ศูนย์วิทยบริการเพื่อส่งเสริมการเกษตร

10

เรื่องล่าสุด

เกร็ดความรู้สำหรับเกษตรกรผู้เลี้ยงครั่ง หลังจากปล่อยครั่งไปแล้ว 1 เดือน ครั่งจะขับถ่ายมูลหวาน ออกมาจากช่องขับถ่าย หากเกษตรกรที่ปล่อยครั่งบนต้นจามจุรีที่มีขนาดใหญ่ อาจจะสังเกตการเจริญเติบโตของครั่งได้ยาก ดังนั้นเรามีเทคนิคในการสังเกตครั่งมาฝากกันค่ะ 1.ไม้อาศัยต้นเตี้ย ก็จะเห็นการเจริญเติบโตของครั่งได้ชัดเจน มีการสร้างไขสีขาว และการขับน้ำหวานที่มีสีใสออกมา เมื่อสัมผัสอากาศนาน ๆ ก็จะเริ่มแข็งตัวและเปลี่ยนเป็นสีเหลือง สีทอง สีน้ำตาล 2.ไม้อาศัยต้นใหญ่และมีความสูงมาก เราอาจจะสังเกตได้ดังนี้ เรียบเรียง :

แมลงศัตรูพืชในฤดูร้อนที่ต้องระวัง ฤดูร้อนเกษตรกรผู้ปลูกพืชตระกูลกะหล่ำและผักกาด เช่น คะน้า กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก บรอกโคลี กวางตุ้ง ผักกาดขาว ผักกาดหอม ฯลฯ ต้องเผชิญกับศัตรูพืชต่าง ๆ เพราะด้วยสภาพอากาศที่มีความชื้นต่ำติดต่อกันยาวนานหลายเดือน นับเป็นสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมสำหรับแมลงศัตรูพืช ซึ่งสร้างความเสียหายให้กับพืชที่ปลูกได้ โดยแมลงศัตรูพืชที่พบมากในช่วงอากาศร้อน เช่น เพลี้ยอ่อน ด้วงหมัดผัก หนอนใยผัก และหนอนกระทู้ผัก

ส่งเสริมไม่เผาด้วย 3R Model น้ำหมักย่อยสลายฟาง “จุลินทรีย์หน่อกล้วย” วัตถุดิบ วิธีทำ การนำไปใช้ใช้น้ำหมักชีวภาพอัตรา 5 ลิตรต่อไร่ เจือจางกับน้ำ 100 ลิตร ราดลงในแปลงข้าวเพื่อช่วยให้ตอซังข้าวย่อยสลายได้ง่าย หมักไว้ประมาณ 2 สัปดาห์ แล้วจึงปั่นดินนาทำเทือกเพื่อเตรียมเพาะปลูกข้าวครั้งใหม่ต่อไป เรียบเรียงโดย : สำนักงานเกษตรอำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี

แคดเมียน (CADMIUM) คืออะไร??แคดเมียนเป็นแร่โลหะชนิดหนึ่ง สามารถเกิดขึ้นได้เองในธรรมชาติ โดยอาจมาจากวัตถุต้นกำเนิดดิน การทำเหมืองแร่ โรงงานผลิตไฟฟ้าโดยใช้ถ่านหิน การทำแบตเตอรี่ การใช้ปุ๋ย และสารเคมีกำจัดศัตรูพืชในการเกษตร และสามารถพบแคดเมียมปนเปื้อนได้ในอาหารและน้ำ การปนเปื้อนโลหะหนักในดิน มีสาเหตุมาจากกิจกรรมทางการเกษตรและอุตสาหกรรม เช่น การทิ้งของเสียโดยไม่มีการจัดการอย่างเหมาะสม ทำให้เกิดการตกค้างและสะสมโลหะหนักในดิน เช่น สารหนู แคดเมียม ตะกั่ว ปรอท เป็นต้น

แมลงสิง ศัตรูข้าวระยะออกรวง รูปร่างลักษณะ ลักษณะการทำลาย การป้องกันกำจัด เรียบเรียง : กลุ่มส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนด้านอารักขาพืชและดินปุ๋ย กองส่งเสริมการอารักขาพืชและจัดการดินปุ๋ย

ขอเชิญชวนร่วมงานรณรงค์สร้างการรับรู้และการเรียนรู้การเกษตรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green Day)  พบกับกิจกรรมที่น่าสนใจภายในงาน สถานีเรียนรู้เกี่ยวกับการทำการเกษตรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และการออกร้านจำหน่ายสินค้าจากเกษตรกร กลุ่มเกษตรกรต่าง ๆ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : สำนักงานเกษตรจังหวัด สุราษฎร์ธานี

