ศูนย์วิทยบริการเพื่อส่งเสริมการเกษตร

10

เรื่องล่าสุด

เรื่องเล่าเช้าวันจันทร์ “ข้อสังเกตก่อนซื้อทุเรียน” ในฤดูกาลปกติ ประเทศไทยมีทุเรียนออกสู่ตลาดประมาณเดือน เม.ย.-ก.ย. นอกจากนี้มีเกษตรกรบางส่วนผลิตทุเรียนนอกฤดู ช่วยสร้างรายได้ให้มากขึ้น หลีกเลี่ยงความเสี่ยงราคาผลผลิตตกต่ำในช่วงผลผลิตออกมากตามฤดูกาล โดยพื้นที่ภาคตะวันออกสามารถเก็บเกี่ยวได้ ตั้งแต่เดือน ก.พ.- มี.ค. ส่วนพื้นที่ภาคใต้สามารถเก็บเกี่ยวได้ตั้งแต่เดือ ธ.ค.- ก.พ. 5 ข้อสังเกตก่อนซื้อทุเรียนคลิกอ่าน : https://bit.ly/42Tgsr5 ชาวสวนไม่ตัด ผู้บริโภคไม่ซื้อ ทุเรียนอ่อนคลิกอ่าน

ระบบเกษตรอัจฉริยะ “Handy Sense” HandySense ระบบเกษตรแม่นยำ ฟาร์มอัจฉริยะ ผนวกเทคโนโลยีเซนเซอร์ตรวจวัดสภาพแวดล้อมทางการเกษตรและระบบควบคุมการทำงานอัตโนมัติได้รับการออกแบบให้ใช้งานง่ายทนทานต่อสภาพแวดล้อม สามารถเข้าใจ HandySense ได้เพิ่มขึ้น คลิกเพิ่มเติมจากลิงก์ด้านล่างได้เลยค่ะ Handy sense เกษตรอัจฉริยะรับชม : https://bit.ly/40ZOp8Q เพิ่มรายได้ เพิ่มผลผลิต ด้วยระบบเกษตรอัจฉริยะ “Handy Sense”คลิกอ่าน : https://bit.ly/4b6ED9A

เกร็ดความรู้สำหรับเกษตรกรผู้เลี้ยงครั่ง หลังจากปล่อยครั่งไปแล้ว 1 เดือน ครั่งจะขับถ่ายมูลหวาน ออกมาจากช่องขับถ่าย หากเกษตรกรที่ปล่อยครั่งบนต้นจามจุรีที่มีขนาดใหญ่ อาจจะสังเกตการเจริญเติบโตของครั่งได้ยาก ดังนั้นเรามีเทคนิคในการสังเกตครั่งมาฝากกันค่ะ 1.ไม้อาศัยต้นเตี้ย ก็จะเห็นการเจริญเติบโตของครั่งได้ชัดเจน มีการสร้างไขสีขาว และการขับน้ำหวานที่มีสีใสออกมา เมื่อสัมผัสอากาศนาน ๆ ก็จะเริ่มแข็งตัวและเปลี่ยนเป็นสีเหลือง สีทอง สีน้ำตาล 2.ไม้อาศัยต้นใหญ่และมีความสูงมาก เราอาจจะสังเกตได้ดังนี้ เรียบเรียง :

แมลงศัตรูพืชในฤดูร้อนที่ต้องระวัง ฤดูร้อนเกษตรกรผู้ปลูกพืชตระกูลกะหล่ำและผักกาด เช่น คะน้า กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก บรอกโคลี กวางตุ้ง ผักกาดขาว ผักกาดหอม ฯลฯ ต้องเผชิญกับศัตรูพืชต่าง ๆ เพราะด้วยสภาพอากาศที่มีความชื้นต่ำติดต่อกันยาวนานหลายเดือน นับเป็นสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมสำหรับแมลงศัตรูพืช ซึ่งสร้างความเสียหายให้กับพืชที่ปลูกได้ โดยแมลงศัตรูพืชที่พบมากในช่วงอากาศร้อน เช่น เพลี้ยอ่อน ด้วงหมัดผัก หนอนใยผัก และหนอนกระทู้ผัก

ส่งเสริมไม่เผาด้วย 3R Model น้ำหมักย่อยสลายฟาง “จุลินทรีย์หน่อกล้วย” วัตถุดิบ วิธีทำ การนำไปใช้ใช้น้ำหมักชีวภาพอัตรา 5 ลิตรต่อไร่ เจือจางกับน้ำ 100 ลิตร ราดลงในแปลงข้าวเพื่อช่วยให้ตอซังข้าวย่อยสลายได้ง่าย หมักไว้ประมาณ 2 สัปดาห์ แล้วจึงปั่นดินนาทำเทือกเพื่อเตรียมเพาะปลูกข้าวครั้งใหม่ต่อไป เรียบเรียงโดย : สำนักงานเกษตรอำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี

แคดเมียน (CADMIUM) คืออะไร??แคดเมียนเป็นแร่โลหะชนิดหนึ่ง สามารถเกิดขึ้นได้เองในธรรมชาติ โดยอาจมาจากวัตถุต้นกำเนิดดิน การทำเหมืองแร่ โรงงานผลิตไฟฟ้าโดยใช้ถ่านหิน การทำแบตเตอรี่ การใช้ปุ๋ย และสารเคมีกำจัดศัตรูพืชในการเกษตร และสามารถพบแคดเมียมปนเปื้อนได้ในอาหารและน้ำ การปนเปื้อนโลหะหนักในดิน มีสาเหตุมาจากกิจกรรมทางการเกษตรและอุตสาหกรรม เช่น การทิ้งของเสียโดยไม่มีการจัดการอย่างเหมาะสม ทำให้เกิดการตกค้างและสะสมโลหะหนักในดิน เช่น สารหนู แคดเมียม ตะกั่ว ปรอท เป็นต้น

