ศูนย์วิทยบริการเพื่อส่งเสริมการเกษตร

10

เรื่องล่าสุด

เกร็ดความรู้สำหรับเกษตรกรผู้เลี้ยงครั่ง หลังจากปล่อยครั่งไปแล้ว 1 เดือน ครั่งจะขับถ่ายมูลหวาน ออกมาจากช่องขับถ่าย หากเกษตรกรที่ปล่อยครั่งบนต้นจามจุรีที่มีขนาดใหญ่ อาจจะสังเกตการเจริญเติบโตของครั่งได้ยาก ดังนั้นเรามีเทคนิคในการสังเกตครั่งมาฝากกันค่ะ 1.ไม้อาศัยต้นเตี้ย ก็จะเห็นการเจริญเติบโตของครั่งได้ชัดเจน มีการสร้างไขสีขาว และการขับน้ำหวานที่มีสีใสออกมา เมื่อสัมผัสอากาศนาน ๆ ก็จะเริ่มแข็งตัวและเปลี่ยนเป็นสีเหลือง สีทอง สีน้ำตาล 2.ไม้อาศัยต้นใหญ่และมีความสูงมาก เราอาจจะสังเกตได้ดังนี้ เรียบเรียง :

แมลงศัตรูพืชในฤดูร้อนที่ต้องระวัง ฤดูร้อนเกษตรกรผู้ปลูกพืชตระกูลกะหล่ำและผักกาด เช่น คะน้า กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก บรอกโคลี กวางตุ้ง ผักกาดขาว ผักกาดหอม ฯลฯ ต้องเผชิญกับศัตรูพืชต่าง ๆ เพราะด้วยสภาพอากาศที่มีความชื้นต่ำติดต่อกันยาวนานหลายเดือน นับเป็นสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมสำหรับแมลงศัตรูพืช ซึ่งสร้างความเสียหายให้กับพืชที่ปลูกได้ โดยแมลงศัตรูพืชที่พบมากในช่วงอากาศร้อน เช่น เพลี้ยอ่อน ด้วงหมัดผัก หนอนใยผัก และหนอนกระทู้ผัก

ส่งเสริมไม่เผาด้วย 3R Model น้ำหมักย่อยสลายฟาง “จุลินทรีย์หน่อกล้วย” วัตถุดิบ วิธีทำ การนำไปใช้ใช้น้ำหมักชีวภาพอัตรา 5 ลิตรต่อไร่ เจือจางกับน้ำ 100 ลิตร ราดลงในแปลงข้าวเพื่อช่วยให้ตอซังข้าวย่อยสลายได้ง่าย หมักไว้ประมาณ 2 สัปดาห์ แล้วจึงปั่นดินนาทำเทือกเพื่อเตรียมเพาะปลูกข้าวครั้งใหม่ต่อไป เรียบเรียงโดย : สำนักงานเกษตรอำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี

แคดเมียน (CADMIUM) คืออะไร??แคดเมียนเป็นแร่โลหะชนิดหนึ่ง สามารถเกิดขึ้นได้เองในธรรมชาติ โดยอาจมาจากวัตถุต้นกำเนิดดิน การทำเหมืองแร่ โรงงานผลิตไฟฟ้าโดยใช้ถ่านหิน การทำแบตเตอรี่ การใช้ปุ๋ย และสารเคมีกำจัดศัตรูพืชในการเกษตร และสามารถพบแคดเมียมปนเปื้อนได้ในอาหารและน้ำ การปนเปื้อนโลหะหนักในดิน มีสาเหตุมาจากกิจกรรมทางการเกษตรและอุตสาหกรรม เช่น การทิ้งของเสียโดยไม่มีการจัดการอย่างเหมาะสม ทำให้เกิดการตกค้างและสะสมโลหะหนักในดิน เช่น สารหนู แคดเมียม ตะกั่ว ปรอท เป็นต้น

แมลงสิง ศัตรูข้าวระยะออกรวง รูปร่างลักษณะ ลักษณะการทำลาย การป้องกันกำจัด เรียบเรียง : กลุ่มส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนด้านอารักขาพืชและดินปุ๋ย กองส่งเสริมการอารักขาพืชและจัดการดินปุ๋ย

