ศูนย์วิทยบริการเพื่อส่งเสริมการเกษตร

10

เรื่องล่าสุด

ใช้แหนแดงร่วมกับปุ๋ยเคมี ช่วยลดต้นทุน ปรับสมดุลดิน ประโยชน์ของแหนแดง จัดทำโดย : กลุ่มส่งเสริมและพัฒนาการผลิต สำนักงานเกษตรจังหวัดสระบุรี มกราคม ; 2568

วันที่ 28 มกราคม 2568 สำนักงานเกษตรจังหวัดสุพรรณบุรี ขอรับสื่อเอกสารคำแนะนำและแผ่นพับ จำนวน 350เล่ม/แผ่น สำหรับจัดอบรมและเผยแพร่แก่เกษตรกรในพื้นที่

“GOOD & FOOD SECURITY” ไข่ผำ สุขภาพที่ดีและความมั่นคงทางอาหาร ไข่ผำ หรือ ไข่น้ำไขผำ เป็นพืชน้ำพื้นบ้านที่พบได้ตามห้วย หนอง คลอง บึง ลักษณะเป็นเม็ดสีเขียวขนาดเล็ก มีชื่อว่า “กรีนคาเวียร์” และเป็นอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการด้านโปรตีนสูง รสชาติรสชาติของไข่ผำจะมีรสจืด เคี้ยวมัน เพราะเนื้อสัมผัสกรุบ ๆ คล้ายไข่ปลา

รู้หรือไม่! กรมส่งเสริมการเกษตร รณรงค์ให้เกษตรกร “หยุดเผาในพื้นที่เกษตรกรรม เพื่อลดผลกระทบจากการเผา ผ่าน โมเดล 3R” โมเดล 3R มีอะไรบ้าง และเราสามารถจัดการนาข้าวหลังการเก็บเกี่ยวเพื่อลดการเผา และสร้างรายได้ได้อย่างไร สามารถเข้าดูเอกสารได้ตามด้านล่างค่ะ เคล็ด(ไม่)ลับ หยุดเผาพื้นที่เกษตรกรรมด้วยวิธีการที่ยั่งยืน คลิกอ่าน : https://bit.ly/3CAPbkd การจัดการนาข้าวหลังการเก็บเกี่ยวเพื่อลดการเผา และสร้างรายได้ คลิกอ่าน

แมลงศัตรูพืชที่สำคัญในมันสำปะหลัง เกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังข้ามแล้ง มีสภาวะที่อากาศร้อน แห้งแล้ง ฝนทิ้งช่วง เป็นสภาพที่เหมาะต่อการระบาดของไรแดงมันสำปะหลัง ไรแดงหม่อน หรือไรแดงมันสำปะหลัง (Mulberry red mite : Tetranychus truncatus Ehara) : เป็นศัตรูที่สำคัญอีกชนิดหนึ่งของมันสำปะหลัง ตัวอ่อนและตัวเต็มวัย ดูดกินน้ำเลี้ยงอยู่ที่บริเวณใต้ใบและสร้างเส้นใยอยู่เหนือผิวใบบริเวณที่ไรดูดทำลายอยู่ ผลของการดูดกินน้ำเลี้ยงของไรตรงบริเวณใต้ใบ มีผลทำให้หน้าใบเกิดจุดประด่างขาว โดยเฉพาะตามแนวเส้นใบ

ขอเชิญร่วมงานคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ในพระราชานุเคราะห์ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ฯ สยามมกุฎราชกุมาร สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : สำนักงานเกษตรพื้นที่ 4 โทรศัพท์ 0 2441 3705

วันที่ 22 มกราคม 2568 ศูนย์ขยายพันธุ์พืชที่ 5 จังหวัดบุรีรัมย์ ขอรับสื่อเอกสารคำแนะนำและแผ่นพับ จำนวน 1,173 เล่ม/แผ่น สำหรับจัดอบรมและเผยแพร่แก่เกษตรกรในพื้นที่

หยุดเผาได้ 5 ดี ผลกระทบจากการเผา ด้านสุขภาพอนามัยการเผา ทำให้เกิดฝุ่น ควัน และก๊าซพิษเป็นอันตรายต่อชีวิต ด้านการเกษตร ด้านสิ่งแวดล้อมและเศรษฐกิจ ด้านกฎหมาย จัดทำโดย : สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 3 จังหวัดระยอง

