ศูนย์วิทยบริการเพื่อส่งเสริมการเกษตร

10

เรื่องล่าสุด

โรคใบขาวอ้อย

โรคใบขาวอ้อย สาเหตุ เชื้อไฟโตพลาสมา ลักษณะอาการ : พบในอ้อยทุกระยะการเจริญเติบโต พบอาการใบสีขาว สีเขียวอ่อนหรือสีขาวสลับสีเขียวอ่อน ใบมีขนาดเล็กเป็นฝอย แตกกอมาก ไม่เจริญเติบโตและตาย การแพร่ระบาด : ระบาดได้ทางท่อนพันธุ์อ้อยและระบาดผ่านแมลงพาหะ 2 ชนิด ได้ แนวทางการป้องกันกำจัด เรียบเรียงโดย : สำนักงานเกษตรอำเภอเมืองกำแพงเพชร

การจัดการแมลงศัตรูข้าว ชนิดของแมลงที่ทำลายช่วงต่าง ๆ ของข้าวตลอดช่วงอายุ 120 วัน และการเข้าทำลายของแมลงศัตรูข้าว ที่พบตามระยะการเจริญเติบโตของข้าว ตั้งแต่ระยะกล้า ระยะแตกกอ และระยะออกร่วง แมลงศัตรูข้าวช่วงระยะกล้า แมลงศัตรูข้าวช่วงระยะแตกกอ แมลงศัตรูพืชช่วงระยะออกรวง การป้องกันและกำจัดแมลง เรียบเรียงโดย : กลุ่มส่งเสริมระบบการผลิตข้าว สำนักส่งเสริมและจัดการสินค้าเกษตร

การปลูกเตยหอม

การปลูกเตยหอม การเตรียมดินและโรงเรือนปลูก การปลูกเตยหอมปลูกด้วยวิธีการดำหน่อพันธุ์ ประมาณ 25,000 หน่อต่อไร่ โดยมีระยะห่างประมาณ 50 เซนติเมตร วิธีการดูแลรักษาใส่ปุ๋ย สูตร 16-20-0 ในอัตรา 50-100 กิโลกรัมต่อไร่ ทุก ๆ 3-4 เดือน การเก็บเกี่ยว

ต่อทะเบียนวิสาหกิจชุมชน ประจำปี 2568 ระหว่างวันที่ 1-30 มกราคม 2568 ช่องทางออนไลน์ กรณีจดทะเบียนผ่าน e-Form กรณีจดทะเบียน ณ สำนักงานรับจดทะเบียน ดำเนินการ ดังนี้ ณ สำนักงานเกษตรอำเภอที่จดทะเบียนฯยื่นแบบ สวช.03 พร้อมแนบหลักฐาน ดังนี้ เรียบเรียงโดย :

คุณสมบัติและหลักเกณฑ์ เอกสารประกอบ กรณีไม่เป็นนิติบุคคล เอกสารประกอบ กรณีเป็นนิติบุคคล ขั้นตอน วิสาหกิจชุมชนและเครือข่ายวิสาหกิจชุมชน แบ่งเป็น 2 กลุ่มกิจการกลุ่มที่ 1 : กลุ่มการผลิตสินค้า ประกอบด้วย 18 ประเภทกิจการ กลุ่มที่ 2 : กลุ่มการให้บริการ ประกอบด้วย 6

โรคราสนิมในอ้อย

โรคราสนิมในอ้อย สาเหตุ : เชื้อรา Puccinia melanocephala เชื้อราสาเหตุโรคสามารถพักตัวในเศษซากพืช เกิดโรคข้ามฤดู และสามารถแพร่กระจายผ่านลมและน้ำ อาการ : ใบอ่อนพบจุดแผลขนาดเล็กสีแดง เมื่อใบแก่จุดแผลจะขยายออกเป็นสีน้ำตาลแดง (สีสนิม) มีวงสีเหลืองล้อมรอบ ใต้ใบมีแผลนูน เมื่อแผลแตกออก มีลักษณะขรุขระ พบผงสปอร์สีน้ำตาลแดง (สีสนิม) การป้องกัน *พ่นทุก

