กล้วยน้ำว้าเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ พันธุ์สุโขทัย 1

กล้วยน้ำว้าเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ พันธุ์สุโขทัย 1 คุณค่าทางโภชนาการ ต่อกล้วยน้ำว้า 100 กรัม วิธีการปลูก การดูแลรักษา การใส่ปุ๋ย ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักในเดือนแรกอัตรา 1 กิโลกรัม/ต้น เดือนที่ 3 และเดือนที่ 6 อัตรา 1-2 กิโลกรัม/ต้น การไว้หน่อ หลังจากปลูกกล้วย 5-6 เดือน จะมีหน่อขึ้นมารอบ ๆ โคน ควรทำลายหน่อทิ้งแล้วไว้หน่อในทิศทางตรงกันข้าม เพื่อทดแทนต้นแม่ โดยให้หน่อที่ 1 และ 2 อายุห่างกัน 4 เดือน เทคนิคไว้หน่อคือ การเก็บเกี่ยว เดือนที่ 11 เตรียมถุงห่อกล้วย และนับวันกล้วยน้ำว้า 80-100 วัน ค่อยตัด ผลผลิตเฉลี่ย 1,500 กิโลกรัม/ไร่/ปี ได้รับผลตอบแทนเฉลี่ย 22,500 บาท/ไร่/ปี การป้องกันโรคตายพรายใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มา ในอัตรา 100-200 กรัม/หลุม คลุกเคล้ากับดินในหลุมก่อนปลูกกล้วย เมื่อพบกล้วยแสดงอาการของโรค ให้ขุดต้นที่เป็นโรคนำไปทำลายนอกแปลงปลูก แล้วโรยด้วยปูนขาวบริเวณหลุมที่ขุดต้นเป็นโรคออกไป อัตรา 1-2 กิโลกรัม/หลุม อุปกรณ์การเกษตร เมื่อใช้กับต้นที่เป็นโรคควรทำความสะอาดก่อนนำไปใช้ใหม่ ในแปลงที่มีการระบาดของโรค ควรเปลี่ยนไปปลูกพืชชนิดอื่นหมุนเวียน ข้อมูลโดย : ศูนย์ขยายพันธุ์พืชที่ 1 จังหวัดชลบุรี กรมส่งเสริมการเกษตร เรียบเรียงโดย : สำนักงานเกษตรอำเภอโคกสูง จังหวัดสระแก้ว
กล้วยน้ำว้ามะลิอ่อง

กล้วยน้ำว้ามะลิอ่องจากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ กล้วยน้ำว้ามะลิอ่อง ลำต้นเทียมสูง 3.5 เมตร ใบประดับปลีค่อนข้างมน ปลายป้านม้วนงอขึ้น เป็นสีแดงอมม่วง มีนวลเยอะ เครือหนึ่งมี 7–10 หวี หวีหนึ่งมี 10–15 ผล ผลดิบมีสีเขียว ผลเมื่อสุกมีสีเหลือง เนื้อผลสีขาว รสชาติหวานเล็กน้อย เนื้อแน่น มีกลิ่นหอมอ่อนๆ ภาพจาก : ศูนย์ขยายพันธุ์พืชที่ สอง จังหวัดตรัง ที่มา : https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=pfbid0pC6pHDphtTQuYZnHHRrsF4sEFm3ePhvL8tY59CWFfCFe4K7uzVZxE2ePYonj2JjWl&id=100006580695357