แมลงสิง ศัตรูข้าวระยะออกรวง รูปร่างลักษณะ ลักษณะการทำลาย การป้องกันกำจัด เรียบเรียง : กลุ่มส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนด้านอารักขาพืชและดินปุ๋ย กองส่งเสริมการอารักขาพืชและจัดการดินปุ๋ย

ขอเชิญชวนร่วมงานรณรงค์สร้างการรับรู้และการเรียนรู้การเกษตรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green Day)  พบกับกิจกรรมที่น่าสนใจภายในงาน สถานีเรียนรู้เกี่ยวกับการทำการเกษตรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และการออกร้านจำหน่ายสินค้าจากเกษตรกร กลุ่มเกษตรกรต่าง ๆ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : สำนักงานเกษตรจังหวัด สุราษฎร์ธานี

“กล้วยหอมทอง” เรื่องกล้วย กล้วย ที่ไม่กล้วย !

"กล้วยหอมทอง" เรื่องกล้วย กล้วย ที่ไม่กล้วย !

“กล้วยหอมทอง” เรื่องกล้วย กล้วย ที่ไม่กล้วย! การดูแลรักษาต้นกล้วย เตรียมดิน โดยใช้ปุ๋ยอินทรีย์/ปุ๋ยหมักปรับปรุงดิน คลุกเคล้าด้วยเชื้อราไตรโคเดอร์มา เพื่อป้องโรคตายพราย พร้อมกับจัดการระบบน้ำ (แบบน้ำพุ่ง) เพื่อให้กล้วยได้น้ำอย่างเพียงพอตลอดทั้งปี ต้นกล้วยสมบูรณ์และเจริญเติบโตเร็ว จากนั้นจะบำรุงต้นด้วยปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักตลอดอายุของต้นกล้วย วิธีการปลูก จะขยายพันธุ์โดยใช้หน่อกล้วยจากต้นกล้วยที่เก็บผลผลิตแล้ว ซึ่งต้นกล้วย 1 ต้น จะออกหน่อประมาณ 3-5 หน่อ เมื่อเก็บผลผลิตแล้วจะต้องทำการตัดต้นกล้วยนั้นออกทิ้ง เพื่อไม่ให้แย่งอาหาร โดนตัดให้เหลือความสูงประมาณ 100 เซนติเมตร เพื่อให้ต้นแม่เป็นอาหารเลี้ยงหน่อเล็ก และเลือกเฉพาะหน่อกล้วยที่โตที่สุด ประมาณ 2-3 หน่อ ตัดแต่งให้มีระยะห่างระหว่างหน่อประมาณ 20-30 เซนติเมตร เพื่อเป็นต้นกล้วยต้นใหม่ที่จะต้องดูแลให้ลูกและผลผลิตต่อไป ในการปลูกรอบต่อไปทำการขยาย โดยเลือกหน่อกล้วยใน 1 กอ ให้กระจายไปเรื่อย ๆ เพื่อลดการสะสมของโรคในดิน หรือการขุดหน่อเพื่อนำไปปลูกขยายต่อในแปลงใหม่ จะทำหลังจากต้นแม่ให้ผลผลิตแล้วเท่านั้น เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดแผลและนำเชื้อโรคสู่ต้นแม่ เทคนิคการปลูกกล้วยหอมให้สามารถเก็บผลผลิตได้ง่าย ให้เครือกล้วยหันออกในทิศทางเดียวกัน ทำได้โดยเมื่อเริ่มต้นการปลูก หน่อกล้วยจะมีรอยเฉือนจากกอ ให้หันรอยเฉือนนั้นไปด้านที่เราไม่ต้องการให้เครือกล้วยออก เพราะปลีกล้วยหรือเครือกล้วยจะออกผลตรงข้ามกับรอยเฉือนเสมอ จึงเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ช่วยในการเก็บผลผลิตและประหยัดแรงงาน ในการทำสวนอีกด้วย ในขณะที่ต้นกล้วยเจริญเติบโตจนออกปลีและออกผล จะต้องทำการตัดปลีกล้วยทิ้ง โดยตัดให้ห่างจากกล้วยหวีสุดท้าย ประมาณ 15 เซนติเมตร ลดการเกิดโรคและทำให้หวีสุดท้ายมีความสมบูรณ์ หมั่นตัดตกแต่งเปลือกต้นกล้วยที่แห้งและเน่าออกอยู่เสมอ รวมไปถึงตัดหน่อกล้วยที่ไม่เหมาะสมหรือที่ออกมามากเกินความต้องการออกไปด้วย เพื่อให้ต้นและเปลือกต้นกล้วยเติบโตอย่างเต็มที่ อีกทั้งยังเป็นการป้องกันแมลงมาเจาะต้นกล้วยอีกด้วย สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : สำนักงานเกษตรอำเภอเทพารักษ์ จังหวัดนครราชสีมา

กล้วยหอมทองปทุมธานี

กล้วยหอมทองปทุมธานี

กล้วยหอมทองปทุมธานี สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ : สำนักงานเกษตรจังหวัดปทุมธานีhttps://www.facebook.com/pathumthani.doae