค อาทิเช่น เชื้อราไตรโคเดอร์มาหรือเชื้อแบคทีเรียบาซิลลัส เรียบเรียงโดย : สำนักงานเกษตรจังหวัดสมุทรปราการ

การผลิตกล้วยพันธุ์ดี

การผลิตกล้วยพันธุ์ดี

การผลิตกล้วยพันธุ์ดี สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : ศูนย์ขยายพันธุ์พืชที่ 6 จังหวัดพิษณุโลก กรมส่งเสริมการเกษตร เบอร์โทรศัพท์ 0 5590 6220 การผลิตกล้วยพันธุ์ดี หนึ่งในผลไม้ที่อยู่คู่คนไทยมานาน มีอยู่หลากหลายพันธุ์ แต่ที่นิยมปลูกในเชิงการค้าจะมี 3 ชนิด คือ กล้วยหอม กล้วยน้ำว้า และกล้วยไข่ และมีคำถามมากมายเกี่ยวกับการผลิตกล้วยให้ได้ผลดี วิธีปลูก การให้น้ำ ซึ่งทางศูนย์ขยายพันธุ์พืชที่ 6 จังหวัดพิษณุโลก กรมส่งเสริมการเกษตร ก็มีองค์ความรู้ที่พร้อมเผยแพร่ให้กับผู้สนใจ โดยทั่วไปการคัดต้นพันธุ์สำหรับปลูก มักใช้หน่อจากต้นพันธุ์กล้วยที่สมบูรณ์แข็งแรงไปปลูก อย่างไรก็ตาม การขยายพันธุ์กล้วยโดยใช้หน่ออาจเสี่ยงกับโรคและแมลงที่ติดมากับหน่อพันธุ์ ดังนั้น การใช้ต้นพันธุ์กล้วยจากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อจึงเป็นทางเลือกที่ดี เนื่องจากเป็นต้นพันธุ์ดี มีลักษณะตรงตามที่ต้องการ สามารถให้ผลผลิตในเวลาที่ใกล้เคียงกัน ง่ายต่อการจัดการแปลง เตรียมตัวก่อนลงมือปลูก 1. การวางแผน ควรวางแผนเรื่องชนิดของกล้วยที่เหมาะสมและระยะเวลาปลูก ให้สัมพันธ์กับระยะเวลาการเก็บเกี่ยวตามความต้องการของตลาด 2. การกำหนดระยะปลูกกล้วย คำนึงถึงชนิดของ