ศูนย์วิทยบริการเพื่อส่งเสริมการเกษตร

10

เรื่องล่าสุด

ผักปลูกง่ายได้กินใน 60 วัน 4 วัน : ถั่วงอก 7 วัน : เห็ดนางฟ้า ต้นอ่อนผักบุ้ง ต้นอ่อนทานตะวัน 30 วัน : ผักบุ้ง โหระพา แมงลัก กะเพรา สะระแหน่ 40

เรื่องเล่าเช้าวันจันทร์ “ข้อสังเกตก่อนซื้อทุเรียน” ในฤดูกาลปกติ ประเทศไทยมีทุเรียนออกสู่ตลาดประมาณเดือน เม.ย.-ก.ย. นอกจากนี้มีเกษตรกรบางส่วนผลิตทุเรียนนอกฤดู ช่วยสร้างรายได้ให้มากขึ้น หลีกเลี่ยงความเสี่ยงราคาผลผลิตตกต่ำในช่วงผลผลิตออกมากตามฤดูกาล โดยพื้นที่ภาคตะวันออกสามารถเก็บเกี่ยวได้ ตั้งแต่เดือน ก.พ.- มี.ค. ส่วนพื้นที่ภาคใต้สามารถเก็บเกี่ยวได้ตั้งแต่เดือ ธ.ค.- ก.พ. 5 ข้อสังเกตก่อนซื้อทุเรียนคลิกอ่าน : https://bit.ly/42Tgsr5 ชาวสวนไม่ตัด ผู้บริโภคไม่ซื้อ ทุเรียนอ่อนคลิกอ่าน

ระบบเกษตรอัจฉริยะ “Handy Sense” HandySense ระบบเกษตรแม่นยำ ฟาร์มอัจฉริยะ ผนวกเทคโนโลยีเซนเซอร์ตรวจวัดสภาพแวดล้อมทางการเกษตรและระบบควบคุมการทำงานอัตโนมัติได้รับการออกแบบให้ใช้งานง่ายทนทานต่อสภาพแวดล้อม สามารถเข้าใจ HandySense ได้เพิ่มขึ้น คลิกเพิ่มเติมจากลิงก์ด้านล่างได้เลยค่ะ Handy sense เกษตรอัจฉริยะรับชม : https://bit.ly/40ZOp8Q เพิ่มรายได้ เพิ่มผลผลิต ด้วยระบบเกษตรอัจฉริยะ “Handy Sense”คลิกอ่าน : https://bit.ly/4b6ED9A

เกร็ดความรู้สำหรับเกษตรกรผู้เลี้ยงครั่ง หลังจากปล่อยครั่งไปแล้ว 1 เดือน ครั่งจะขับถ่ายมูลหวาน ออกมาจากช่องขับถ่าย หากเกษตรกรที่ปล่อยครั่งบนต้นจามจุรีที่มีขนาดใหญ่ อาจจะสังเกตการเจริญเติบโตของครั่งได้ยาก ดังนั้นเรามีเทคนิคในการสังเกตครั่งมาฝากกันค่ะ 1.ไม้อาศัยต้นเตี้ย ก็จะเห็นการเจริญเติบโตของครั่งได้ชัดเจน มีการสร้างไขสีขาว และการขับน้ำหวานที่มีสีใสออกมา เมื่อสัมผัสอากาศนาน ๆ ก็จะเริ่มแข็งตัวและเปลี่ยนเป็นสีเหลือง สีทอง สีน้ำตาล 2.ไม้อาศัยต้นใหญ่และมีความสูงมาก เราอาจจะสังเกตได้ดังนี้ เรียบเรียง :

แมลงศัตรูพืชในฤดูร้อนที่ต้องระวัง ฤดูร้อนเกษตรกรผู้ปลูกพืชตระกูลกะหล่ำและผักกาด เช่น คะน้า กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก บรอกโคลี กวางตุ้ง ผักกาดขาว ผักกาดหอม ฯลฯ ต้องเผชิญกับศัตรูพืชต่าง ๆ เพราะด้วยสภาพอากาศที่มีความชื้นต่ำติดต่อกันยาวนานหลายเดือน นับเป็นสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมสำหรับแมลงศัตรูพืช ซึ่งสร้างความเสียหายให้กับพืชที่ปลูกได้ โดยแมลงศัตรูพืชที่พบมากในช่วงอากาศร้อน เช่น เพลี้ยอ่อน ด้วงหมัดผัก หนอนใยผัก และหนอนกระทู้ผัก

