เฝ้าระวังโรคและแมลงศัตรูพืชในไม้ผลช่วงอากาศหนาว
![เฝ้าระวังโรคและแมลงศัตรูพืชในไม้ผลช่วงอากาศหนาว เฝ้าระวังโรคและแมลงศัตรูพืชในไม้ผลช่วงอากาศหนาว](https://i0.wp.com/esc.doae.go.th/wp-content/uploads/2025/02/%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%89%E0%B8%9C%E0%B8%A5%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A8%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%A7.jpg?fit=548%2C777&ssl=1)
เฝ้าระวังโรคและแมลงศัตรูพืชในไม้ผลช่วงอากาศหนาว ลิ้นจี่ ลำไย มะม่วง พยากรณ์อากาศภาคเหนือช่วงเดือน ม.ค.-ก.พ. 2568 ในช่วงกลางเดือนมกราคมถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์ บริเวณภาคเหนือตอนบนมีความกดอากาศสูง หรือมวลอากาศเย็นกำลังแรงที่ปกคลุมประเทศไทยตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวมีอุณหภูมิลดลงกับมีลมแรง ระยะนี้จะมีอากาศเย็นถึงหนาว และความชื้นในอากาศยังคงมีสูง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคราสนิม ราดำราแป้งและเพลี้ยแป้ง การจัดการและแนวทางป้องกัน การตรวจสอบและเฝ้าระวัง : ควรตรวจสอบพืชอย่างสม่ำเสมอจะช่วยให้สามารถพบการระบาดของโรคหรือแมลงตั้งแต่ระยะแรก ซึ่งจะช่วยลดความเสียหาย การป้องกันโดยวิธีธรรมชาติ : การใช้ศัตรูธรรมชาติ เช่น ตัวห้ำ ตัวเบียน หรือการใช้สารป้องกันเชื้อราในการควบคุมโรค การจัดการการชลประทาน : การควบคุมความชื้นในสวน เช่น การใช้ระบบชลประทานที่มีประสิทธิภาพ ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคเชื้อรา การใช้สารเคมีอย่างเหมาะสม : ในช่วงที่จำเป็น เช่น การใช้สารฆ่าเชื้อรา หรือสารป้องกันแมลงเพื่อควบคุมโรคและแมลงศัตรูพืช การเลือกพันธุ์ที่ทนทาน : พืชที่ทนทานต่อโรคและแมลงศัตรูพืชจะช่วยลดความเสี่ยงในระยะยาว จัดทำโดย : สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 6 จังหวัดเชียงใหม่