ขอเชิญชวนร่วมงานรณรงค์สร้างการรับรู้และการเรียนรู้การเกษตรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green Day)  พบกับกิจกรรมที่น่าสนใจภายในงาน สถานีเรียนรู้เกี่ยวกับการทำการเกษตรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และการออกร้านจำหน่ายสินค้าจากเกษตรกร กลุ่มเกษตรกรต่าง ๆ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : สำนักงานเกษตรจังหวัด สุราษฎร์ธานี

ขอเชิญชวนร่วมงานโครงการคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ในพระราชานุเคราะห์สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ไตรมาส 2 ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ภายในงานพบกับ  สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : สำนักงานเกษตรอำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่

เชิญชวน เข้าร่วมเวทีรณรงค์สร้างการรับรู้และการเรียนรู้การเกษตรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม(Green Day) โครงการส่งเสริมการเกษตรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ในวันพฤหัสบดี ที่ 20 กุมภาพันธ์ 2568 ณ ลานวัฒนธรรมตำบลเขาขาว อำเภอละงู จังหวัดสตูล ภายในงานพบกับ>>>ฐานเรียนรู้ 5 ฐาน 1.เทคโนโลยีการผลิตข้าวและการใช้จุลินทรีย์ย่อยสลายตอซัง 2.การใช้แหนแดงในนาข้าว 3.การสร้างมูลค่าเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร 4.การปลูกพืชหลังนา 5. การเพาะเห็ดฟางในตะกร้า

เชื้อราไตรโคเดอร์มา Trichoderma spp. เชื้อราไตรโคเดอร์มา เชื้อราชนิดหนึ่งที่ดำรงชีวิตอยู่ในดิน อาศัยเศษซากอินทรีย์วัตถุเป็นอาหาร โดยมีคุณสมบัติในการควบคุมและทำลายเชื้อราสาเหตุโรคพืชทางดิน จึงทำให้พืชมีระบบรากที่สมบูรณ์ แข็งแรง หาอาหารได้มาก ต้นพืชจึงสมบูรณ์ให้ผลผลิตสูง และคุณภาพดี เชื้อราไตรโคเดอร์มา เป็นเชื้อราที่ยับยั้งการเจริญเติบโตและทำลายเชื้อราสาเหตุโรคพืชหลายชนิด ดังนี้ การเข้าทำลายโรคพืชของเชื้อราไตรโคเดอร์มา การใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มา จัดทำโดย : สำนักงานเกษตรอำเภอตาพระยา จังหวัดสระแก้ว

เฝ้าระวังโรคและแมลงศัตรูพืชในไม้ผลช่วงอากาศหนาว

เฝ้าระวังโรคและแมลงศัตรูพืชในไม้ผลช่วงอากาศหนาว

เฝ้าระวังโรคและแมลงศัตรูพืชในไม้ผลช่วงอากาศหนาว ลิ้นจี่ ลำไย มะม่วง พยากรณ์อากาศภาคเหนือช่วงเดือน ม.ค.-ก.พ. 2568 ในช่วงกลางเดือนมกราคมถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์ บริเวณภาคเหนือตอนบนมีความกดอากาศสูง หรือมวลอากาศเย็นกำลังแรงที่ปกคลุมประเทศไทยตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวมีอุณหภูมิลดลงกับมีลมแรง ระยะนี้จะมีอากาศเย็นถึงหนาว และความชื้นในอากาศยังคงมีสูง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคราสนิม ราดำราแป้งและเพลี้ยแป้ง การจัดการและแนวทางป้องกัน การตรวจสอบและเฝ้าระวัง : ควรตรวจสอบพืชอย่างสม่ำเสมอจะช่วยให้สามารถพบการระบาดของโรคหรือแมลงตั้งแต่ระยะแรก ซึ่งจะช่วยลดความเสียหาย การป้องกันโดยวิธีธรรมชาติ : การใช้ศัตรูธรรมชาติ เช่น ตัวห้ำ ตัวเบียน หรือการใช้สารป้องกันเชื้อราในการควบคุมโรค การจัดการการชลประทาน : การควบคุมความชื้นในสวน เช่น การใช้ระบบชลประทานที่มีประสิทธิภาพ ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคเชื้อรา การใช้สารเคมีอย่างเหมาะสม : ในช่วงที่จำเป็น เช่น การใช้สารฆ่าเชื้อรา หรือสารป้องกันแมลงเพื่อควบคุมโรคและแมลงศัตรูพืช การเลือกพันธุ์ที่ทนทาน : พืชที่ทนทานต่อโรคและแมลงศัตรูพืชจะช่วยลดความเสี่ยงในระยะยาว จัดทำโดย : สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 6 จังหวัดเชียงใหม่

