ศูนย์วิทยบริการเพื่อส่งเสริมการเกษตร

10

เรื่องล่าสุด

การปรับตัวภาคการเกษตรกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ 10 ทางเลือกการจัดการวัสดุทางการเกษตรลดต้นทุน 1.ไถกลบแทนการเผาเป็นการเพิ่มปุ๋ยให้ดิน ลดการใช้ปุ๋ยเคมีได้ถึง 261 บาท/ไร่ 2.ผลิตปุ๋ยอินทรีย์ทดแทนปุ๋ยเคมี ลดต้นทุนการใช้ปุ๋ย 6 บาท/กิโลกรัม 3.เลี้ยงสัตว์ด้วยอาหารหมักลดต้นทุนอาหารสัตว์ 3.83 บาท/กิโลกรัม 4.วัสดุห่มดินช่วยรักษาความชื้นในดิน 5.หัวเชื้อจุลินทรีย์ ย่อยสลายตอซังข้าวใช้หัวเชื้อจุลินทรีย์ช่วยย่อยสลายตอซังข้าวได้ 7-10 วัน ลดต้นทุน 1,000 บาท/ไร่

ห้องสมุดกรมส่งเสริมการเกษตร แนะนำหนังสือใหม่ เดือนมกราคม 2568 สามารถเข้ามารับบริการการอ่านได้ที่ ห้องสมุดกรมส่งเสริมการเกษตร อาคารส่งเสริมการเกษตรเบญจสิริกิติ์ ชั้น 5 (ห้องสมุดกรมส่งเสริมการเกษตร) สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : โทรศัพท์ 0-2579-2594 โทรสาร 0-2579-5517 สืบค้นข้อมูลเรื่องอื่น ๆ เพิ่มเติมได้ที่ : http://library.doae.go.th

เมื่อวันที่ 14 มกราคม 2568 ศูนย์วิทยบริการเพื่อส่งเสริมการเกษตร ได้ส่งมอบกล่องยูเอสที ให้กับการทางพิเศษแห่งประเทศไทย ในโครงการกล่องวิเศษ ทางพิเศษรักษ์โลก ปีงบประมาณ 2567

มาตรการการดำเนินงานภายใต้การรับมือสถานการณ์ไฟป่า หมอกควัน และฝุ่นละออง ปี 2568 ของกรมส่งเสริมการเกษตร 1.มาตรการสร้างความตระหนักรู้และป้องปราม 2.มาตรการบริหารจัดการเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร 3.มาตรการปรับลดการปลูกพืชเชิงเดี่ยว 4.มาตรการไม่เผาเรารับซื้อ 5.มาตรการไฟจำเป็น 6.การประชาสัมพันธ์และสร้างการรับรู้

วิสาหกิจชุมชนและเครือข่ายวิสาหกิจชุมชน โปรดทราบ กรมส่งเสริมการเกษตร เปิดให้วิสาหกิจชุมชนและเครือข่ายวิสาหกิจชุมชน ต่อทะเบียนได้ตั้งแต่ วันที่ 1 – 30 มกราคมของทุกปี โดยยื่นแบบคำขอดำเนินกิจการต่อของวิสาหกิจชุมชนและเครือข่ายวิสาหกิจชุมชน (สวช.03) ณ สำนักงานเกษตรอำเภอที่จดทะเบียน หรือผ่าผ่านเว็บไซต์ ระบบสารสนเทศวิสาหกิจชุมชน https://smce.doae.go.th เอกสารประกอบการยื่น ดังนี้1. หนังสือสําคัญแสดงการจดทะเบียน (ท.ว.ช.2)2. เอกสารสําคัญแสดงการดําเนินกิจการ (ท.ว.ช.3)3.

กรมส่งเสริมการเกษตร เชิญเที่ยวงาน “Beyond & Journey of Siam Orchids” กิจกรรมส่งเสริมการผลิตและการตลาดกลุ่มสินค้ากล้วยไม้ ไม้ดอกไม้ประดับ กิจกรรมภายในงาน พบกับ

โรคราสนิมในถั่ว สาเหตุ : เกิดจากเชื้อรา Uromyces spp. ลักษณะอาการเป็นโรคที่พบบ่อยที่สุดอีกโรคหนึ่งของถั่ว โดยอาจเกิดกับถั่วเกือบทุกชนิด เป็นโรคที่อาจสร้างความเสียหายร้ายแรงได้ ในสภาวะหรือในขณะที่สิ่งแวดล้อมเหมาะสมต่อโรค จะเกิดขึ้นได้บนทุกส่วนของต้นถั่วที่อยู่เหนือดิน แต่จะพบมากที่สุดบนใบ โดยอาการจะเริ่มจากจุดสีเขียวซีดหรือเหลืองที่มีลักษณะกลม ๆ เล็ก ๆ ขึ้นก่อน ต่อมาตอนกลางจุดจะยกนูนสูงขึ้น แล้วแตกออกพร้อมกับจะมีผงหรือกลุ่มของสปอร์สีน้ำตาลแดงเกิดขึ้นเป็นจุด ๆ เห็นได้ชัดเจน ส่วนของเนื้อใบรอบจุดแผลก็จะมีลักษณะเป็นเซลล์ตายสีเหลือง

