ศูนย์วิทยบริการเพื่อส่งเสริมการเกษตร

ศูนย์วิทยบริการ
10

เรื่องล่าสุด

รอบรู้เรื่อง “น้ำส้มควันไม้” เพื่อใช้ในด้านการเกษตร น้ำส้มควันไม้ หรือ น้ำวู้ดเวเนการ์ (Wood vinegar)ซึ่งในการเลือก เก็บผลผลิตควันไม้นี้ เจ้าของเราสามารถตรวจสอบได้จากเทอร์โมมิเตอร์ที่วัดอุณหภูมิที่บริเวณปากปล่องควันตามมาตรฐาน ถ้าเกษตรกรไม่มีเทอร์โมมิเตอร์ในการวัดอุณหภูมิ ให้ใช้วิธีสังเกตควันแทน และควรเก็บผลผลิตน้ำส้มควันไม้ได้ในช่วงอุณหภูมิที่ปากปล่องระหว่าง 80 องศาเซลเซียส ถึง 150 องศาเซลเซียส ซึ่งอุณหภูมิภายในตัวเตาเผาจะเท่ากับ 300-400 องศาเซลเซียส และเป็นช่วงที่ผลผลิตจะมีคุณภาพที่ดีที่สุด

การสรรหาปราชญ์เกษตรของแผ่นดิน ปี 2568 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เห็นสมควรยกย่องและเชิดชูเกียรติแก่ผู้ทรงภูมิปัญญาด้านการเกษตรในสาขาต่าง ๆ ซึ่งเป็นผู้มีคุณความดี มีความรู้ความสามารถ และประสบการณ์สมควรเป็นปราชญ์เกษตรของแผ่นดิน ให้ได้รับการดูแลด้านสวัสดิการและสนับสนุนให้มีการถ่ายทอดองค์ความรู้ ประสบการณ์ และความสามารถสู่สังคม ปราชญ์เกษตรของแผ่นดิน 4 สาขา

การขึ้นทะเบียนและปรับปรุงทะเบียนเกษตรกร มีขั้นตอน ระยะเวลา และส่วนงานที่รับผิดชอบ ดังนี้ รวมระยะเวลา 40 วันทำการสามารถดาวน์โหลดคู่มือประชาชน: การขึ้นทะเบียนและปรับปรุงทะเบียนเกษตรกรhttp://www.nonthaburi.doae.go.th/People-Guide.html

กล้วยนาก

กล้วยนาก คุณสมบัติที่โดดเด่นของพันธุ์พืช คือ เปลือกกล้วยสีออกสีนาก คือสีอมแดงค่อนข้างคล้ำ เนื้อผลสุกมีรสชาติคล้ายกล้วยหอม อมเปรี้ยวเล็กน้อย  ที่มา : ศูนย์ขยายพันธุ์พืชที่ สี่ จังหวัดนครศรีธรรมราช

กล้วยนาก

ต้นพันธุ์กล้วยนาก กล้วยหายาก ขยายพันธุ์จากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ต้นพันธุ์สะอาด ปลอดโรค ตรงตามสายพันธุ์ ต้นละ15บาท เท่านั้น โทรสั่งจองที่ คุณอัตตศาสตร์ (บ่าว) 0872632743 ที่มา : https://www.facebook.com/profile.php?id=100040356164448

จันทร์นี้ชวนชาวเมืองเสริมทักษะ ปลูกผักในพื้นที่จำกัดไปด้วยกัน ถึงแม้จะมีพื้นที่ภายในบ้านจำกัด แต่สามารถปลูกผักได้หลากหลายชนิดไม่จำกัดน้าาาา เช่น แตงกวา ผักสลัด พริก มะเขือ ต้นหอม สะระแหน่ ผักบุ้งฯ การปลูกผักแบบนี้นอกจากจะประหยัด ใช้เวลาให้เกิดประโยชน์เเล้ว ยังมีผักสดๆ แบบปลอดสารไว้ทานในครัวเรือนอีกด้วย ชวนอ่านเรื่องราวจากทั้ง 4 เอกสารแนะนำ ดังนี้

