ศูนย์วิทยบริการเพื่อส่งเสริมการเกษตร

10

เรื่องล่าสุด

เรื่องเล่าเช้าวันจันทร์ “ข้อสังเกตก่อนซื้อทุเรียน” ในฤดูกาลปกติ ประเทศไทยมีทุเรียนออกสู่ตลาดประมาณเดือน เม.ย.-ก.ย. นอกจากนี้มีเกษตรกรบางส่วนผลิตทุเรียนนอกฤดู ช่วยสร้างรายได้ให้มากขึ้น หลีกเลี่ยงความเสี่ยงราคาผลผลิตตกต่ำในช่วงผลผลิตออกมากตามฤดูกาล โดยพื้นที่ภาคตะวันออกสามารถเก็บเกี่ยวได้ ตั้งแต่เดือน ก.พ.- มี.ค. ส่วนพื้นที่ภาคใต้สามารถเก็บเกี่ยวได้ตั้งแต่เดือ ธ.ค.- ก.พ. 5 ข้อสังเกตก่อนซื้อทุเรียนคลิกอ่าน : https://bit.ly/42Tgsr5 ชาวสวนไม่ตัด ผู้บริโภคไม่ซื้อ ทุเรียนอ่อนคลิกอ่าน

ระบบเกษตรอัจฉริยะ “Handy Sense” HandySense ระบบเกษตรแม่นยำ ฟาร์มอัจฉริยะ ผนวกเทคโนโลยีเซนเซอร์ตรวจวัดสภาพแวดล้อมทางการเกษตรและระบบควบคุมการทำงานอัตโนมัติได้รับการออกแบบให้ใช้งานง่ายทนทานต่อสภาพแวดล้อม สามารถเข้าใจ HandySense ได้เพิ่มขึ้น คลิกเพิ่มเติมจากลิงก์ด้านล่างได้เลยค่ะ Handy sense เกษตรอัจฉริยะรับชม : https://bit.ly/40ZOp8Q เพิ่มรายได้ เพิ่มผลผลิต ด้วยระบบเกษตรอัจฉริยะ “Handy Sense”คลิกอ่าน : https://bit.ly/4b6ED9A

เกร็ดความรู้สำหรับเกษตรกรผู้เลี้ยงครั่ง หลังจากปล่อยครั่งไปแล้ว 1 เดือน ครั่งจะขับถ่ายมูลหวาน ออกมาจากช่องขับถ่าย หากเกษตรกรที่ปล่อยครั่งบนต้นจามจุรีที่มีขนาดใหญ่ อาจจะสังเกตการเจริญเติบโตของครั่งได้ยาก ดังนั้นเรามีเทคนิคในการสังเกตครั่งมาฝากกันค่ะ 1.ไม้อาศัยต้นเตี้ย ก็จะเห็นการเจริญเติบโตของครั่งได้ชัดเจน มีการสร้างไขสีขาว และการขับน้ำหวานที่มีสีใสออกมา เมื่อสัมผัสอากาศนาน ๆ ก็จะเริ่มแข็งตัวและเปลี่ยนเป็นสีเหลือง สีทอง สีน้ำตาล 2.ไม้อาศัยต้นใหญ่และมีความสูงมาก เราอาจจะสังเกตได้ดังนี้ เรียบเรียง :

แมลงศัตรูพืชในฤดูร้อนที่ต้องระวัง ฤดูร้อนเกษตรกรผู้ปลูกพืชตระกูลกะหล่ำและผักกาด เช่น คะน้า กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก บรอกโคลี กวางตุ้ง ผักกาดขาว ผักกาดหอม ฯลฯ ต้องเผชิญกับศัตรูพืชต่าง ๆ เพราะด้วยสภาพอากาศที่มีความชื้นต่ำติดต่อกันยาวนานหลายเดือน นับเป็นสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมสำหรับแมลงศัตรูพืช ซึ่งสร้างความเสียหายให้กับพืชที่ปลูกได้ โดยแมลงศัตรูพืชที่พบมากในช่วงอากาศร้อน เช่น เพลี้ยอ่อน ด้วงหมัดผัก หนอนใยผัก และหนอนกระทู้ผัก

ส่งเสริมไม่เผาด้วย 3R Model น้ำหมักย่อยสลายฟาง “จุลินทรีย์หน่อกล้วย” วัตถุดิบ วิธีทำ การนำไปใช้ใช้น้ำหมักชีวภาพอัตรา 5 ลิตรต่อไร่ เจือจางกับน้ำ 100 ลิตร ราดลงในแปลงข้าวเพื่อช่วยให้ตอซังข้าวย่อยสลายได้ง่าย หมักไว้ประมาณ 2 สัปดาห์ แล้วจึงปั่นดินนาทำเทือกเพื่อเตรียมเพาะปลูกข้าวครั้งใหม่ต่อไป เรียบเรียงโดย : สำนักงานเกษตรอำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี

