ศูนย์วิทยบริการเพื่อส่งเสริมการเกษตร

10

เรื่องล่าสุด

เกษตรกร โปรดทราบ! ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง มาตรการบริหารจัดการป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) ภาคการเกษตร ลงวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2568 (ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2568) กรมส่งเสริมการเกษตร ดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหาการเผาในพื้นที่เกษตรกรรมในทุกจังหวัดอย่างเข้มงวด ขอความร่วมมือเกษตรกรทุกจังหวัดทำการเกษตรแบบปลอดการเผา

กล้วยน้ำว้าเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ พันธุ์สุโขทัย 1 คุณค่าทางโภชนาการ ต่อกล้วยน้ำว้า 100 กรัม วิธีการปลูก การดูแลรักษา การใส่ปุ๋ย ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักในเดือนแรกอัตรา 1 กิโลกรัม/ต้น เดือนที่ 3 และเดือนที่ 6 อัตรา 1-2 กิโลกรัม/ต้น การไว้หน่อ หลังจากปลูกกล้วย

เกษตรกรไทยร่วมใจหยุดเผาในพื้นที่การเกษตรอย่างยั่งยืน ด้วย 3R Model : 3 เปลี่ยน 1.เปลี่ยนพฤติกรรม Re-Habitปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการปลูกพืชชนิดเดิมแบบไม่เผา โดยการนำเครื่องจักรเข้ามาช่วยในการเก็บเกี่ยวและส่งเสริมการแปรรูปเพิ่มมูลค่าเศษวัสดุทางการเกษตร เพื่อลดการเผา 2.เปลี่ยนชนิดพืช Replace with High Value Cropsปรับเปลี่ยนชนิดพืชที่ปลูกบนพื้นที่สูง จากพืชไร่เป็นไม้ผล พืชเศรษฐกิจแบบผสมผสานที่มีมูลค่าสูง เช่น กาแฟ อะโวคาโด

“14 กุมภา วันวาเลนไทน์ ดอกไม้แทนใจ” วันที่ 14 กุมภาพันธ์ วันวาเลนไทน์ กรมส่งเสริมการเกษตรมีความหมายดี ๆ ของดอกไม้แทนใจ มาฝากพร้อมกับ 4 เมนูที่สามารถทำได้ในช่วงวันวาเลนไทน์ค่ะ 14 กุมภาวันวาเลนไทน์ ดอกไม้แทนใจความหมายดี ๆคลิกอ่าน : https://bit.ly/4jID4T7 4 เมนูฮิตสุดปัง

นายยุทธพงษ์ รัตนวิทย์ เกษตรกรต้นแบบ ได้นำเทคโนโลยีทางการเกษตรมาใช้ เช่น โรงเรือนปลูกพืชและระบบน้ำ มีการวางระบบน้ำในแปลงปลูกพืชผัก เช่น ระบบน้ำหยดและมินิสปริงเกอร์ และระบบการให้น้ำอัจฉริยะ (Handy Sense) มาใช้ในโรงเรือนปลูกผัก สามารถประหยัดเวลาในการให้น้ำ เพิ่มความแม่นยำในการควบคุมปริมาณน้ำให้แก่พืชผัก ทำให้มีการใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพสูง และสามารถเพาะปลูกได้ตลอดปี สามารถกำหนดปริมาณน้ำให้เหมาะสมและเพียงพอ ตามชนิดพืชที่ปลูกได้ เมื่อพืชได้รับสภาวะแวดล้อมที่เหมาะสมจะช่วยให้ผลผลิตสม่ำเสมอ เกษตรกรได้ใช้งานเทคโนโลยีสมัยใหม่ในราคาที่จับต้องได้จากการติดตั้งใช้งานจริงและพิสูจน์แล้วว่า Handy

ปุ๋ยฟอสฟอรัส (P) ในแต่ละชนิด 18-46-0 แม่ปุ๋ย DAP (ไดแอมโมเนียมฟอสเฟส) มีธาตุอาหารในรูปแอมโมเนียม-ไนโตรเจน 18% และมีฟอสฟอรัสในรูปของ phosphorus pentoxide 46% เป็นแม่ปุ๋ยที่นิยมใช้เป็นวัตถุดิบหลักในการผสมและผลิตปุ๋ย มีคุณสมบัติช่วยเร่งการเจริญเติบโตได้ตั้งแต่ระยะต้นกล้า ช่วยในการเร่งการแตกราก และช่วยบำรุงต้น ส่วนใหญ่จะนิยมใช้กับไม้ดอก ในช่วงระยะการเร่งออกดอก บำรุงดอก ช่วยให้ดอกสมบูรณ์แข็งแรง เกสรสมบูรณ์

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ คือ ลักษณะอากาศเฉลี่ยที่หมายรวมถึงลักษณะที่เกี่ยวข้องกับอากาศทั้งหมด เช่น อุณหภูมิ ฝน ลม ที่มีการเปลี่ยนแปลงในพื้นที่หนึ่ง โดยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจะเป็นผลทางตรง หรือทางอ้อมมาจากกิจกรรมมนุษย์ สถานการณ์ภัยแล้งประกอบกับสภาพอากาศแปรปรวน อาจส่งผลกระทบเป็นชนวงกว้างให้ผลผลิตทางการเกษตรได้รับความเสียหาย สามารถเข้าดูเอกสารได้ตามด้านล่างค่ะ การปรับตัวภาคการเกษตรกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศคลิกอ่าน : https://bit.ly/3CA9fTQ เมื่อภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง เกษตรกรต้องปรับเปลี่ยนอย่างไร?คลิกอ่าน : https://bit.ly/3TtaHvY

วัชพืชในนาข้าว หญ้าข้าวนกลักษณะเด่น : ขณะต้นเล็กคล้ายข้าวมาก รอยต่อระหว่างใบและกาบใบไม่มีเยื่อกันน้ำฝน หญ้าแดงลักษณะเด่น : ลำต้น แนบพื้นดินและชูยอดขึ้น ช่อดอกติดกันแน่นคล้ายธูป หญ้าดอกขาวลักษณะเด่น : รอยต่อระหว่างใบและกาบใบมีเยื่อกันน้ำฝนเป็นแฉก หญ้านกสีชมพูลักษณะเด่น : ลำต้น ใบ และดอก บางทีมีสีชมพู รอยต่อระหว่างใบ และกาบใบไม่มีเยื่อกันน้ำฝนและเขี้ยวกันแมลง ผักปอดนาลักษณะเด่น

โทษจากการเผาในพื้นที่การเกษตร กฎหมายอาญา มาตรา 220 (แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2560)“ผู้ใดทำให้เกิดไฟไหม้แก่วัตถุใด ๆ แม้เป็นของตนเอง จนน่าจะเป็นอันตรายแก่บุคคลอื่น หรือทรัพย์สินของผู้อื่น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 7 ปี และปรับไม่เกิน 140,000 บาท” ถ้าการกระทำความผิดดังกล่าวในวรรคแรก เป็นเหตุเกิดเพลิงไหม้แก่ทรัพย์ ตามที่ระบุไว้ในมาตรา 218 ผู้กระทำต้องระะวางโทษดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา

