หนอนคืบกินใบเงาะ

หนอนคืบกินใบเงาะ ชื่อวิทยาศาสตร์ Oxyodes scrobiculata (Fabricius) รูปร่างลักษณะหนอนคืบกินใบ ตัวเต็มวัยเป็นผีเสื้อกลางคืน สีน้ำตาลอ่อน ลำตัวมีขนสีเหลืองปกคลุม ตัวเต็มวัยเพศเมียวางไข่เป็นฟองเดี่ยว ๆ ตามใบอ่อน ยอดอ่อน ลักษณะการทำลายหนอนคืบกินใบสามารถทำความเสียหายให้กับพืชได้มากในระยะแตกใบอ่อน โดยตัวหนอนที่ออกจากไข่จะเริ่มกัดกินใบอ่อน และเมื่อตัวหนอนโตขึ้นจะกินทั้งใบอ่อน ใบเพสลาดและใบแก่ วิธีป้องกันกำจัด 1.อนุรักษ์ศัตรูธรรมชาติ 2.หมั่นสำรวจแปลงสม่ำเสมอ โดยเฉพาะในระยะแตกใบอ่อน ถ้าหากโคนต้นเงาะโล่งเตียนไม่มีหญ้า ให้เขย่ากิ่งเงาะ ตัวหนอนคืบจะทิ้งตัวลงที่พื้นดิน สามารถจับทำลายได้ หรือใช้กับดักแสง ไฟล่อตัวเต็มวัยในช่วงกลางคืน (18.00 น. ถึง 20.00 น.) 3.ใช้สารสกัดสะเดา โดยนำเมล็ดสะเดาบด 1 กิโลกรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร แช่ทิ้งไว้ 1 คืน แล้วนำไปกรองด้วยผ้าขาวบาง จากนั้นนำสารสะเดาที่ได้ผสมกับสารจับใบไปฉีดพ่นให้ทั่วยอดอ่อนและทรงพุ่ม 4.พ่นเชื้อราบิวเวอเรีย อัตรา 250 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร ผสมสารจับใบบริเวณใบอ่อน และทรงพุ่ม ทุก 3-7 วัน 5.พ่นด้วยสารเคมี เช่น carbaryl 85% WP อัตรา 45-60 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร ที่มา : สำนักงานเกษตรจังหวัดจันทบุรี https://www.facebook.com/chanthaburi.doae.go.th/posts/pfbid0VkmMnqb9XtpPSshyVT2PnFA9qGFVRbqhJTmRvKb84CcXTfYDFXBupkdAsxRGb3qhl
หนอนคืบกินใบเงาะ

หนอนคืบกินใบเงาะ ชื่อวิทยาศาสตร์ Oxyodes scrobiculata (Fabricius) รูปร่างลักษณะหนอนคืบกินใบ ตัวเต็มวัยเป็นผีเสื้อกลางคืน สีน้ำตาลอ่อน ลำตัวมีขนสีเหลืองปกคลุม ตัวเต็มวัยเพศเมียวางไข่เป็นฟองเดี่ยว ๆ ตามใบอ่อน ยอดอ่อน ลักษณะการทำลายหนอนคืบกินใบสามารถทำความเสียหายให้กับพืชได้มากในระยะแตกใบอ่อน โดยตัวหนอนที่ออกจากไข่จะเริ่มกัดกินใบอ่อน และเมื่อตัวหนอนโตขึ้นจะกินทั้งใบอ่อน ใบเพสลาดและใบแก่ วิธีป้องกันกำจัด 1.อนุรักษ์ศัตรูธรรมชาติ 2.หมั่นสำรวจแปลงสม่ำเสมอ โดยเฉพาะในระยะแตกใบอ่อน ถ้าหากโคนต้นเงาะโล่งเตียนไม่มีหญ้า ให้เขย่ากิ่งเงาะ ตัวหนอนคืบจะทิ้งตัวลงที่พื้นดิน สามารถจับทำลายได้ หรือใช้กับดักแสง ไฟล่อตัวเต็มวัยในช่วงกลางคืน (18.00 น. ถึง 20.00 น.) 3.ใช้สารสกัดสะเดา โดยนำเมล็ดสะเดาบด 1 กิโลกรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร แช่ทิ้งไว้ 1 คืน แล้วนำไปกรองด้วยผ้าขาวบาง จากนั้นนำสารสะเดาที่ได้ผสมกับสารจับใบไปฉีดพ่นให้ทั่วยอดอ่อนและทรงพุ่ม 4.พ่นเชื้อราบิวเวอเรีย อัตรา 250 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร ผสมสารจับใบบริเวณใบอ่อน และทรงพุ่ม ทุก 3-7 วัน 5.พ่นด้วยสารเคมี เช่น carbaryl 85% WP อัตรา 45-60 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร ที่มา : สำนักงานเกษตรจังหวัดจันทบุรี
เทคนิคการปลูกและดูแลรักษาเงาะ

เทคนิคการปลูกและดูแลรักษาเงาะ การเตรียมการก่อนปลูกการเตรียมดิน – ไถพรวน ปรับพื้นที่ให้เรียบและขุดร่องระบายน้ำในแปลง การเตรียมพันธุ์ – ต้นพันธุ์ที่นำมาปลูกได้จากการตอนกิ่ง การทาบกิ่ง การติดตา ที่มีความสมบูรณ์แข็งแรง พันธุ์ที่นิยมปลูก ได้แก่ พันธุ์โรงเรียน พันธุ์สีชมพู และสีทอง
เพลี้ยแป้งศัตรูเงาะ

เพลี้ยแป้งศัตรูเงาะ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืช จังหวัดเชียงใหม่https://www.facebook.com/biochiangmai/photos
37. เงาะ

เงาะ จัดทำโดย : กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ กรมส่งเสริมการเกษตร