โรครากเน่าโคนเน่าในทุเรียน
โรครากเน่าโคนเน่าในทุเรียน เชื้อสาเหตุ : Phytophthora palmivora ลักษณะการทำลาย อาการที่กิ่งและที่ลำต้นหรือโคนต้นระยะแรกจะแสดงอาการใบเหลืองเป็นบางกิ่ง สังเกตเห็นคล้ายคราบน้ำบนผิวเปลือกของกิ่งหรือต้น ในช่วงเช้าที่มีอากาศชื้นอาจเห็นเป็นหยดของเหลวสีน้ำตาลแดงออกมาจากบริเวณแผล และจะค่อย ๆ แห้งไปในช่วงที่มีแดดจัด ทำให้เห็นเป็นคราบ เมื่อใช้มีดถากบริเวณคราบนั้น จะพบเนื้อเยื่อเปลือกและเนื้อไม้เป็นแผลสีน้ำตาล ถ้าแผลขยายใหญ่ลุกลามจนรอบโคนต้น จะทำให้ทุเรียนใบร่วงจนหมดต้น และยืนต้นแห้งตาย อาการที่รากเริ่มแรกจะเห็นใบที่ปลายกิ่งมีสีซีด ไม่เป็นมันเงา เหี่ยวลู่ลง เมื่ออาการรุนแรงมากขึ้น ใบจะเหลืองและหลุดร่วง หากขุดดูราก จะพบรากฝอยมีลักษณะเปลือกล่อน และเปื่อยยุ่ยเป็นสีน้ำตาล อาการที่ใบใบอ่อนแสดงอาการเหี่ยวเหลือง บริเวณแผลมีลักษณะฉ่ำน้ำ สีน้ำตาลอ่อน และเปลี่ยนเป็นสีดำ ตายนึ่งคล้ายน้ำร้อนลวก เส้นใบมีสีน้ำตาลดำ เกิดอาการไหม้แห้งคาต้น อย่างรวดเร็วแล้วค่อย ๆ ร่วงไป พบมากช่วงฝนตกหนักต่อเนื่องหลายวัน แนวทางแก้ไข/ป้องกัน ที่มา : ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืช จังหวัดชลบุรี
เปิดรับสมัคร เกษตรกรผู้สนใจเข้าร่วม อบรม เรื่องโรคและแมลงศัตรูพืชทุเรียน
ประกาศ สำนักงานเกษตรอำเภอพระแสง เปิดรับสมัคร เกษตรกรผู้สนใจเข้าร่วม อบรม เรื่องโรคและแมลงศัตรูพืชทุเรียน ในวันที่ 8 ตุลาคม 2567 เวลา 10.00 -14.00 น. ณ ศาลาหมู่บ้านหมู่ที่ 6 ต.ไทรขึง อ.พระแสง จ.สุราษฎร์ธานี
ด้วงหนวดยาวเจาะลำต้นทุเรียน
เตือนเกษตรกรผู้ปลูกทุเรียนในพื้นที่จังหวัดชลบุรี เฝ้าระวังการระบาดของด้วงหนวดยาว พบการระบาดในแหล่งปลูกทุเรียนตลอดทั้งปี โดยตัวหนอนจะเข้าดักแด้และออกเป็นตัวเต็มวัยในช่วงฤดูฝน ประมาณเดือนกรกฎาคมถึงสิงหาคม เพื่อผสมพันธุ์และวางไข่ ด้วงหนวดยาว มีตัวเต็มวัยสีน้ำตาล มีจุดสีส้มหรือเหลืองกระจายอยู่ทั่วปีก เพศผู้มีหนวดยาวกว่าลำตัว เพศเมียหนวดเท่ากับหรือสั้นกว่าลำตัว จับคู่ผสมพันธุ์และวางไข่ในเวลากลางคืน โดยใช้ปากที่มีเขี้ยวแข็งแรงขนาดใหญ่ กัดเปลือกไม้เพื่อวางไข่แล้วกลบด้วยขุยไม้ ชอบวางไข่ซ้ำบนต้นเดิม ไข่คล้ายเมล็ดข้าวสารสีขาวขุ่น หนอนที่ฟักใหม่จะมีสีขาวครีม ลักษณะการทำลายตัวหนอนจะกัดกินชอนไชใต้เปลือกไม้ และถ่ายมูลออกมาเป็นขุยไม้ติดอยู่ภายนอกอาจควั่นรอบต้น ทำลายท่อน้ำท่ออาหาร ต้นทุเรียนทรุดโทรมและยืนต้นตายได้ ตัวเต็มวัยมีอายุได้นานกว่า 6 เดือน ทำในต้นหนึ่ง ๆ จึงพบไข่และหนอนระยะต่าง ๆ กัน เป็นจำนวนมาก สวนที่มีการระบาดรุนแรงพบหนอนด้วงหนวดยาววัยต่าง ๆ ในต้นทุเรียนเฉลี่ย 40-50 ตัวต่อต้น วิธีป้องกันกำจัด ให้หมั่นออกตรวจบริเวณสวนทุเรียนอย่างสม่ำเสมอ เมื่อพบขุยมูลตัวหนอน ให้ใช้มีดคมถากเปลือกต้นทุเรียนอ
การจัดการน้ำในสวนทุเรียนด้วยระบบ Smart
การจัดการน้ำในสวนทุเรียนด้วยระบบ Smart ทุเรียนชอบน้ำแค่ไหน น้ำน้อย น้ำมากจะจัดการอย่างไร ฯลฯ สารพัดคำถามทุเรียน-น้ำ-ผลผลิต-รายได้ หาคำตอบได้ในกิจกรรมเสวนาออนไลน์หัวข้อ การจัดการน้ำในสวนทุเรียนด้วยระบบ Smart วันศุกร์ที่ 23 สิงหาคม 2567 เวลา 8.30-12.00 น. ผ่านระบบ zoom โดยวิทยากรผู้เชี่ยวชาญจากมหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี และนักวิชาการจาก สวทช. ไม่มีค่าใช้จ่าย ลงทะเบียน https://forms.gle/Bdc1wxs1HgwiX5c3A สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : สำนักงานเกษตร จังหวัดตราด
9 วิธีปลูกทุเรียนให้รอด
9 วิธีปลูกทุเรียนให้รอด เรียบเรียงโดย : ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักพืชจังหวัดพิษณุโลก