ด้วงงวงมะพร้าว
ด้วงงวงมะพร้าว ชื่อวิทยาศาสตร์ : Rhynchophorus ferrugineus การเข้าทำลายมักพบการเข้าทำลายตามรอยทำลายของด้วงแรดมะพร้าว โดยด้วงงวงมะพร้าว จะวางไข่บนแผลบริเวณลำต้น หรือบริเวณยอดต้นมะพร้าวที่ด้วงแรดเจาะทำลายไว้ หากถูกด้วงงวงมะพร้าวเข้าทำลายจำนวนมาก มะพร้าวจะมีอาการยอดอ่อนเหี่ยวแห้ง ใบเหลืองหักพับ บางครั้งพบการเข้าทำลายที่โคนลำต้น ทำให้ต้นตาย การป้องกันกำจัด วิธีเขตกรรมทำความสะอาดบริเวณสวนมะพร้าว เพื่อกำจัดแหล่งขยายพันธุ์ของด้วงแรด หากพบหนอนหรือดักแด้ด้วงงวงมะพร้าวให้จับมาทำลาย วีธีกลใช้เหล็กยาวปลายเป็นตะขอแทงเข้าไปในต้นเพื่อเกี่ยวตัวหนอนออกมาทำลาย และทาบริเวณรอยแผลด้วยสารทาร์ (เป็นส่วนผสมของน้ำมันเครื่อง 1 ลิตรผสมกับกำมะถันผง 100 กรัม คนให้เข้ากัน) เพื่อป้ิงกันไม่ให้ด้วงงวงมะพร้าวเข้าทำลายซ้ำรอยแผลที่เกิดจากการตัดทางใบ หรือรอยแตกที่โคนลำต้น ควรใช้สารทาร์ทาเพื่อป้องกันการวางไข่ ชีววิธีใช้เชื้อราเขียวเมตาไรเซียม ใส่ไว้บริเวณกองปุ๋ยคอก หรือท่อนมะพร้าวที่มีหนอนด้วงแรดมะพร้าวอาศัยอยู่ การใช้สารเคมีใช้สารไดอะซินอน 60% EC หรือสารฟิริมิฟอสเมทิล 50% EC อัตรา 80 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร ราดบริเวณคอมะพร้าวตั้งแต่โคนยอดอ่อนลงมา โดยใช้ปริมาณ 1-1.5 ลิตรต่อต้น ในช่วงที่พบการระบาด ที่มา : กองส่งเสริมการอารักขาพืชและจัดการดินปุ๋ย
ด้วงงวงมะพร้าว
ด้วงงวงมะพร้าว ด้วงงวงมะพร้าวมี 2 ชนิด ได้แก่ ด้วงงวงมะพร้าวชนิดเล็ก และด้วงงวงมะพร้าวชนิดใหญ่ ตัวเต็มวัยเป็นแมลงปีกแข็ง ขนาดเล็กกว่าด้วงแรด ลำตัวสีน้ำตาลแดง ส่วนหัวมีงวงยื่นออกมา เพศเมียจะมีงวงยาวกว่าเพศผู้ ดาวน์โหลดไฟล์ PDF. เรียบเรียงโดย : กลุ่มอารักขาพืช สำนักงานเกษตรจังหวัดชลบุรี
ด้วงสาคู
คู่มือการเลี้ยงด้วงงวงมะพร้าว (ด้วงสาคู) เรียบเรียง : คณะทำงานบริหารจัดการด้วงงวงมะพร้าว (ด้วงสาคู)ตามคำสั่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ที่ 819/2565ลงวันที่ 30 สิงหาคม 2564 จัดทำในรูปแบบไฟล์อิเล็กทรอนิกส์ : มกราคม พ.ศ. 2565ดำเนินการผลิตโดย : กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ดาวน์โหลดไฟล์ PDF.