ขอเชิญชวนร่วมงานโครงการคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ในพระราชานุเคราะห์สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ไตรมาส 2 ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ภายในงานพบกับ  สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : สำนักงานเกษตรอำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่

เชิญชวน เข้าร่วมเวทีรณรงค์สร้างการรับรู้และการเรียนรู้การเกษตรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม(Green Day) โครงการส่งเสริมการเกษตรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ในวันพฤหัสบดี ที่ 20 กุมภาพันธ์ 2568 ณ ลานวัฒนธรรมตำบลเขาขาว อำเภอละงู จังหวัดสตูล ภายในงานพบกับ>>>ฐานเรียนรู้ 5 ฐาน 1.เทคโนโลยีการผลิตข้าวและการใช้จุลินทรีย์ย่อยสลายตอซัง 2.การใช้แหนแดงในนาข้าว 3.การสร้างมูลค่าเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร 4.การปลูกพืชหลังนา 5. การเพาะเห็ดฟางในตะกร้า

เชื้อราไตรโคเดอร์มา Trichoderma spp. เชื้อราไตรโคเดอร์มา เชื้อราชนิดหนึ่งที่ดำรงชีวิตอยู่ในดิน อาศัยเศษซากอินทรีย์วัตถุเป็นอาหาร โดยมีคุณสมบัติในการควบคุมและทำลายเชื้อราสาเหตุโรคพืชทางดิน จึงทำให้พืชมีระบบรากที่สมบูรณ์ แข็งแรง หาอาหารได้มาก ต้นพืชจึงสมบูรณ์ให้ผลผลิตสูง และคุณภาพดี เชื้อราไตรโคเดอร์มา เป็นเชื้อราที่ยับยั้งการเจริญเติบโตและทำลายเชื้อราสาเหตุโรคพืชหลายชนิด ดังนี้ การเข้าทำลายโรคพืชของเชื้อราไตรโคเดอร์มา การใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มา จัดทำโดย : สำนักงานเกษตรอำเภอตาพระยา จังหวัดสระแก้ว

เรื่องเล่าเช้าวันจันทร์ “ธาตุอาหารพืช”

เรื่องเล่าเช้าวันจันทร์ "ธาตุอาหารพืช"

พืชมีความต้องการธาตุอาหาร เพื่อใช้ในการเจริญเติบโต โดยธาตุอาหารของพืชถูกเเบ่งออกเป็นธาตุอาหารหลัก ธาตุอาหารรอง และธาตุอาหารเสริม วันนี้ชวนอ่านเรื่องราวของ “ธาตุอาหารพืช” และอาการเกิดโรคต่างๆ จากการขาดธาตุอาหารใน 3 เอกสารคำแนะนำดังนี้ค่ะ ธาตุอาหารพืชคลิกอ่าน : https://bit.ly/3VlXVkD การวินิจฉัยอาการผิดปกติของพืชที่เกิดจากธาตุอาหารคลิกอ่าน : https://bit.ly/3VocSma การวินิจฉัยอาการด่างที่เกิดจากเชื้อไวรัสและการขาดธาตุอาหารคลิกอ่าน : https://bit.ly/3PP7579

ธาตุอาหารพืช

ธาตุอาหารพืช

ธาตุอาหารพืช ธาตุอาหารพืชที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช มีทั้งหมด 17 ธาตุ ธาตุที่ได้จากอากาศมี 3 ธาตุ ได้แก่ จัดทำโดย : สำนักงานเกษตรอำเภอเมืองกำแพงเพชร

