การปรับตัวภาคการเกษตรกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

การปรับตัวภาคการเกษตรกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) และภาวะโลกร้อน (Global Warming) การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) เป็นปัญหาสำคัญและส่งผลกระทบไปทั่วโลก มีสาเหตุสำคัญมาจากภาวะโลกร้อน (Global Warming) ซึ่งเกิดจากก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse Gas GHG) ในบรรยากาศที่เพิ่มขึ้นจากกิจกรรมของมนุษย์ ประเทศไทยได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลกเป็นอันดับต้น ๆ โดยเฉพาะภาคการเกษตร ซึ่งได้รับผลกระทบเป็นอย่างมาก และมีแนวโน้มที่จะทวีความรุนแรงขึ้นจากอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้น ฤดูกาลแปรปรวน และภัยพิบัติทางธรรมชาติ ส่งผลต่อความั่นคงทางอาหารและความสามารถในการแข่งขันของประเทศ 10 ทางเลือกการจัดการวัสดุทางการเกษตรลดต้นทุน 1.ไถกลบแทนการเผาเป็นการเพิ่มปุ๋ยให้ดิน ลดการใช้ปุ๋ยเคมีได้ถึง 261 บาท/ไร่ 2.ผลิตปุ๋ยอินทรีย์ทดแทนปุ๋ยเคมี ลดต้นทุนการใช้ปุ๋ย 6 บาท/กิโลกรัม 3.เลี้ยงสัตว์ด้วยอาหารหมักลดต้นทุนอาหารสัตว์ 3.83 บาท/กิโลกรัม 4.วัสดุห่มดินช่วยรักษาความชื้นในดิน 5.หัวเชื้อจุลินทรีย์ ย่อยสลายตอซังข้าวใช้หัวเชื้อจุลินทรีย์ช่วยย่อยสลายตอซังข้าวได้ 7-10 วัน ลดต้นทุน 1,000 บาท/ไร่ 6.ไบโอชาร์ใช้เป็นวัสดุปรับปรุงดิน คิดเป็น มูลค่า 50 บาท/กิโลกรัม 7.นำมาเพาะเห็ดสร้างอาหารสร้างรายได้ ขายได้ 60-170 บาท/กิโลกรัม 8.วัสดุเพาะปลูก หรือดินผสมขายได้ถุงละ 10 บาท กาบมะพร้าวสับ ขุยมะพร้าวคิดเป็นมูลค่า 30-50 บาท/ถุง 9.นำมาใช้ประโยชน์ด้านพลังงานแปรรูปเป็นเชื้อเพลิงในกระบวนการอุตสาหกรรม โดยแปรรูปเป็นเชื้อเพลิงอัดแท่ง คิดเป็นมูลค่า 3,500 – 4,000 บาทต่อตัน 10.แปรรูปเป็นสินค้าเพิ่มมูลค่าภาชนะจากใบไม้ กระถาง ปลูกต้นไม้ จัดทำโดย : สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 3 จังหวัดระยอง
การดำเนินโครงการการจัดการห่วงโซ่อุปทานข้าวและมันฝรั่ง เพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ

วันที่ 28 ตุลาคม 2567 สื่อประชาสัมพันธ์ จำนวน 1 ชิ้น นายพีรพันธ์ คอทอง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวปิดและร่วมประกาศความสำเร็จในการดำเนินโครงการการจัดการห่วงโซ่อุปทานข้าวและมันฝรั่ง เพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ ด้วยวิธีการปลูกข้าว มันฝรั่งและข้าวโพดหมุนเวียนอย่างยั่งยืน (RePSC) ณ โรงแรมเรอเนสซองส์ กรุงเทพฯ ราชประสงค์
6 ทางเลือกในการปรับตัวของเกษตรกร ต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

6 ทางเลือกในการปรับตัวของเกษตรกร ต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ทางเลือกที่ 1 ปรับเปลี่ยนเทคนิคหรือวิถีการผลิต ทางเลือกที่ 2 ปรับปรุงและพัฒนาแหล่งน้ำและระบบส่งจ่ายน้ำ ทางเลือกที่ 3 บริหารจัดการที่ดินอย่างเหมาะสม ทางเลือกที่ 4 ปรับปรุงและอนุรักษ์ดิน ทางเลือกที่ 5 อนุรักษ์ป่าไม้และสภาพแวดล้อม ทางเลือกที่ 6 ประกันภัยพืชผล ดาวน์โหลดไฟล์ PDF. ที่มา : วารสารส่งเสริมการเกษตร ปีที่ 57 ฉบับที่ 314 เดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2567
ทางเลือกในการปรับตัวของเกษตรกรต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

ทางเลือกในการปรับตัวของเกษตรกรต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ จัดทำโดย : สำนักงานเกษตรจังหวัดชัยนาทhttps://www.facebook.com/DoaeChainat ทางเลือกในการปรับตัวของเกษตรกรต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ดาวน์โหลดไฟล์ PDF.