ศูนย์วิทยบริการเพื่อส่งเสริมการเกษตร

10

เรื่องล่าสุด

ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง มาตรการบริหารจัดการป้องกันแและแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก ไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM 2.5) ภาคการเกษตร ประกาศลงวันที่ 17 มกราคม 2568

ขอเชิญร่วมงานคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ในพระราชานุเคราะห์ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ฯ สยามมกุฎราชกุมาร สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : สำนักงานเกษตรพื้นที่ 4 โทรศัพท์ 0 2441 3705

หยุดเผาได้ 5 ดี ผลกระทบจากการเผา ด้านสุขภาพอนามัยการเผา ทำให้เกิดฝุ่น ควัน และก๊าซพิษเป็นอันตรายต่อชีวิต ด้านการเกษตร ด้านสิ่งแวดล้อมและเศรษฐกิจ ด้านกฎหมาย จัดทำโดย : สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 3 จังหวัดระยอง

โรคต้นแตกยางไหลในเมล่อน สาเหตุจากเชื้อรา : Mycosphaerella citrulline และ Didymella sp. ช่วงการระบาด : ระบาดมากในช่วงฤดูฝน ข้อสังเกตลักษณะ/อาการที่อาจพบ : แผลจะฉ่ำน้ำ เป็นยางเหนียวสีน้ำตาลแดงที่บริเวณโคนต้น ลำต้น และก้านใบ เมื่อแผลแห้งจะเป็นจุดสีดำเล็ก ๆ กระจายอยู่ทั่วบริเวณแผล แนวทางป้องกัน/แก้ไข นอกจากนี้ยังมีอีกหนึ่งสาเหตุที่สำคัญ

การใช้ปุ๋ยในนาข้าวที่เหมาะสมตามระยะการเจริญเติบโตของข้าว ดาวน์โหลดไฟล์ PDF. ระยะการเจริญเติบโตของข้าว มีความต้องการอาหารแตกต่างกัน ดังนี้ ระยะข้าวงอก (ระยะ 0-1)ถึงระยะกล้า ต้นข้าวจะใช้อาหารที่สะสมในเมล็ดตั้งแต่ข้าวเริ่มงอก จนถึงต้นกล้าอายุ 14-20 วัน ระยะข้าวกล้า (ระยะ 1-2)ต้นข้าวเริ่มดูดธาตุอาหารผ่านราก ต้องบำรุงด้วยปุ๋ยที่มีธาตุอาหารไนโตรเจน (N) ฟอสฟอรัส (P) โพแทสเซียม (K)

วารสารส่งเสริมการเกษตร ปีที่ 57 ฉบับที่ 318 (กันยายน – ตุลาคม 2567) ดาวน์โหลดไฟล์ PDF. สารบัญ/contents หน้า 2 Smart DOAEเทคนิค 3E’s เพื่อการตรวจสอบการดำเนินงาน (Performance Audit) หน้า 4

สารเคมีเป็นทางเลือกหนึ่งที่เกษตรกรนิยมใช้กันอย่างกว้างขวาง ดังนั้น เกษตรกรจะต้องคำนึงถึงการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชอย่างถูกต้องและปลอดภัย โดยใช้สารเคมีตรงชนิดกับศัตรูพืช ใช้ถูกอัตรา ใช้ถูกระยะเวลา และใช้ให้ถูกวิธี เกษตรกร…ต้องรู้ กลไกการเข้าทำลายสารเคมีกำจัดแมลงศัตรูพืชคลิกอ่าน : https://bit.ly/474wn71 4 ขั้นตอน การผสมสารเคมี ป้องกันกำจัดศัตรูพืชให้ถูกวิธีคลิกอ่าน : https://bit.ly/3t1Wfl6 คู่มือการตรวจวิเคราะห์สารเคมีตกค้างในผลผลิตการเกษตรคลิกอ่าน : https://bit.ly/42rFVJE

การปรับตัวภาคการเกษตรกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) และภาวะโลกร้อน (Global Warming) การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) เป็นปัญหาสำคัญและส่งผลกระทบไปทั่วโลก มีสาเหตุสำคัญมาจากภาวะโลกร้อน (Global Warming) ซึ่งเกิดจากก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse Gas GHG) ในบรรยากาศที่เพิ่มขึ้นจากกิจกรรมของมนุษย์ ประเทศไทยได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลกเป็นอันดับต้น ๆ โดยเฉพาะภาคการเกษตร

ห้องสมุดกรมส่งเสริมการเกษตร แนะนำหนังสือใหม่ เดือนมกราคม 2568 สามารถเข้ามารับบริการการอ่านได้ที่ ห้องสมุดกรมส่งเสริมการเกษตร อาคารส่งเสริมการเกษตรเบญจสิริกิติ์ ชั้น 5 (ห้องสมุดกรมส่งเสริมการเกษตร) สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : โทรศัพท์ 0-2579-2594 โทรสาร 0-2579-5517 สืบค้นข้อมูลเรื่องอื่น ๆ เพิ่มเติมได้ที่ : http://library.doae.go.th

เมื่อวันที่ 14 มกราคม 2568 ศูนย์วิทยบริการเพื่อส่งเสริมการเกษตร ได้ส่งมอบกล่องยูเอสที ให้กับการทางพิเศษแห่งประเทศไทย ในโครงการกล่องวิเศษ ทางพิเศษรักษ์โลก ปีงบประมาณ 2567

