อาการผิดปกติของพืชที่เกิดจากเชื้อรา
อาการผิดปกติของพืชเกิดแตกต่างกันขึ้นอยู่กับชนิดของเชื้อราสาเหตุและส่วนต่าง ๆ ของพืชที่ถูกเข้าทำลาย ผลเกิดจุดแผล ยุบตัว เน่า อาจพบส่วนของเชื้อรา (สปอร์/เส้นใย) และเมล็ดอ่อนนุ่ม สีผิดปกติ ใบเกิดแผลจุด/แผลไหม้/แผลเป็นแถบตามความยาวของใบ อาจพบส่วนของเชื้อรา (สปอร์/เส้นใย) บนจุดแผล หรือด้านใต้ใบ ลำต้น/กิ่งเกิดอาการเน่า เริ่มจากระบบราก โคนต้น ระบบท่อลำเลียง/เนื้อไม้ เปลี่ยนสี ยางไหล ใบเหลืองร่วง เหี่ยวแห้ง ยอดแห้งตาย เรียบเรียงโดย : สำนักงานเกษตรอำเภอเมืองปทุมธานี เว็บไซต์ : pathumthani.doae.go.th/mueang
Salicylic acid สารที่สามารถชะลอการเจริญของเชื้อรา
Salicylic acid สารที่สามารถชะลอการเจริญของเชื้อรา Colletotrichum gloeosporioides (Penz) ในมะม่วงได้ เชื้อรา Colletotrichum gloeosporioides (Penz) เป็นสาเหตุของโรคแอนแทรคโนส ที่มักจะเป็นปัญหาในมะม่วง โดยเข้าทำลายและแสดงอาการของโรคหลังการเก็บเกี่ยว ส่งผลให้มะม่วงเสียคุณภาพ และสร้างความเสียหายได้ การใช้สารเคมีกำจัดเชื้อรา เช่น คาร์เบนดาซิม และโพรคลอราซเป็นวิธีการหนึ่งที่จะสามารถช่วยลดสาเหตุของโรคได้ แต่การพัฒนาแนวทางการควบคุมโรคอย่างปลอดภัยเป็นสิ่งจำเป็น โดยเฉพาะแนวทางในการกระตุ้นให้เกิด ความต้านทาน ซึ่งการตอบสนองของพืชต่อการเกิดความต้านทานมีความหลากหลายขึ้นกับชนิดของสารกระตุ้น
12 แนวทางป้องกันโรคจากเชื้อราในพริกไทยช่วงฤดูฝน
12 แนวทางป้องกันโรคจากเชื้อราในพริกไทยช่วงฤดูฝน 1. แปลงปลูกควรมีการระบายน้ำดี ไม่ควรมีน้ำท่วมขัง หากมีน้ำท่วมขังควรรีบระบายออก 2. ปรับสภาพดินไม่ให้เป็นกรดจัดโดยใส่ปูนขาว หรือโดโลไมท์ 3. ปรับปรุงดิน โดยใส่ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก เพื่อให้ดินสามารถดูดซับน้ำและธาตุอาหารได้ดี และรากพืชสามารถพัฒนาและนำอาหารพืชไปใช้ได้ง่าย 4. ควรเลือกส่วนขยายพันธุ์และวัสดุเพาะชำ จากแหล่งที่ไม่มีการระบาดของโรค และไม่มีร่องรอยการติดเชื้อ 5. ตัดแต่งกิ่งหรือแขนงบริเวณโคนต้นออกให้โปร่ง เพื่อให้อากาศถ่ายเทได้ดีขึ้น เป็นการลดความชื้น เพื่อป้องกันการระบาดของโรค 6. เก็บใบกิ่งก้านที่ร่วงหล่นอยู่บริเวณโคนต้น ออกไปทำลายนอกแปลงปลูก เพื่อไม่ให้เป็นแปล่งสะสมของโรค 7. ตรวจแปลงอย่างสม่ำเสมอ เมื่อพบพืชเริ่มแสดงอาการของโรค ใช้สาร ดังนี้ ▪ เมทาแลกซิล 25% WP อัตรา 30-50 กรัมต่อน้ํา 20 ลิตร หรือ ▪ ฟอสอีทิล-อะลูมิเนียม 80% WP อัตรา 30-50 กรัมต่อน้ํา 20 ลิตร พ่นให้ทั่วทั้งต้น และรดดินบริเวณหลุมปลูก และข้างเคียง ทุก 7 วัน ควรหยุดใช้สารก่อน การเก็บเกี่ยว อย่างน้อย 14 วัน 8.หากพบอาการของโรคใบไหม้ ให้ตัดใบที่แสดงอากา
ความรู้โรคข้าวที่เกิดจาก “เชื้อรา” โรคไหม้
ความรู้โรคข้าวที่เกิดจาก “เชื้อรา” โรคไหม้ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืช จังหวัดเชียงใหม่https://www.facebook.com/biochiangmai/?locale=th_TH
89. มาทำเชื้อราไตรโคเดอร์มากันเถอะ
มาทำเชื้อราไตรโคเดอร์มากันเถอะ จัดทำโดย : ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืช จังหวัดสุพรรณบุรี https://www.facebook.com/profile.php?id=100043336281224