เตือนเฝ้าระวังศัตรูพืช ประจำเดือนมกราคม 2568 ภาคเหนือข้าว ระวัง เพลี้ยกระโดดหลังขาว หนอนกอข้าว แมลงบั่ว โรคไหม้ข้าวลำไย ระวัง มวนลำไย เพลี้ยแป้ง หนอนกินใบ โรคพุ่มไม้กวาดกาแฟ ระวัง มอดเจาะผลกาแฟ เพลี้ยหอยสีเขียว โรคใบจุดผัก ระวัง หนอนกระทู้ผัก โรคราน้ำค้าง โรคราแป้ง

กระท้อน คลองน้อย สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) ลำดับที่ 7 จังหวัดสุราษฎร์ธานี กระท้อนพันธุ์อีล่าและพันธุ์ปุยฝ้าย จากแหล่งปลูกที่เป็นดินสองน้ำ (น้ำจืดผสมน้ำกร่อย) ทรงผลค่อนข้างกลม ผิวเปลือกสีเหลืองทอง เปลือกบาง เนื้อหนา ไม่ฝาด ปุยหรือเนื้อหุ้มเมล็ดฟู หนา แน่น สีขาว รสชาติหวานอมเปรี้ยวเล็กน้อย ปลูกในพื้นที่ตำบลคลองน้อย บางไทร

การปลูกผักสวนครัวในพื้นที่จำกัด

การปลูกผักสวนครัวในพื้นที่จำกัด

การปลูกผักสวนครัวในพื้นที่จำกัด องค์ความรู้โดย นางลำใย ตรีหิรัญ Smart Farmer พระสมุทรเจดีย์1. ทำสวนผักในถาดใส่เมล็ดผักที่ต้องการปลูกลงไป หมั่นรดน้ำพรวนดิน แล้วนำไปวางในที่แสงแดดส่องถึงพืชที่นิยมปลูกได้แก่ ต้นอ่อนทานตะวัน ผักชี 2. ปลูกผักในแกลลอนเหลือใช้นำแกลลอนที่ไม่ได้ใช้งานแล้วมาล้างน้ำ ให้สะอาด ตัดพลาสติกที่ด้านข้างออก เพื่อให้มีพื้นที่สำหรับปลูกผักและรดน้ำ 3. ปลูกผักในกล่องโฟมกล่องโฟมที่ไม่ใช้แล้วสามารถนำมาปลูกผักได้เนื่องจากใส่ดินได้เยอะ มีนำหนักเบา เคลื่อนย้ายสะดวก เหมาะสำหรับการปลูกพืชผักกินใบ 4. ปลูกผักในยางรถยนต์เก่ายางรถยนต์เก่า แข็งแรง ทนทาน ทนแดดทนฝน ใส่ดินได้เป็นจำนวนมาก ช่วยให้ผักแตกรากได้ดี 5. ปลูกผักในวัสดุอื่นๆ ที่เหมาะสมนอกจากนั้นสามารถนำเอาวัสดุอื่นๆ เช่น กระบะพลาสติก กล่องพลาสติก ขวดน้ำต่างๆ มาปลูกผักสวนครัว ได้เช่นกัน สำนักงานเกษตรอำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ โทร : 0-2453-7147 Facebook(สำนักงานเกษตรอำเภอพระสมุทรเจดีย์) : https://www.facebook.com/profile.php?id=61551848502329

เรื่องเล่าเช้าวันจันทร์ ชวนชาวเมืองเสริมทักษะ “ปลูกผักในพื้นที่จำกัด” ไปด้วยกัน

เรื่องเล่าเช้าวันจันทร์ ชวนชาวเมืองเสริมทักษะ "ปลูกผักในพื้นที่จำกัด" ไปด้วยกัน

จันทร์นี้ชวนชาวเมืองเสริมทักษะ ปลูกผักในพื้นที่จำกัดไปด้วยกัน ถึงแม้จะมีพื้นที่ภายในบ้านจำกัด แต่สามารถปลูกผักได้หลากหลายชนิดไม่จำกัดน้าาาา เช่น แตงกวา ผักสลัด พริก มะเขือ ต้นหอม สะระแหน่ ผักบุ้งฯ การปลูกผักแบบนี้นอกจากจะประหยัด ใช้เวลาให้เกิดประโยชน์เเล้ว ยังมีผักสดๆ แบบปลอดสารไว้ทานในครัวเรือนอีกด้วย ชวนอ่านเรื่องราวจากทั้ง 4 เอกสารแนะนำ ดังนี้