ระยะเวลาเก็บเกี่ยว ความชื้นของเมล็ด20-25% วิธีการเก็บเกี่ยว ใช้แรงงานคน ใช้เครื่องจักรกล ควรหลีกเลี่ยงการเก็บเกี่ยวในขณะที่ฝนตกหรือหลังฝนตกทันที การปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว การคัดคุณภาพ การขนย้าย เรียบเรียงโดย : กลุ่มจัดการศัตรูพืชหลังการเก็บเกี่ยว กองส่งเสริมการอารักขาพืชและจัดการดินปุ๋ย กรมส่งเสริมการเกษตร

สำนักงานเกษตรอำเภอบางแก้ว ขอเชิญร่วมงาน  คลินิกเกษตรเคลื่อนที่ฯ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ครั้งที่ 1  ในวันพฤหัสบดีที่ 12 ธันวาคม 2567 เวลา 08.30 น. เป็นต้นไป ณ ศาลาประชาคมอำเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุง ภายในงานจะประกอบด้วยกิจกรรม **ทั้งนี้เกษตรกรที่มาร่วมงาน ขอให้นำบัตรประจำตัวประชาชน

ธาตุอาหารและสูตรปุ๋ย ปุ๋ยเคมี ตัวอย่าง 16-8-8 ตัวเลขบนกระสอบบอกถึงน้ำหนักของธาตุอาหารเทียบต่อน้ำหนักปุ๋ย 100 กิโลกรัม N ไนโตรเจนปุ๋ย 100 กิโลกรัม มีไนโตรเจน 16 กิโลกรัมปุ๋ย 50 กิโลกรัม จึงมีไนโตรเจน 8 กิโลกรัม P ฟอสฟอรัสปุ๋ย 100

เทคนิคการจัดการน้ำแบบเปียกสลับแห้งในนาข้าว การทำนาเปียกสลับแห้ง คือ การทำนาโดยควบคุมระดับน้ำในแปลงนาให้มีช่วงน้ำขัง กับช่วงน้ำแห้งสลับกันในช่วงเวลาที่เหมาะสม เพื่อกระตุ้นให้รากและลำต้นของต้นข้าวแข็งแรงขึ้น เนื่องจากดินและรากได้รับอากาศพอ ก็สามารถดูดปุ๋ยได้ดีขึ้น ทำให้ลดการใช้ปุ๋ย 1.การเตรียมดิน ปรับพื้นที่ให้เรียบสม่ำเสมอและสามารถจัดระบบน้ำได้ 2.การติดตั้งท่อพีวีซี (PVC) เพื่อดูระดับน้ำ เตรียมท่อพีวีซี ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 4 นิ้ว ยาว 25 ซม. เจาะรูห่างกัน

