เพลี้ยไฟในข้าว
เพลี้ยไฟในข้าว เพลี้ยไฟเป็นแมลงจำพวกปากดูดขนาดเล็ก ลำตัวยาว มีทั้งชนิดมีปีกและไม่มีปีก ตัวเต็มวัยมีสีดำ ตัวอ่อนมีสีเหลืองอ่อน ตัวเต็มวัยเพศเมียวางไข่เดี่ยว ๆ สีครีมในเนื้อเยื่อของใบข้าว ไข่ฟักตัวเป็นตัวอ่อนที่มีสีเหลืองนวล จากนั้นตัวอ่อนจะเข้าดักแด้บนต้นข้าวต้นเดิมที่ฟักออกจากไข่ ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยมีปากแบบเขี่ยดูด ใช้ในการทำลายต้นข้าว ลักษณะการเข้าทำลายเพลี้ยไฟทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยจะทำลายข้าว โดยการดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบข้าวที่ยังอ่อน โดยอาศัยอยู่ตามซอกใบ ระบาดในระยะกล้า เมื่อใบข้าวโตขึ้น ใบที่ถูกทำลายปลายใบจะเหี่ยวขอบใบจะม้วนเข้าหากลางใบและอาศัยอยู่ในใบที่ม้วนนั้น พบทำลายข้าวในระยะกล้าหรือหลังปักดำ 2-3 สัปดาห์ โดยเฉพาะในช่วงอากาศร้อน แห้งแล้ง หรือฝนทิ้งช่วงนานติดต่อกันหรือสภาพนาข้าวที่ขาดน้ำ ถ้าระบาดมาก ๆ ทำให้ต้นข้าวแห้งตายได้ทั้งแปลง การป้องกันกำจัด เรียบเรียงโดย : สำนักงานเกษตรอำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
เกณฑ์การประเมินพื้นที่ระบาดศัตรูพืชในพืชเศรษฐกิจสำคัญ (1) ข้าว
ข้าว ให้สำรวจอย่างน้อย 10 จุด สำรวจทั่วแปลงในนาหว่าน 10 ต้น ต่อจุดสำรวจ ในนาดำ 1 กอ ต่อจุดสำรวจ (นับทุกต้นใน 1 กอ) 1.เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลพื้นที่ระบาด = พบเฉลี่ยมากกว่า 10 ตัวต่อจุดพื้นที่เฝ้าระวัง = พบเฉลี่ย 1-10 ตัวต่อจุด 2.แมลงหวี่ขาวข้าวพื้นที่ระบาด = พบเฉลี่ยมากกว่า 100 ตัวต่อจุดพื้นที่เฝ้าระวัง = พบเฉลี่ยน้อยกว่า 100 ตัวต่อจุด การป้องกันกำจัดในพื้นที่เฝ้าระวัง : ควรใช้การจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสานในพื้นที่ระบาด : ต้องใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ตามชนิด กลุ่มสาร อัตราที่กำหนด และสลับกลุ่มสารเพื่อป้องกันการดื้อยาของแมลง ที่มา : สำนักงานเกษตรอำเภอเมืองกำแพงเพชร
7 วิธีปฏิบัติ ลดต้นทุนการปลูกข้าว
7 วิธีปฏิบัติ ลดต้นทุนการปลูกข้าว เรียบเรียงโดย : กลุ่มส่งเสริมระบบการผลิตข้าว สำนักส่งเสริมและจัดการสินค้าเกษตร
เกษตรสมุทรปราการแนะนำ แนวทางดูแลรักษาข้าวในช่วงฤดูฝน
เกษตรสมุทรปราการแนะนำ แนวทางดูแลรักษาข้าวในช่วงฤดูฝน โรคข้าวที่พบบ่อยในช่วงฤดูฝน : โรคจากเชื้อรากลุ่มโรคจากเชื้อราพบได้บ่อยในช่วงฤดูฝน อาทิเช่น โรคไหม้ โรคถอดฝักดาบ โรคใบจุดสีน้ำตาล โรคลำต้นเน่า แนวทางป้องกัน : ป้องกันด้วยการใช้สารชีวภัณฑ์ฉีดพ่นเพื่อควบคุมโรค อาทิเช่น เชื้อราไตรโคเดอร์มาหรือเชื้อแบคทีเรียบาซิลลัส เรียบเรียงโดย : สำนักงานเกษตรจังหวัดสมุทรปราการ
เรื่องเล่าเช้าวันจันทร์ ชวนทำความรู้จักเรื่องราวของ “ข้าว”
เรื่องเล่าเช้าวันจันทร์ ชวนทำความรู้จักเรื่องราวของ “ข้าว” รู้หรือไม่? วันที่ 5 มิถุนายน ของทุกปี เป็น “วันข้าวและชาวนาแห่งชาติ” “ข้าว” นอกจากจะเป็นอาหารหลักของคนไทยมาช้านาน ยังเป็นสินค้าส่งออกระดับประเทศ โดยในปี 2566 ประเทศไทยสามารถส่งออกข้าวได้ถึง 8.76 ล้านตัน เลยน้าาา~ ชวนอ่านเรื่องราวเกี่ยวกับ “ข้าว” ใน 5 เอกสารแนะนำที่จะทำให้รู้จักกับข้าวมากขึ้น ลดต้นทุนการผลิตข้าวคลิกอ่าน : https://bit.ly/3WYnmu2 โรค-แมลงศัตรูข้าว และการป้องกันกำจัดคลิกอ่าน : https://bit.ly/3X2TH33 ศัตรูข้าวและการควบคุมคลิกอ่าน : https://bit.ly/3wTVqgi ศัตรูธรรมชาติตัวดี..ในนาข้าวคลิกอ่าน : https://bit.ly/3Hzr1p2 วัชพืชตัวร้ายในนาข้าวคลิกอ่าน : https://bit.ly/4aBdPfK สามารถเข้าดูเรื่องอื่นๆ เพิ่มเติมได้ที่ >> https://bit.ly/4dEoSHO