ส่งเสริมไม่เผาด้วย 3R Model น้ำหมักย่อยสลายฟาง “จุลินทรีย์หน่อกล้วย” วัตถุดิบ วิธีทำ การนำไปใช้ใช้น้ำหมักชีวภาพอัตรา 5 ลิตรต่อไร่ เจือจางกับน้ำ 100 ลิตร ราดลงในแปลงข้าวเพื่อช่วยให้ตอซังข้าวย่อยสลายได้ง่าย หมักไว้ประมาณ 2 สัปดาห์ แล้วจึงปั่นดินนาทำเทือกเพื่อเตรียมเพาะปลูกข้าวครั้งใหม่ต่อไป เรียบเรียงโดย : สำนักงานเกษตรอำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี

แคดเมียน (CADMIUM) คืออะไร??แคดเมียนเป็นแร่โลหะชนิดหนึ่ง สามารถเกิดขึ้นได้เองในธรรมชาติ โดยอาจมาจากวัตถุต้นกำเนิดดิน การทำเหมืองแร่ โรงงานผลิตไฟฟ้าโดยใช้ถ่านหิน การทำแบตเตอรี่ การใช้ปุ๋ย และสารเคมีกำจัดศัตรูพืชในการเกษตร และสามารถพบแคดเมียมปนเปื้อนได้ในอาหารและน้ำ การปนเปื้อนโลหะหนักในดิน มีสาเหตุมาจากกิจกรรมทางการเกษตรและอุตสาหกรรม เช่น การทิ้งของเสียโดยไม่มีการจัดการอย่างเหมาะสม ทำให้เกิดการตกค้างและสะสมโลหะหนักในดิน เช่น สารหนู แคดเมียม ตะกั่ว ปรอท เป็นต้น

แมลงสิง ศัตรูข้าวระยะออกรวง รูปร่างลักษณะ ลักษณะการทำลาย การป้องกันกำจัด เรียบเรียง : กลุ่มส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนด้านอารักขาพืชและดินปุ๋ย กองส่งเสริมการอารักขาพืชและจัดการดินปุ๋ย

ขอเชิญชวนร่วมงานรณรงค์สร้างการรับรู้และการเรียนรู้การเกษตรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green Day)  พบกับกิจกรรมที่น่าสนใจภายในงาน สถานีเรียนรู้เกี่ยวกับการทำการเกษตรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และการออกร้านจำหน่ายสินค้าจากเกษตรกร กลุ่มเกษตรกรต่าง ๆ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : สำนักงานเกษตรจังหวัด สุราษฎร์ธานี

