สร้างมูลค่าเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร

สร้างมูลค่าเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร สู่การตลาดเพื่อเพิ่มมูลค่าแทนการเผาในพื้นที่เกษตร บูรณาการร่วมกับพื้นที่ สร้างเกษตรมูลค่าสูง ดาวน์โหลดไฟล์ PDF. เรียบเรียงโดย : สำนักงานเกษตรอำเภอลาดหลุดแก้ว จังหวัดปทุมธานี
ไม่เผาแล้วได้กำไรสูงสุด

ลดต้นทุนเพิ่มผลผลิตจากการไม่เผา “ไม่เผาแล้วได้กำไรสูงสุด!” ลดต้นทุนเพิ่มผลผลิตจากการไม่เผา “ไม่เผาแล้วได้กำไรสูงสุด!” ไม่เผา ช่วยลดการเสื่อมสภาพดิน – ดินจะคงสภาพโครงสร้างดี โปร่ง ร่วนซุย รากพืชชอนไชหากินง่าย พืชแข็งแรง เจริญเติบโตดี ไม่เผา ทำให้ดินมีอินทรีย์วัตถุ – ดินจะอุ้มน้ำหรือกักเก็บความชื้นและธาตุอาหารไว้ให้แก่พืช ทำให้พืชเจริญเติบโตได้ดี ไม่เผา ช่วยลดความเป็นกรดของดิน – ดินจะมีค่าความเป็นกรด-ด่าง เหมาะสม ทำให้การใส่ปุ๋ยมีประสิทธิภาพ พืชดูดกินธาตุอาหารได้ดี ไม่เผา ไถกลบช่วยเพิ่มธาตุอาหารลงในดิน – ฟางข้าวมีธาตุอาหารทั้ง ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม เมื่อกลับลงสู่ดิน ทำให้ลดการใช้ปุ๋ยได้ ไม่เผา เพิ่มสิ่งมีชีวิตที่เป็นประโยชน์ในดิน – จุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ช่วยย่อยสลาย ปลดปล่อยธาตุอาหารให้พืช ไส้เดือนดินมาอยู่ในแปลงถ่ายออกมาเป็นปุ๋ยให้พืช ไม่เผา ทำให้พืชเจริญเติบโตได้ดี – เมื่อดินดีมีธาตุอาหาร พืชจะสมบูรณ์แข็งแรง ต้านทานโรค ลดสารเคมีลงได้ และผลผลิตสูงขึ้น ดาวน์โหลดไฟล์ PDF. เรียงเรียงโดย : กลุ่มอารักขาพืช สำนักงานเกษต
แนวทาง 3R Model ลดปัญหาการเผาในพื้นที่การเกษตร

แนวทาง 3R Model ลดปัญหาการเผาในพื้นที่การเกษตร ดาวน์โหลดไฟล์ PDF เรียบเรียงโดย : สำนักงานเกษตรอำเภอดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี
แนวทางส่งเสริมการหยุดเผา…ทำอย่างไรบ้าง?

แนวทางส่งเสริมการหยุดเผา…ทำอย่างไรบ้าง? ดาวน์โหลดไฟล์ PDF. เรียบเรียงโดย : สำนักงานเกษตรอำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี
หยุดเผาแล้วทำอย่างไร

หยุดเผาแล้วทำอย่างไร? อาหารสัตว์ นำมาอัดก้อน หรือทำอาหารหมัก เพื่อใช้เลี้ยงสัตว์ วัสดุเพาะปลูก ทำวัสดุเพาะปลูกจากเปลือกข้าวโพด ซังข้าวโพด หรือฟาง ห่มดิน ไถกลบ ผลิตปุ๋ยหมัก นำเศษวัสดุการเกษตรที่เหลือทิ้งในแปลงมาทำปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยหมัก ทดแทนการใช้ปุ๋ยเคมี พลังงานทดแทน ผลิตเชื้อเพลิงอัดแท่ง ใช้ในอุตสาหกรรมหรือในครัวเรือน ดาวน์โหลดไฟล์ PDF. เรียบเรียงโดย : สำนักงานเกษตรอำเภอหนองเสือ จังหวัดปทุมธานี