4 เมนูฮิตสุดปัง ต้อนรับ Valentine’s Day

4 เมนูฮิตสุดปัง ต้อนรับ Valentine's Day

4 เมนูฮิตสุดปัง ต้อนรับ Valentine’s Day ทางเลือกการสร้างรายได้เพิ่มให้เกษตรกร แยมกุหลาบ ส่วนผสม ดอกกุหลาบ 500 กรัม เลม่อน 2 ผล น้ำเปล่า 1 ลิตร น้ำตาลทราย 500 กรัม แพคติน 1 ช้อนโต๊ะ วิธีทำ แกะกลีบกุหลาบออกจากกัน ล้างให้สะอาด ทิ้งให้สะเด็ดน้ำ เติมน้ำตาลทรายขยำจนนน้ำตาลทรายละลายเข้ากันกับกุหลาบ ใส่แพคติน นำใส่ภาชนะกวนจนส่วนผสมข้น เติมน้ำมะนาว ปิดไฟ ทิ้งไว้ให้อุ่น ใส่ภาชนะ เก็บไว้ในตู้เย็นได้ 1 เดือน ไซรัปกุหลาบ ส่วนผสม ดอกกุหลาบ 200 กรัม น้ำเปล่า 400 มิลลิลิตร น้ำตาลทรายแดง 2 ถ้วยตวง น้ำเลม่อน 2 ช้อนโต๊ะ วิธีทำ แกะกลีบกุหลาบออกจากกันแล้วล้างให้สะอาด นำหม้อใส่น้ำตาลทรายแดง น้ำเปล่า คนส่วนผสมให้เข้ากัน ตั้งไฟ พอน้ำเดือดใส่กุหลาบลงต้ม เคี่ยวจนสส่วนผสมข้นเหนียว เติมน้ำมะนาว ยกลง ทิ้งให้อุ่น ใส่ภาชนะที่เตรียมไว้ เก็บไว้ในตู้เย็น ได้ 2-3 สัปดาห์ ชากุหลาบ วิธีทำ เด็ดกลีบกุหลาบออกเป็นกลีบ ๆ ลอยกลีบกุหลาบลงในชามน้ำ แล้วกวักน้ำผ่านเร็ว ๆ อย่างเบามือเพื่อไม่ให้กลีบกุหลาบช้ำ ช้อนกลีบกุหลาบขึ้นผึ่งให้หมาดในถาดที่รองกระดาษทิชชู่หรือผ้าสะอาด ใส่กลีบกุหลาบลงในถุงผ้าโปร่งหรือถุงแก้ว นำไปแขวนในที่อากาศถ่ายเท ประมาณ 3-4 วัน จนกลีบกุหลาบแห้งดี เมื่อกุหลาบแห้งดีแล้ว กลีบกุหลาบจะสีเข้มขึ้น และมีลักษณะเบา กระจายตัวออกจากกัน ใส่ชากุหลาบในที่มีฝาปิดสนิท เก็บไว้ได้นาน 1-2 เดือน หรือจนกว่าชากุหลาบจะหมดกลิ่นและเริ่มแตกเป็นผง หลีกเลี่ยงการเก็บในที่อากาศร้อนและโดนแสงแดดโดยตรง คุกกี้กุหลาบ ส่วนผสม เนยสด 115 กรัม น้ำตาลทราย 50 กรัม ไข่แดง 1 ฟอง วานิลลา 1 ช้อนชา กลิ่นกุหลาบ 1-4 ช้อนชา ผงกุหลาบ 10 กรัม แป้งสาลี 200 กรัม เบคกิ้งโซดา 1-4 ช้อนชา แครนเบอรี่ 30 กรัม อัลมอนด์ 15 กรัม สีแดงกุหลาบ 4-5 หยด วิธีทำ ผสมเนยกับน้ำตาล ใส่ไข่แดง วานิลลา กลิ่นกุหลาบ ผงกุหลาบ ผสมให้เข้ากัน ใส่แป้งและเบคกิ้งโซดา ใส่แครนเบอรี่ และถั่ว ผสมนวดเป็นก้อน ทำเป็นรูปร่างที่ต้องการ แช่เย็น 30 นาที ตัดเป็นชิ้น อบที่ 180 องศาเซลเซียส ประมาณ 12-15 นาที อ้างอิง : ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงทุ่งเริง จังหวัดเชียงใหม่ เรียบเรียงโดย : กลุ่มส่งเสริมและพัฒนาเกษตรกร สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 6 จังหวัดเชียงใหม่ กุมภาพันธ์ ; 2568