กรมส่งเสริมการเกษตร แนะวิธีฟื้นฟูและดูแลสวนไม้ผลหลังน้ำลด

กรมส่งเสริมการเกษตร แนะวิธีฟื้นฟูและดูแลสวนไม้ผลหลังน้ำลด

กรมส่งเสริมการเกษตร แนะวิธีฟื้นฟูและดูแลสวนไม้ผลหลังน้ำลด กรมส่งเสริมการเกษตรมีความห่วงใยเกษตรกรชาวสวนไม้ผล ที่สวนไม้ผลและผลผลิตอาจเสียหายจากอุทกภัย จึงขอแนะนำวิธีฟื้นฟูและดูแลสวนไม้ผลหลังน้ำลดและขอให้เกษตรกรดำเนินการ ดังนี้             1. เร่งระบายน้ำออกจากโคนต้นไม้ สวนไม้ผล หรือบริเวณที่มีน้ำขังโดยเร็ว ด้วยการขุดร่องระบายน้ำและใช้เครื่องสูบน้ำระบายน้ำออกจากสวนโดยเร็ว หากพื้นที่รอบสวนยังมีน้ำท่วมอยู่ จำเป็นต้องยกขอบแปลงเป็นคันดินเพื่อกันน้ำจากภายนอกทะลักเข้ามาในสวนด้วย             2. อย่านำเครื่องจักรกลเข้าสวนขณะที่ดินยังเปียกอยู่ และไม่ควรเข้าไปเหยียบย่ำบริเวณโคนต้นพืช เพราะดินที่ถูกน้ำท่วมขังโครงสร้างของดินจะง่ายต่อการถูกทำลายและเกิดการอัดแน่นได้ง่าย ซึ่งเป็นผลเสียต่อการไหลซึมของน้ำและกระทบกระเทือนต่อระบบรากของไม้ผล             3. เมื่อดินแห้ง ควรขุดเอาดิน ทราย หรือตะกอนต่าง ๆ ที่มากับน้ำและทับถมอยู่ในแปลงไม้ผลออก รวมทั้งเศษวัสดุต่าง ๆ ด้วย เพื่อความสะดวกในการปฏิบัติงานในแปลงไม้ผล             4. ตัดแต่งกิ่งไม้ผลที่ฉีก หัก และแน่นทึบออก เพื่อให้ทรงพุ่มโปร่ง ช่วยลดการคายน้ำของพืช และเร่งให้พืชแตกใบใหม่เร็วขึ้น หากมีไม้ผลโค่นล้ม ควรทำการตัดแต่งกิ่งและพยุงต้นไม้ผลที่โค่นล้ม ควรทำการตัดแต่งกิ่งและพยุงต้นไม้ผลที่โค่นล้มให้ตั้งตรง และทำไม้ค้ำยันไว้รอบด้าน หากมีผลติดอยู่ให้ตัดแต่งออกเพื่อไม่ให้ต้นโทรม             5. ฉีดพ่นปุ๋ยทางใบ ช่วยให้ไม้ผลฟื้นตัวเร็วขึ้น เพราะระบบรากยังไม่สามารถดูดน้ำและธาตุอาหารจากดินได้ตามปกติ โดยฉีดพ่นปุ๋ยทางใบน้ำสูตร 12-12-12 หรือ 12-9-6 หรือใช้ปุ๋ยเกล็ดสูตร 21-21-21 หรือ 16-21-27 ละลายน้ำแล้วฉีดพ่นก็ได้             6. เมื่อดินแห้งเป็นปกติ ควรพรวนดินให้แก่ไม้ผล เพื่อเพิ่มออกซิเจนให้แก่รากพืช จะช่วยให้รากพืชแตกใหม่ได้ดีขึ้น และใส่ปุ๋ยบำรุงไม้ผลด้วย             7. ในสวนไม้ผลเมื่อถูกน้ำท่วมขังนานๆ หลังน้ำลดมันเกิดปัญหาโรครากเน่า โคนเน่า ควรป้องกันรักษาด้วยการ ใช้สารเคมีกันรา ราดหรือทาโคนต้น เช่น เมตตาแลดซิล (ริโดมิล) อีโฟไซท์-อลูมินั่ม (อาลิเอท) หรือ พีซีเอ็นบี (เทอราดลอร์, บลาสลิโคล) หรืออาจใช้สารชีวภัณฑ์ เช่น โตรโคเดอร์มา หรือปรับสภาพดินด้วยปูนขาว หรือโดโลไมท์ เพื่อให้ดินมีสภาพเป็นกลางหรือด่างเล็กน้อย ไม่เหมาะต่อการเกิดโรค             8. การปลูกซ่อมแซมในสวนไม้ผลหลังถูกน้ำท่วม ควรปรับสภาพดินเมื่อเริ่มแห้งโดยการโรยปูนขาว หรือโดโลไมท์ ป้องกันการเกิดโรครากเน่าและโคนเน่า โรยปุ๋ยคอก และตากดินทิ้งไว้อย่างน้อย 1 เดือนก่อนขุดหลุมปลูก ห้ามดำเนินการในขณะที่ดินยังเปียกชุ่มหรือมีน้ำขังอยู่โดยเด็ดขาด             ทั้งนี้ เกษตรกรชาวสวนไม้ผลควรติดตามสถานการณ์สภาพอากาศอย่างต่อเนื่อง แจ้งความเสียหายและขอรับการสนับสนุนเชื้อราไตรโคเดอร์มาฟื้นฟูไม้ผล ไม้ยืนต้นหลังน้ำลดได้ที่ศูนย์บริการเกษตรพิรุณราช ณ สำนักงานเกษตรอำเภอ และเจ้าหน้าที่ของกรมส่งเสริมการเกษตรใกล้บ้านท่านทุกอำเภอ สำนักส่งเสริมและจัดการสินค้าเกษตร : ข้อมูล                       กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ : ข่าว

เรื่องเล่าเช้าวันจันทร์ “การฟื้นฟูแปลงผัก พืชสมุนไพร ยางพารา และสวนมะพร้าวหลังน้ำลด”

เรื่องเล่าเช้าวันจันทร์ "การฟื้นฟูแปลงผัก พืชสมุนไพร ยางพารา และสวนมะพร้าวหลังน้ำลด"

ชวนอ่านเรื่องราวของ “การฟิ้นฟูแปลงผัก พืชสมุนไพร ยางพารา และสวนมะพร้าวหลังน้ำลด”รู้ก่อน เข้าใจก่อน กับ 4 เอกสารแนะนำดังนี้ การฟื้นฟูแปลงผักหลังน้ำลดคลิกอ่าน : https://bit.ly/48HwaaH การฟื้นฟูพืชสมุนไพรหลังน้ำลดคลิกอ่าน : https://bit.ly/3U4phvu การฟื้นฟูสวนยางพาราหลังน้ำลดคลิกอ่าน : https://bit.ly/42336ry การฟื้นฟูมะพร้าวหลังน้ำลดคลิกอ่าน : https://bit.ly/3T5S6q4 เรียบเรียง : สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 5 จังหวัดสงขลา กรมส่งเสริมการเกษตร