17 ธาตุอาหารพืช

ธาตุอาหารพืช

17 ธาตุอาหารพืช เรียงเรียงโดย : ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืชจังหวัดพิษณุโลก ธาตุอาหารที่ได้ฟรีจากธรรมชาติ มี 3 ธาตุ ได้แก่ 1. C = คาร์บอน = พืชได้รับจากอากาศ องค์ประกอบของพืช ช่วยในกระบวนการสังเคราะห์แสง2. O = ออกซิเจน = พืชได้รับจากอากาศ และน้ำ ช่วยในกระบวนการสังเคราะห์แสง3. H = ไฮโดรเจน = พืชได้รับจากน้ำ ช่วยในกระบวนการสังเคราะห์แสง ธาตุอาหารหลัก พืชได้รับธาตุอาหารจากดิน พืชต้องการในปริมาณมาก ส่วนใหญ่ในดินมักขาด 4. N = ไนโตรเจน = พืชใช้ในการเจริญเติบโตทางลำต้น และใบ แหล่งโปรตีน กรดอะมิโน ละลายง่าย สูญเสียง่าย5. P = ฟอสฟอรัส = เป็นแหล่งพลังงานของพืช ละลายยาก ตกตะกอนง่าย จำเป็นในการออกดอก แตกรากดี6. K = โพแทสเซียม = ควบคุมการเปิดปิดปากใบ คลื่อนย้ายสารอาหาร เพิ่มคุณภาพผลผลิต ธาตุอาหารรอง พืชได้รับธาตุอาหารจากดิน พืชต้องการในปริมาณรองลงมา ส่วนใหญ่ในดินมักขาด 7. Ca = แคลเซียม = เป็นส่วนประกอบผนังเซลล์ ขยายผล ผลไม่แตก กิ่งไม่หัก ขั้วไม่หลุด8. Mg = แมกนีเซียม = กระบวนการสังเคราะห์แสง ใบเขียว ทำงานร่วมกับ N9. S = กำมะถัน = กลิ่นดี สีสวย ใส่มากดินเป็นกรด ธาตุอาหารเสริม พืชได้รับธาตุอาหารจากดิน พืชต้องการในปริมาณเล็กน้อย แต่ก็ขาดไม่ได้ ส่วนใหญ่มีในดิน 10. B = โบรอน = ช่วยให้พืชดูด Ca และ N ขั้วเหนียว ดอกผลไม่ร่วง11. Zn = สังกะสี = เป็นส่วนประกอบของฮอร์โมน เอนไซม์ ช่วยให้พืชใบเขียว12. Cu = ทองแดง = ช่วยเพิ่มอายุคลอโรฟิวส์ ใบพืชเขียวนาน สังเคราะห์แสงได้ดี13. Fe = เหล็ก = ช่วยในกระบวนการสังเคราะห์อาหาร ปรุงอาหารของพืช14. Cl = คลอรีน = การรักษาสมดุล ช่วยให้ผลผลิตสุกแก่เร็ว มักไม่ค่อยขาด จำเป็นมากสำหรับมะพร้าว15. Mn = แมงกานีส = ควบคุมกิจกรรม N และ Fe กระบวนการสังเคราะห์แสง มีผลต่อใบพืช16. Mo = โมลิบดีนัม = จำเป็นสำหรับจุลินทรีย์ในดิน ช่วยตรึง N ให้พืช สร้างคลอโรฟิวส์17. Ni = นิกเกิล = เป็นองค์ประกอบสำคัญของเอนไซม์ ช่วยในการงอกของเมล็ด ส่วนใหญ่พืชมักไม่ขาดธาตุนี้ ธาตุอาหารพืช ฟอสฟอรัส (Pพี) ประโยชน์ของฟอสฟอรัส1. เร่งการเจริญเติบโต และการแพร่กระจายของราก ช่วยในการการแตกกอของพืช2. ช่วยในการเจริญช่อดอก การแบ่งเซลล์ของตาดอก ควบคุมการออกดอก ออกผลและการสร้างเมล็ด3. เป็นแหล่งพลังงานของพืช ช่วยให้กระบวนการต่างๆของพืชดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ อาการพืชเมื่อขาดธาตุฟอสฟอรัส1. ระบบรากจะไม่เจริญเติบโต พืชแตกกอไม่ดี2. ใบแก่จะเปลี่ยนจากสีเขียว เป็นสีม่วง แล้วกลายเป็น สีน้ำตาลและหลุดร่วง3. ลำต้นแคระแกร็นไม่ผลิดอกออกผล สูตรปุ๋ยฟอสฟอรัสที่หาซื้อได้18 – 46 – 00 – 52 – 34 ธาตุอาหารพืช ฟอสฟอรัส (Pพี) ประโยชน์ของฟอสฟอรัสธาตุอาหารพืช โพแทสเซียม(Kเค) ประโยชน์ของโพแทสเซียม1. ช่วยในการสังเคราะห์น้ำตาล แป้ง และโปรตีน ส่งเสริมการเคลื่อนย้ายน้ำตาลจากใบไปสู่ผล2. ทำให้ผลโตเร็ว น้ำหนักดี และมีคุณภาพดี3. ช่วยให้พืชแข็งแรง ทนแล้ง ทนเค็ม ต้านทานต่อโรคและแมลงบางชนิด อาการพืชเมื่อขาดธาตุโพแทสเซียม1. พืชจะไม่แข็งแรง ลำต้นอ่อนแอ2. ลำต้นแคระแกร็นไม่ผลิดอกออกผล3. ผลผลิตมีคุณภาพต่ำ สีไม่สวย รสชาดไม่ดี สูตรปุ๋ยโพแทสเซียมที่หาซื้อได้0 – 0- 500 – 0 – 60