แป้งเท้ายายม่อม

แผ่นพับที่ 5/2567 แป้งเท้ายายม่อม ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านการเกษตร จังหวัดชลบุรี “เท้ายายม่อม” พืชพื้นเมืองประเภทแป้งชนิดหนึ่ง เป็นทรัพยากรทางธรรมชาติด้านพืชพรรณที่บ่งบอกถึงความอุดมสมบูรณ์และความหลากหลายของพืชท้องถิ่นในประเทศไทย พบมากบริเวณภาคตะวันออกและภาคใต้ ส่วนในภาคกลางและภาคตะวันออก จะพบขึ้นกระจายในธรรมชาติบริเวณป่าผลัดใบต่าง ๆ ป่าดิบแล้งที่เป็นดินทราย และบริเวณที่มีร่มเงาของต้นไม้ใหญ่ โดยในพื้นที่ภาคตะวันออกพบได้ตั้งแต่ป่าละเมาะ หาดทราย ไปจนถึงบนเขาหินปูนที่ไม่สูงมากนัก เท้ายายม่อมจัดเป็นพืชล้มลุกฤดูเดียวโดยธรรมชาติ มีระยะเวลาการเจริญเติบโตอย่างน้อย 3 ปี ขึ้นไปจากเมล็ดเป็นพืชที่มีหัวสะสมแป้ง นิยมนำหัวมาผลิตเป็นแป้ง เรียกว่า “แป้งเท้ายายม่อม” ซึ่งเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีการทำมาแต่โบราณ โดยแป้งที่ได้จะมีเนื้อละเอียด เมื่อถูกความร้อนจะมีความใส แวววาว และหนืดเหนียวพอเหมาะ นิยมนำมาทำขนมหวาน ดาวน์โหลดไฟล์ PDF. เรียบเรียง : กลุ่มภูมิปัญญาท้องถิ่นและนวัตกรรมด้านการเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร
ผลิตภัณฑ์ผ้าหม้อห้อม

พัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าหม้อห้อมจากอัตลักษณ์และภูมิปัญญาท้องถิ่น สู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ยั่งยืน กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านทุ่งโฮ้ง หมู่ 5 ตำบลทุ่งโฮ้ง อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ เรียบเรียง : กลุ่มพัฒนาแม่บ้านเกษตรกรและเคหกิจเกษตร กองพัฒนาเกษตรกร ดาวน์โหลดไฟล์ PDF.
การส่งเสริมวิสาหกิจเกษตรฐานชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่น

การส่งเสริมวิสาหกิจเกษตรฐานชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่น ปัจจุบันการประกอบกิจการของวิสาหกิจชุมชนมีความท้าทายมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตามกระแสการเปลี่ยนแปลงของระบบเศรษฐกิจ ภายในประเทศและระบบเศรษฐกิจโลก วิสาหกิจชุมชนจึงต้องมีการปรับตัวในการผลิตสินค้าให้มีมูลค่าสูงโดยสัมพันธ์กับแนวทาง ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ( พ.ศ. 2561 – 2580 ) ที่มุ่งเน้นการพัฒนาและส่งเสริมการสร้างมูลค่าเพิ่มจากเกษตรชีวภาพ ซึ่งครอบคลุม การทําเกษตรที่อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ เกษตรชีวภาพ ปลอดสารพิษ และเกษตรอินทรีย์ รวมถึงการใช้ความหลากหลายทางชีวภาพ ในการผลิตและแปรรูปสินค้าเกษตรด้วยกระบวนการทางชีวภาพ เพื่อนําไปสู่ผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าสูงขึ้น เรียบเรียง : กลุ่มพัฒนาศักยภาพวิสาหกิจชุมชน กองส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน ดาวน์โหลดไฟล์ PDF. ที่มา : วารสารส่งเสริมการเกษตร ปีที่ 56 ฉบับที่ 311 กรกฎาคม-สิงหาคม 2566
ภูมิปัญญาการเพาะเลี้ยงเห็ดตับเต่า

ภูมิปัญญาการเพาะเลี้ยงเห็ดตับเต่า เรียบเรียง : กองวิจัยและพัฒนางานส่งเสริมการเกษตร ที่มา : วารสารส่งเสริมการเกษตร ปีที่ 56 ฉบับที่ 311 กรกฎาคม-สิงหาคม 2566 ดาวน์โหลดไฟล์ PDF.
12.12 จุด check in แหล่งภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านการเกษตร

12 จุด check in แหล่งภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านการเกษตรที่โดดเด่นและมีความเป็นเอกลักษณ์