ศูนย์วิทยบริการเพื่อส่งเสริมการเกษตร

ศูนย์วิทยบริการ
10

เรื่องล่าสุด

เพลี้ยจักจั่นฝอยทุเรียน (Durian leafhopper) วงจรชีวิต ลักษณะการทำลาย แนวทางการป้องกันกำจัด เขตกรรม วิธีกล ชีววิธี สารเคมี การใช้สารเคมี เช่น สารเคมีที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันกำจัดกลุ่มเพลี้ยจักจั่น ได้แก่ การใช้สารเคมีกำจัดแมลงเพื่อแก้ไขปัญหาการดื้อยาของเพลี้ยจักจั่น ควรพ่นสารเคมีที่มีกลไกการออกฤทธิ์แตกต่างกันสลับกันตามวงจรชีวิตของแมลง สำหรับเพลี้ยจักจั่นมีวงจรชีวิตประมาณ 1 เดือน ดังนั้น ควรใช้สารที่มีกลไกเดียวกันไม่เกิน 1

คำแนะนำการป้องกันกำจัดหนอนกระทู้ เฝ้าระวังการระบาดของหนอนกระทู้ เนื่องจากช่วงนี้พบการระบาดของหนอนกระทู้หอม และหนอนกระทู้ผักเข้าทำลายมันสำปะหลังในหลายพื้นที่ นอกจากนี้ยังพบหนอนกระทู้กล้าเข้าทำลายในข้าว และหนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุดเข้าทำลายข้าวโพด ประกอบกับสภาพอากาศที่แห้งแล้งเป็นเวลานาน และเริ่มมีฝนตกในหลายพื้นที่ ทำให้ดักแด้ที่พักตัวอยู่ในดินพัฒนาเป็นตัวเต็มวัย (ผีเสื้อกลางคืน) และวางไข่ สภาพอากาศเช่นนี้ทำให้วงจรชีวิตหนอนสั้นลง ขยายพันธุ์อย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดการแพร่ระบาดเป็นวงกว้างและเข้าทำลายหลายชนิดพืช รูปร่างลักษณะ หนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุด : fall armyworm (Spodoptera frugiperda (J.E.

เปิดรับสมัคร อบรมการบริหารจัดการแปลงเกษตรด้วยระบบเกษตรอัจฉริยะ ปี 67 (รุ่น 2) ขอเชิญชวนเกษตรกร ผู้นำเกษตรกร (อกม./YSF/SF) เจ้าหน้าที่ และประชาชนทั่วไปที่สนใจเข้าร่วมฝึกอบรม ณ ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรจังหวัดสุราษฎร์ธานี สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรจังหวัดสุราษฎร์ธานี

การเพาะเห็ดฟางในตะกร้า ในปัจจุบันการเพาะเห็ดฟางได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก เพราะได้ผลตอบแทนเร็ว เพียงระยะ 9-11 วัน ก็เริ่มเก็บผลผลิตได้ต้นทุนการผลิตต่ำ สามารถเพาะได้ทุกพื้นที่รูปแบบมีหลายรูปแบบ วัสดุอุปกรณ์ ขั้นตอนการทำ เรียบเรียงโดย : ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรจังหวัดฉะเชิงเทรา

กลุ่มอารักขาพืช สำนักงานเกษตรจังหวัดแม่ฮ่องสอน เปิดรับสมัครเกษตรกรหรือผู้ที่สนใจเข้ารับการอบรม หลักสูตร “หมอพืชชุมชน” ตั้งแต่บัดนี้ – 19 กรกฎาคม 2567 สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม สำนักงานเกษตรจังหวัดแม่ฮ่องสอน หมายเลขโทรศัพท์ : 053-611044