หนอนหัวดำในมะพร้าวและพืชตระกูลปาล์ม

หนอนหัวดำในมะพร้าวและพืชตระกูลปาล์ม

เตือนเกษตรกรในพื้นที่จังหวัดชลบุรี เฝ้าระวังการระบาดของหนอนหัวดำในมะพร้าวและพืชตระกูลปาล์ม เตือนเกษตรกรเฝ้าระวังการเข้าทำลายของหนอนหัวดำในมะพร้าว/ปาล์มน้ำมัน สามารถพบได้ทั้งในระยะที่ยังไม่ให้ผลผลิตและให้ผลผลิตแล้ว จะพบตัวหนอนเข้าทำลายแทะกินผิวใต้ทางใบ จากนั้นตัวหนอนจะถักใยโดบใช้มูลที่ถ่ายออกมาผสมเส้นใยที่สร้างขึ้นมาทำอุโมงค์คลุมลำตัวยาวตามใต้ทางใบ ตัวหนอนจะอาศัยอยู่ภายในอุโมงค์ที่สร้างขึ้นและแทะกินผิวใบแก่ การป้องกันกำจัด 1.ตัดใบที่มีหนอนหัวดำลงทำลาย นำลงมาเผาหรือฝังทำลาย 2.การพ่นด้วยชีวภัณฑ์ “บีที” ซึ่งเป็นจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ใช้ในการควบคุมหนอนผีเสื้อศัตรูพืช อัตรา 100 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร ผสมด้วยสารจับใบ 5 มิลลิลิตร ฉีดพ่นต้นละ 3- 5 ลิตร ให้ทั่วทรงพุ่ม จำนวน 3 ครั้ง ห่างกัน 7-10 วัน (ไม่ควรฉีดพ่นในขณะที่มีแสงแดดจัด) 3.การใช้แตนเบียนควบคุมหนอนหัวดำ 4.การควบคุมด้วยสารเคมี โดยวิธีฉีดเข้าลำต้นมะพร้าวที่มีความสูงมากกว่า 12 เมตร ใช้สารอีมาเมกตินเบนโซเอต 1.92% EC ฉีดเข้าลำต้น ในอัตรา 30 มิลลิลิตรต่อต้น (วิธีนี้ห้ามใช้กับมะพร้าวที่สูงน้อยกว่า 12 เมตร มะพร้าวน้ำหอม มะพร้าวก

หนอนหัวดำ

หนอนหัวดำ

หนอนหัวดำ วงจรชีวิต ไข่ – วางไข่เป็นกลุ่ม ไข่มีสีเหลืองอ่อน เมื่อใกล้ฟักจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล หนอน – เมื่อฟักออกจากไข่จะอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม ก่อนที่จะย้ายไปกินใบมะพร้าว ตัวมีสีน้ำตาลอ่อนและมีลายสีน้ำตาลเข้มพาดยาวตามลำตัว ดักแด้ – อยู่ภายในอุโมงค์ มีสีน้ำตาลอ่อน เมื่อใกล้ฟักจึงเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเข้ม ผีเสื้อกลางคืน – เวลากลางวันจะเกาะนิ่งหลบอยู่ใต้ใบมะพร้าว วางไข่ได้ 49-490 ฟอง/ตัว ดาวน์โหลดไฟล์ PDF. เรียบเรียงโดย : ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืช จังหวัดสงขลา

แมลงศัตรูมะพร้าว

แมลงศัตรูมะพร้าว

แมลงศัตรูมะพร้าว แมลงดําหนาม ไรสี่ขา ด้วงงวง ด้วงแรด หนอนหัวดํา ดาวน์โหลดไฟล์ PDF. จัดทำโดย : กลุ่มอารักขาพืช สำนักงานเกษตรจังหวัดชัยนาท

คู่มือโครงการป้องกันกำจัดศัตรูมะพร้าว (หนอนหัวดำ) ด้วยวิธีผสมผสานแบบครอบคลุมพื้นที่ โดยการมีส่วนร่วมอย่างยั่งยืน

คู่มือโครงการป้องกันกำจัดศัตรูมะพร้าว (หนอนหัวดำ) ด้วยวิธีผสมผสานแบบครอบคลุมพื้นที่ โดยการมีส่วนร่วมอย่างยั่งยืน

ดาวน์โหลดไฟล์ PDF. คู่มือ โครงการป้องกันกำจัดศัตรูมะพร้าว (หนอนหัวดำ) ด้วยวิธีผสมผสานแบบครอบคลุมพื้นที่ โดยการมีส่วนร่วมอย่างยั่งยืน เรียบเรียง : กองส่งเสริมการอารักขาพืชและจัดการดินปุ๋ย กรมส่งเสริมการเกษตร ที่มา : กลุ่มพัฒนาสื่อส่งเสริมการเกษตร สำนักพัฒนาการถ่ายทอดเทคโนโลยี กรมส่งเสริมการเกษตร