แคดเมียน (CADMIUM) คืออะไร??แคดเมียนเป็นแร่โลหะชนิดหนึ่ง สามารถเกิดขึ้นได้เองในธรรมชาติ โดยอาจมาจากวัตถุต้นกำเนิดดิน การทำเหมืองแร่ โรงงานผลิตไฟฟ้าโดยใช้ถ่านหิน การทำแบตเตอรี่ การใช้ปุ๋ย และสารเคมีกำจัดศัตรูพืชในการเกษตร และสามารถพบแคดเมียมปนเปื้อนได้ในอาหารและน้ำ การปนเปื้อนโลหะหนักในดิน มีสาเหตุมาจากกิจกรรมทางการเกษตรและอุตสาหกรรม เช่น การทิ้งของเสียโดยไม่มีการจัดการอย่างเหมาะสม ทำให้เกิดการตกค้างและสะสมโลหะหนักในดิน เช่น สารหนู แคดเมียม ตะกั่ว ปรอท เป็นต้น

แมลงสิง ศัตรูข้าวระยะออกรวง รูปร่างลักษณะ ลักษณะการทำลาย การป้องกันกำจัด เรียบเรียง : กลุ่มส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนด้านอารักขาพืชและดินปุ๋ย กองส่งเสริมการอารักขาพืชและจัดการดินปุ๋ย

ขอเชิญชวนร่วมงานรณรงค์สร้างการรับรู้และการเรียนรู้การเกษตรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green Day)  พบกับกิจกรรมที่น่าสนใจภายในงาน สถานีเรียนรู้เกี่ยวกับการทำการเกษตรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และการออกร้านจำหน่ายสินค้าจากเกษตรกร กลุ่มเกษตรกรต่าง ๆ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : สำนักงานเกษตรจังหวัด สุราษฎร์ธานี

12 แนวทางป้องกันโรคจากเชื้อราในพริกไทยช่วงฤดูฝน

12 แนวทางป้องกันโรคจากเชื้อราในพริกไทยช่วงฤดูฝน

12 แนวทางป้องกันโรคจากเชื้อราในพริกไทยช่วงฤดูฝน 1. แปลงปลูกควรมีการระบายน้ำดี ไม่ควรมีน้ำท่วมขัง หากมีน้ำท่วมขังควรรีบระบายออก 2. ปรับสภาพดินไม่ให้เป็นกรดจัดโดยใส่ปูนขาว หรือโดโลไมท์ 3. ปรับปรุงดิน โดยใส่ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก เพื่อให้ดินสามารถดูดซับน้ำและธาตุอาหารได้ดี และรากพืชสามารถพัฒนาและนำอาหารพืชไปใช้ได้ง่าย 4. ควรเลือกส่วนขยายพันธุ์และวัสดุเพาะชำ จากแหล่งที่ไม่มีการระบาดของโรค และไม่มีร่องรอยการติดเชื้อ 5. ตัดแต่งกิ่งหรือแขนงบริเวณโคนต้นออกให้โปร่ง เพื่อให้อากาศถ่ายเทได้ดีขึ้น เป็นการลดความชื้น เพื่อป้องกันการระบาดของโรค 6. เก็บใบกิ่งก้านที่ร่วงหล่นอยู่บริเวณโคนต้น ออกไปทำลายนอกแปลงปลูก เพื่อไม่ให้เป็นแปล่งสะสมของโรค 7. ตรวจแปลงอย่างสม่ำเสมอ เมื่อพบพืชเริ่มแสดงอาการของโรค ใช้สาร ดังนี้    ▪ เมทาแลกซิล 25% WP อัตรา 30-50 กรัมต่อน้ํา 20 ลิตร หรือ    ▪ ฟอสอีทิล-อะลูมิเนียม 80% WP อัตรา 30-50 กรัมต่อน้ํา 20 ลิตร พ่นให้ทั่วทั้งต้น และรดดินบริเวณหลุมปลูก และข้างเคียง ทุก 7 วัน ควรหยุดใช้สารก่อน การเก็บเกี่ยว อย่างน้อย 14 วัน 8.หากพบอาการของโรคใบไหม้ ให้ตัดใบที่แสดงอาการ นําไปทําลายนอกแปลงปลูก แล้วใช้สาร ตามข้อ 7. 9.ต้นที่เป็นโรครุนแรงมากหรือตาย ควรขุดออก นําไปทําลายนอกแปลงปลูก แล้วรดดินในหลุมปลูก และบริเวณข้างเคียงด้วยสารตามข้อ 7. ให้ทั่ว ตากดินไว้ระยะหนึ่งจึงปลูกทดแทน 10.ไม่นําเครื่องมือทางการเกษตรที่ใช้กับต้นเป็นโรคไปใช้ต่อกับต้นปกติและควรทําความสะอาดเครื่องมือก่อนนําไปใช้ใหม่ทุกครั้ง 11.ควรระมัดระวังการให้น้ํา ไม่ให้น้ําไหลผ่านจากต้นที่เป็นโรคไปต้นปกติ 12.ในแปลงที่มีการระบาดของโรคควรเปลี่ยนไปปลูกพืชชนิดอื่น ที่ไม่ใช่พืชอาศัยของเชื้อสาเหตุโรค หมุนเวียน เพื่อตัดวงจรของโรค —————————- สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : กลุ่มอารักพืช สำนักงานเกษตรจังหวัดปราจีนบุรี กรมส่งเสริมการเกษตร https://www.facebook.com/profile.php?id=100068112708969