เทคนิคการจัดการน้ำแบบเปียกสลับแห้งในนาข้าว
เทคนิคการจัดการน้ำแบบเปียกสลับแห้งในนาข้าว การทำนาเปียกสลับแห้ง คือ การทำนาโดยควบคุมระดับน้ำในแปลงนาให้มีช่วงน้ำขัง กับช่วงน้ำแห้งสลับกันในช่วงเวลาที่เหมาะสม เพื่อกระตุ้นให้รากและลำต้นของต้นข้าวแข็งแรงขึ้น เนื่องจากดินและรากได้รับอากาศพอ ก็สามารถดูดปุ๋ยได้ดีขึ้น ทำให้ลดการใช้ปุ๋ย 1.การเตรียมดิน ปรับพื้นที่ให้เรียบสม่ำเสมอและสามารถจัดระบบน้ำได้ 2.การติดตั้งท่อพีวีซี (PVC) เพื่อดูระดับน้ำ เตรียมท่อพีวีซี ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 4 นิ้ว ยาว 25 ซม. เจาะรูห่างกัน 5 ซม. มีรูทั้งหมด 40 รู ติดตั้งพื้นที่ละ 1 จุด โดยฝังท่อในนาลึกประมาณ 20 ซม. ให้ปากท่ออยู่เหนือดิน 5 ซม. และนำดินที่อยู่ในท่อออก 3.การปลูกข้าว ปลูกข้าวตามวิธีการที่เกษตรกรเคยทำปกติ 4.ขั้นตอนการจัดการน้ำแบบเปียกสลับแห้ง ดังนี้ 5.ข้อควรระวัง เรียบเรียงโดย : กลุ่มส่งเสริมระบบการผลิตข้าว สำนักส่งเสริมและจัดการสินค้าเกษตร
การทำนาด้วยเทคโนโลยี 4 ป. + 1 IPM
การทำนาด้วย “เทคโนโลยี 4 ป. + 1 IPM” คือ เทคโนโลยีเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและลดภาวะโลกร้อน ภายใต้แนวคิด “ทำนาลดโลกร้อน” ซึ่งเป็นความร่วมมือของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมนี (GIZ) โดยส่งเสริมเทคโนโลยีที่เหมาะสมในการทำนาในที่ราบลุ่มภาคกลาง ผ่านเทคนิค 4 ป. และ 1 IPM ดังนี้ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : กลุ่มส่งเสริมและพัฒนาการผลิต สำนักงานเกษตรจังหวัดสุพรรณบุรีhttps://www.facebook.com/profile.php?id=100070494930854