จุลินทรีย์ขุยไผ่

จุลินทรีย์ขุยไผ่ ดินขุยไผ่ เป็นดินที่นิยมนำมาใช้ประโยชน์ทางการเกษตรกันอย่างแพร่หลาย เพราะดินขุยไผ่มีลักษณะร่วน มีอินทรีย์วัตถุสูง มีจุลินทรีย์และเชื้อราต่าง ๆ ในดิน โดยเฉพาะเชื้อราไตรโคเดอร์มา (Trichoderma) ซึ่งเป็นเชื้อราที่มีประโยชน์ในการควบคุมจุลินทรีย์และเชื้อราที่ก่อให้เกิดโรคพืชบางชนิดเช่นเชื้อราที่เป็นสาเหตุโรครากเน่าและโคนเน่าได้ ขั้นตอนการทำจุลินทรีย์ขุยไผ่เพื่อใช้เพื่อใช้ย่อยสลาย ปุ๋ยหมัก,ตอซังข้าว การต่อเชื้อจุลินทรีย์ลงน้ำ เรียบเรียงโดย : ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรจังหวัดเชียงราย

การฟื้นฟูมะพร้าวหลังน้ำลด ถูกน้ำท่วม 7-14 วัน ไม่เกิดความเสียหาย รอดินแห้ง ดูแลตามปกติ อาการหลังน้ำลด ประเมิน แก้ไข ฟื้นฟู ข้อสังเกตุ เรียบเรียงโดย : สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 5 จังหวัดสงขลา กรมส่งเสริมการเกษตร

อาการผิดปกติของพืชเกิดแตกต่างกันขึ้นอยู่กับชนิดของเชื้อราสาเหตุและส่วนต่าง ๆ ของพืชที่ถูกเข้าทำลาย ผลเกิดจุดแผล ยุบตัว เน่า อาจพบส่วนของเชื้อรา (สปอร์/เส้นใย) และเมล็ดอ่อนนุ่ม สีผิดปกติ ใบเกิดแผลจุด/แผลไหม้/แผลเป็นแถบตามความยาวของใบ อาจพบส่วนของเชื้อรา (สปอร์/เส้นใย) บนจุดแผล หรือด้านใต้ใบ ลำต้น/กิ่งเกิดอาการเน่า เริ่มจากระบบราก โคนต้น ระบบท่อลำเลียง/เนื้อไม้ เปลี่ยนสี ยางไหล ใบเหลืองร่วง

ขอเชิญชวนเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ขึ้นทะเบียนและปรับปรุงทะเบียนเกษตรกรให้เป็นปัจจุบัน โดยสามารถติดตามและตรวจสอบสถานะการขึ้นทะเบียนเกษตรกร Online ด้วยตนเอง ผ่านช่องทาง ดังนี้ เพื่อรักษาสิทธิ์ รับโอกาส และการช่วยเหลือจากภาครัฐ เช่น โครงการปุ๋ยคนละครึ่ง โดยสามารถติดตามความเคลื่อนไหวโครงการได้จากข่าวสารของทางรัฐบาล

เกษตรเขตห้าสงขลา Ep.7 อารักขาพืชห่วงใย เตือนภัยเกษตรกร

เกษตรเขตห้าสงขลา Ep.7 อารักขาพืชห่วงใย เตือนภัยเกษตรกร

Ep.7 อารักขาพืชห่วงใย เตือนภัยเกษตรกร เล่าเรื่องฟันเฟืองเกษตร Ep.7 เกษตรเขต 5 ขอเชิญติดตามรับชมรับฟัง FB Live #เล่าเรื่องฟันเฟืองเกษตร  26 พ.ค. 67 เวลา 10.00-10.40 น. Ep.7 อารักขาพืชห่วงใย เตือนภัยเกษตรกร โดย บุสยา ปล้องอ่อน นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ ดำเนินรายการ : สิริญาพร สงคง นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ Page Facebook : https://www.facebook.com/sdoae.doae