ใบบัวบก

ใบบัวบก บัวบกมีสารสำคัญกรดมาเดคาสสิก (Madecassic acid) กรดเอเชียติก (Asiatic acid) การปลูกปลูกได้ดีในดินเหนียวหรือดินเหนียวปนดินร่วน ใบบัวบกจะขยายพันธุ์โดยไหลและเมล็ด วิธีขยายจากไหลตัดไหลเป็นท่อน ๆ ไปเพาะในกระบะเพาะ 1-2 สัปดาห์ การดูแลรักษาบัวบกต้องการความชื้น แต่ไม่แฉะควรให้น้ำสม่ำเสมอ ควรระวังอย่าให้น้ำขัง จะเกิดโรคโคนเน่า การเก็บเกี่ยวเริ่มเก็บเกี่ยวหลังจากปลูกได้ประมาณ 60-90 วัน ใช้มีดตัดเหนือจากพื้นดินประมาณ

การทาบกิ่ง

การทาบกิ่ง เป็นวิธีการขยายพันธุ์พืชวิธีหนึ่งที่ทำให้ได้ต้นพันธุ์ ซึ่งมีลักษณะทางสายพันธุ์เหมือนต้นแม่ทุกประการ โดยกิ่งพันธุ์ดีจะให้ผลผลิตที่ตรงตามพันธุ์ อุปกรณ์ ดาวน์โหลดไฟล์ PDF. จัดทำโดย : ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรจังหวัดฉะเชิงเทรา

เชิญร่วมงาน คลินิกเกษตรเคลื่อนที่ในพระราชานุเคราะห์ ฯ เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบพบกิจกรรมน่าสนใจงาน รับปัจจัยการผลิตมากมายจากหน่วยงานที่มาให้บริการ อาทิ วันที่ 30 กรกฎาคม 2567 อย่าลืมนำบัตรประชาชน หรือ ThaiD มาลงทะเบียนเพื่อขอรับบริการ ได้ตั้งแต่ เวลา 08.30 น. เป็นต้นไป

ขอเชิญร่วมงาน “คลินิกเกษตรเคลื่อนที่ ในพระบรมราชานุเคราะห์ฯ เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคล เฉลิมพระชนพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567  สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : สำนักงานเกษตรจังหวัดปราจีนบุรี

รู้หรือไม่ ? ถ้ารู้จัก “ดิน” ดีกว่าใคร จะมีชัย “ในการปลูก” ไปกว่าครึ่ง จันทร์นี้เลยอยากจะชวนทุกคน มาอ่านเรื่องราวของดินและปุ๋ย เนื่องจากการผลิตพืชเพื่อให้ได้ผลผลิตสูง และคุ้มค่าต่อการลงทุนนั้น ต้องรู้จักธรรมชาติของดินในพื้นที่ปลูกของตนเองก่อน เกษตรกรจึงจะสามารถเลือกใช้ปุ๋ยได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพนั่นเอง ชวนอ่านเรื่องราวจากทั้ง 4 เอกสารแนะนำ ดังนี้ 1. รู้จักดินดีหรือยัง? คลิกอ่าน :

ประกาศ อย่าลืม!!! มาต่อทะเบียนวิสาหกิจชุมชนประจำปี

ประกาศ อย่าลืม!!! มาต่อทะเบียนวิสาหกิจชุมชนประจำปี

ประกาศ อย่าลืม!!! มาต่อทะเบียนวิสาหกิจชุมชนประจำปีณ สำนักงานเกษตรอำเภอที่จดทะเบียนฯ ระหว่างวันที่ 1 -30 มกราคม 2567 โดยขอให้วิสาหกิจชุมชนและเครือข่ายวิสาหกิจชุมชน ที่จะมาขอต่อทะเบียนฯ เตรียมเอกสารประกอบการขอต่อทะเบียนวิสาหกิจชุมชนและเครือข่ายวิสาหกิจชุมชน ประจำปี 2567 ประกอบด้วย1. หนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียน (ท.ว.ช. 2)2. เอกสารสำคัญแสดงการดำเนินกิจการ (ท.ว.ช. 3)3. บัตรประชาชนของผู้ยื่นแบบ4. หนังสือมอบอำนาจให้ทำการแทน5. บันทึกแจ้งความ (กรณี ท.ว.ช. 2/ท.ว.ช. 3 สูญหาย)6. ข้อบังคับ หรือข้อตกลงร่วมกันของสมาชิก7. แผนประกอบการ8. ผลการดําเนินงาน ทั้งนี้ หากวิสาหกิจชุมชนและเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนไม่มาต่อทะเบียนเป็นระยะเวลา 2 ปีติดต่อกัน จะถูกเพิกถอนทะเบียนวิสาหกิจชุมชนและเครือข่ายวิสาหกิจชุมชน และหมดสิทธิ์รับการส่งเสริมและสนับสนุนหรือบริการจากภาครัฐ ซึ่งเป็นไปตามพระราชบัญญัติส่งเสริมวิสากิจชุมชน พ.ศ.2548 มาตรา 8 เพื่อให้วิสาหกิจชุมชนมีการดำเนินการได้อย่างต่อเนื่อง มีความน่าเชื่อถือ ซึ่งจะส่งผลดีต่อการประกอบกิจการ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : กองส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน

ขอเชิญชวนสมาชิกวิสาหกิจชุมชน

ขอเชิญชวนสมาชิกวิสาหกิจชุมชน

กรมส่งเสริมการเกษตร ขอเชิญชวนสมาชิกวิสาหกิจชุมชน เครือข่ายวิสาหกิจชุมชน และประชาชนทั่วไป ร่วมแสดงความเห็นและให้ข้อเสนอแนะต่อ “ประกาศคณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน ว่าด้วยการโอนอสังหาริมทรัพย์ให้แก่วิสาหกิจชุมชนนิติบุคคล” ตั้งแต่บัดนี้ – 30 พฤศจิกายน 2566

วิสาหกิจชุมชนกลุ่มน้ำตาลโตนดบ้านดงห้วยหลวง

วิสาหกิจชุมชนกลุ่มน้ำตาลโตนดบ้านดงห้วยหลวง

สัมผัสมนต์เสน่ห์วิถีแห่งตาลโตนดวิถีชีวิตชุุมชนวิสาหกิจชุมชนกลุ่มน้ำตาลโตนดบ้านดงห้วยหลวง อำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี เป็นเมืองที่มีชื่อเสียงและเป็นแหล่งผลิตน้ำตาลโตนดที่สำคัญของประเทศ เนื่องจากในพื้นที่ มีต้นตาลขึ้นอย่างหนาแน่น อีกทั้งน้ำตาลโตนดยังเป็นส่วนผสมหลักในการทำอาหารและขนมหวานเมืองเพชรที่ขึ้นชื่อ และยังเป็นสินค้า GI ของจังหวีดเพชรบุรี อีกด้วย จุดเด่นแหล่งท่องเที่ยวและกิจกรรมที่น่าสนใจ สินค้าท้องถิ่นที่เป็นเอกลักษณ์ ดาวน์โหลดไฟล์ PDF. ที่มา : วารสารส่งเสริมการเกษตร ปีที่ 56 ฉบับที่ 311 กรกฎาคม-สิงหาคม 2566

วิสาหกิจชุมชนข้าวหลามน้ำหนาวแม่เสลี่ยง

วิสาหกิจชุมชนข้าวหลามน้ำหนาวแม่เสลี่ยง

กรมส่งเสริมการเกษตรบูรณาการทุกภาคส่วน ขับเคลื่อนวิสาหกิจชุมชนข้าวหลามน้ำหนาวแม่เสลี่ยง สู่การบริหารจัดการสินค้าข้าวครบวงจร เรียบเรียง : สำนักงานเกษตรอำเภอน้ำหนาว ดาวน์โหลดไฟล์ PDF.

เครือข่ายวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์จังหวัดอำนาจเจริญ

เครือข่ายวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์จังหวัดอำนาจเจริญ

เครือข่ายวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์จังหวัดอำนาจเจริญ วิสาหกิจชุมชนดีเด่น ระดับประเทศ ปี 2566 กรมส่งเสริมการเกษตร “ปลูกข้าวเป็นยา ทำนาอินทรีย์เป็นเนื้อ สร้างสมดุลสิ่งแวดล้อม” ดาวน์โหลดไฟล์ PDF. ที่มา : วารสารส่งเสริมการเกษตร ปีที่ 56 ฉบับที่ 311 กรกฎาคม-สิงหาคม 2566