กรมส่งเสริมการเกษตร แนะวิธีฟื้นฟูและดูแลสวนไม้ผลหลังน้ำลด

กรมส่งเสริมการเกษตร แนะวิธีฟื้นฟูและดูแลสวนไม้ผลหลังน้ำลด

กรมส่งเสริมการเกษตร แนะวิธีฟื้นฟูและดูแลสวนไม้ผลหลังน้ำลด กรมส่งเสริมการเกษตรมีความห่วงใยเกษตรกรชาวสวนไม้ผล ที่สวนไม้ผลและผลผลิตอาจเสียหายจากอุทกภัย จึงขอแนะนำวิธีฟื้นฟูและดูแลสวนไม้ผลหลังน้ำลดและขอให้เกษตรกรดำเนินการ ดังนี้             1. เร่งระบายน้ำออกจากโคนต้นไม้ สวนไม้ผล หรือบริเวณที่มีน้ำขังโดยเร็ว ด้วยการขุดร่องระบายน้ำและใช้เครื่องสูบน้ำระบายน้ำออกจากสวนโดยเร็ว หากพื้นที่รอบสวนยังมีน้ำท่วมอยู่ จำเป็นต้องยกขอบแปลงเป็นคันดินเพื่อกันน้ำจากภายนอกทะลักเข้ามาในสวนด้วย             2. อย่านำเครื่องจักรกลเข้าสวนขณะที่ดินยังเปียกอยู่ และไม่ควรเข้าไปเหยียบย่ำบริเวณโคนต้นพืช เพราะดินที่ถูกน้ำท่วมขังโครงสร้างของดินจะง่ายต่อการถูกทำลายและเกิดการอัดแน่นได้ง่าย ซึ่งเป็นผลเสียต่อการไหลซึมของน้ำและกระทบกระเทือนต่อระบบรากของไม้ผล             3. เมื่อดินแห้ง ควรขุดเอาดิน ทราย หรือตะกอนต่าง ๆ ที่มากับน้ำและทับถมอยู่ในแปลงไม้ผลออก รวมทั้งเศษวัสดุต่าง ๆ ด้วย เพื่อความสะดวกในการปฏิบัติงานในแปลงไม้ผล             4. ตัดแต่งกิ่งไม้ผลที่ฉีก หัก และแน่นทึบออก เพื่อให้ทรงพุ่มโปร่ง ช่วยลดการคายน้ำของพืช และเร่งให้พืชแตกใบใหม่เร็วขึ้น หากมีไม้ผลโค่นล้ม ควรทำการตัดแต่งกิ่งและพยุงต้นไม้ผลที่โค่นล้ม ควรทำการตัดแต่งกิ่งและพยุงต้นไม้ผลที่โค่นล้มให้ตั้งตรง และทำไม้ค้ำยันไว้รอบด้าน หากมีผลติดอยู่ให้ตัดแต่งออกเพื่อไม่ให้ต้นโทรม             5. ฉีดพ่นปุ๋ยทางใบ ช่วยให้ไม้ผลฟื้นตัวเร็วขึ้น เพราะระบบรากยังไม่สามารถดูดน้ำและธาตุอาหารจากดินได้ตามปกติ โดยฉีดพ่นปุ๋ยทางใบน้ำสูตร 12-12-12 หรือ 12-9-6 หรือใช้ปุ๋ยเกล็ดสูตร 21-21-21 หรือ 16-21-27 ละลายน้ำแล้วฉีดพ่นก็ได้             6. เมื่อดินแห้งเป็นปกติ ควรพรวนดินให้แก่ไม้ผล เพื่อเพิ่มออกซิเจนให้แก่รากพืช จะช่วยให้รากพืชแตกใหม่ได้ดีขึ้น และใส่ปุ๋ยบำรุงไม้ผลด้วย             7. ในสวนไม้ผลเมื่อถูกน้ำท่วมขังนานๆ หลังน้ำลดมันเกิดปัญหาโรครากเน่า โคนเน่า ควรป้องกันรักษาด้วยการ ใช้สารเคมีกันรา ราดหรือทาโคนต้น เช่น เมตตาแลดซิล (ริโดมิล) อีโฟไซท์-อลูมินั่ม (อาลิเอท) หรือ พีซีเอ็นบี (เทอราดลอร์, บลาสลิโคล) หรืออาจใช้สารชีวภัณฑ์ เช่น โตรโคเดอร์มา หรือปรับสภาพดินด้วยปูนขาว หรือโดโลไมท์ เพื่อให้ดินมีสภาพเป็นกลางหรือด่างเล็กน้อย ไม่เหมาะต่อการเกิดโรค             8. การปลูกซ่อมแซมในสวนไม้ผลหลังถูกน้ำท่วม ควรปรับสภาพดินเมื่อเริ่มแห้งโดยการโรยปูนขาว หรือโดโลไมท์ ป้องกันการเกิดโรครากเน่าและโคนเน่า โรยปุ๋ยคอก และตากดินทิ้งไว้อย่างน้อย 1 เดือนก่อนขุดหลุมปลูก ห้ามดำเนินการในขณะที่ดินยังเปียกชุ่มหรือมีน้ำขังอยู่โดยเด็ดขาด             ทั้งนี้ เกษตรกรชาวสวนไม้ผลควรติดตามสถานการณ์สภาพอากาศอย่างต่อเนื่อง แจ้งความเสียหายและขอรับการสนับสนุนเชื้อราไตรโคเดอร์มาฟื้นฟูไม้ผล ไม้ยืนต้นหลังน้ำลดได้ที่ศูนย์บริการเกษตรพิรุณราช ณ สำนักงานเกษตรอำเภอ และเจ้าหน้าที่ของกรมส่งเสริมการเกษตรใกล้บ้านท่านทุกอำเภอ สำนักส่งเสริมและจัดการสินค้าเกษตร : ข้อมูล                       กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ : ข่าว

การฟื้นฟูมะพร้าวหลังน้ำลด

การฟื้นฟูมะพร้าวหลังน้ำลด

การฟื้นฟูมะพร้าวหลังน้ำลด ถูกน้ำท่วม 7-14 วัน ไม่เกิดความเสียหาย รอดินแห้ง ดูแลตามปกติ อาการหลังน้ำลด ประเมิน แก้ไข ฟื้นฟู ข้อสังเกตุ เรียบเรียงโดย : สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 5 จังหวัดสงขลา กรมส่งเสริมการเกษตร