ลิ้นจี่จักรพรรดิฝาง

ลิ้นจี่จักรพรรดิฝาง

ลิ้นจี่จักรพรรดิฝาง (ลิ้นจี่จักรพรรดิเชียงใหม่) จ.เชียงใหม่ ลิ้นจี่จักรพรรดิฝาง เป็นผลไม้อัตลักษณ์พื้นถิ่นของจังหวัดเชียงใหม่ มากกว่า 60 ปี ด้วยรสชาติหวานอมเปรี้ยว มีกลิ่นหอม เนื้อหนาสีขาวขุ่น ฉ่ำน้ำ ทรงผลคล้ายรูปหัวใจ มีขนาดใหญ่ เปลือกหนาสีแดงอมชมพู จึงเป็นผลไม้ที่ขึ้นชื่อ ปลูกในพื้นที่อำเภอฝาง แม่อาย และอำเภอไชยปราการ ของจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งมีลักษณะภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นภูเขาสูง มีลักษณะเป็นแอ่งกระทะ มีแหล่งน้ำธรรมชาติหลายสาย อีกทั้งมีน้ำพุร้อนที่อุดมไปด้วยแร่ธาตุ จึงทำให้ดินและน้ำมีความอุดมสมบูรณ์ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการเจริญเติบโตและรสชาติของลิ้นจี่ อีกทั้งมีสภาพอากาศที่หนาวเย็นในช่วงเดือนพฤศจิกายน – กุมภาพันธ์ ประกอบกับเกษตรกรดูแลแปลงปลูกเป็นอย่างดี มีการบำรุงต้น ตัดแต่งกิ่ง ตัดแต่งช่อ ส่งผลให้ลิ้นจี่จักรพรรดิฝางมีผลผลิตสูง และมีคุณภาพดี รสชาติอร่อย ผลิตภายใต้มาตรฐานเกษตรปลอดภัย GAP เป็นที่ต้องการของตลาด ที่มา : โครงการจัดทำสื่อเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ส่งเสริมการสร้างอัตลักษณ์ผลไม้ไทย ปี 2567 กรมส่งเสริมการเกษตร

ศัตรูลำไย ลิ้นจี่

ศัตรูลำไย ลิ้นจี่

ศัตรูลำไย ลิ้นจี่ หนอนเจาะขั้วผล หนอนจะเข้าทำลายผล 2 ระยะ คือ ระยะ แรกเริ่มติดผลประมาณ 1.5-2 เดือน จะเจาะเข้าไปกัดกินภายในเมล็ด มองดูภายนอกจะไม่เห็นรอยทำลาย เมื่อผ่าดูจะเห็นรอยทำลายทำให้ผลไม่สามารถเจริญเติบโตต่อไปได้ และร่วงหล่นหมด ระยะที่สองเมื่อขนาดผลโต หนอนจะเจาะกินบริเวณขั้วผลจะพบรูเล็ก ๆ ปรากฎอยู่ซึ่งเป็นรูที่หนอนเจาะออกมาเข้าดักแด้อยู่ภายนอก มวนลำไย ตัวอ่อนและตัวเต็มวัย ดูดกินน้ำเลี้ยงจากยอดอ่อน ช่อดอก และผลอ่อน ทำให้ใบอ่อน และช่อดอก แห้งและร่วง พบการระบาดเป็นประจำทุกปี ทำความเสียหายให้กับลิ้นจี่ และลำไย ในระยะที่ออกดอกและติดผล จำนวนไข่ และตัวอ่อน มีปริมาณสูงสุดเดือนมีนาคมและเมษายน ตัวเต็มวัยพบปริมาณสูงสุด 2 ระยะ คือ เดือนกุมภาพันธ์ และกรกฎาคม ดาวน์โหลดไฟล์ PDF. เรียบเรียงโดย : กลุ่มส่งเสริมการควบคุมศัตรูพืชโดยเทคโนโลยีรังสี กองส่่งเสริมการอารักขาพืชและจัดการดินปุ๋ย

ลิ้นจี่

ลิ้นจี่

ลิ้นจี่ ภาพโดย : สำนักงานเกษตรจังหวัดเชียงใหม่