โรคต้นแตกยางไหลในเมล่อน สาเหตุจากเชื้อรา : Mycosphaerella citrulline และ Didymella sp. ช่วงการระบาด : ระบาดมากในช่วงฤดูฝน ข้อสังเกตลักษณะ/อาการที่อาจพบ : แผลจะฉ่ำน้ำ เป็นยางเหนียวสีน้ำตาลแดงที่บริเวณโคนต้น ลำต้น และก้านใบ เมื่อแผลแห้งจะเป็นจุดสีดำเล็ก ๆ กระจายอยู่ทั่วบริเวณแผล แนวทางป้องกัน/แก้ไข นอกจากนี้ยังมีอีกหนึ่งสาเหตุที่สำคัญ

การใช้ปุ๋ยในนาข้าวที่เหมาะสมตามระยะการเจริญเติบโตของข้าว ดาวน์โหลดไฟล์ PDF. ระยะการเจริญเติบโตของข้าว มีความต้องการอาหารแตกต่างกัน ดังนี้ ระยะข้าวงอก (ระยะ 0-1)ถึงระยะกล้า ต้นข้าวจะใช้อาหารที่สะสมในเมล็ดตั้งแต่ข้าวเริ่มงอก จนถึงต้นกล้าอายุ 14-20 วัน ระยะข้าวกล้า (ระยะ 1-2)ต้นข้าวเริ่มดูดธาตุอาหารผ่านราก ต้องบำรุงด้วยปุ๋ยที่มีธาตุอาหารไนโตรเจน (N) ฟอสฟอรัส (P) โพแทสเซียม (K)

เพลี้ยกระโดดสีน้้ำตาล

เพลี้ยกระโดดสีน้้ำตาล

เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เตือนเกษตรกรผู้ปลูกข้าวทุกภาคของประเทศไทย จากการติดตามสถานการณ์ศัตรูข้าว และการรายงานข้อมูลสถานการณ์การระบาดของศัตรูข้าวในพื้นที่ เริ่มพบการทำลายของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในหลายจังหวัด โดยเฉพาะจังหวัดในแถบภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ ให้เฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์การระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับเกษตรกรปลูกข้าวพันธุ์อ่อนแอต่อเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล และหลายพื้นที่ฝนเริ่มตกลดลง สภาพอากาศกลางวันร้อน อุณหภูมิและความชื้นเหมาะต่อการเพิ่มจำนวนประชากรของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ดังนั้น ขอให้เกษตรกรหมั่นสำรวจแปลงนาอย่างสม่ำเสมอ หากพบให้รีบแจ้งสำนักงานเกษตรอำเภอ หรือสำนักงานเกษตรจังหวัด ดำเนินการควบคุมและป้องกันกำจัดก่อนเกิดการระบาดรุนแรง รูปร่างลักษณะ เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เป็นแมลงปากดูด ตัวเต็มวัยมีขนาดยาวประมาณ ๓ มิลลิเมตร กว้าง ๑ มิลลิเมตร ลำตัวมีสีน้ำตาลจนถึงสีน้ำตาลปนดำ มีรูปร่าง ๒ ลักษณะ คือ ชนิดปีกยาว (macropterous form) และชนิดปีกสั้น (brachyterous form) ตัวเมียมีขนาดใหญ่กว่าตัวผู้ ตัวเต็มวัยมีชีวิตประมาณ ๒ สัปดาห์ ทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยอาศัยดูดกินน้ำเลี้ยงจากกาบใบข้าวบริเวณโคนต้นเหนือระดับน้ำเล็กน้อย โดยใช้ปากแทงดูดกินน้ำเลี้ยงจากท่อน้ำและท่ออาหาร ทำให้ต้นข้าวแสดงอาการใบเหลืองเติบโตช้า ถ้าเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลระบาดรุนแรง ต้นข้าวจะแสดงอาการไหม้แห้งคล้ายถูกน้ำร้อนลวก เรียกว่า ฮอพเพอร์เบิร์น “hopper burn” ทำให้ข้าวแห้งตาย เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลสามารถทำลายข้าวได้ทุกระยะ สามารถพัฒนาและปรับตัวให้เหมาะกับสภาพแวดล้อมและอาหารได้ดี ลักษณะการทำลาย เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลเป็นแมลงปากดูด ทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยอาศัยดูดกินน้ำเลี้ยงจากกาบใบข้าวบริเวณโคนต้นเหนือระดับน้ำเล็กน้อย หรือที่เส้นกลางใบหลังใบข้าวโดยใช้ปากแทงดูดกินน้ำเลี้ยงจากท่อน้ำและท่ออาหาร ทำให้ต้นข้าวแสดงอาการใบเหลืองเติบโตช้า ถ้าเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลระบาดรุนแรง ต้นข้าวจะแสดงอาการไหม้แห้งคล้ายถูกน้ำร้อนลวก เรียกว่า ฮอพเพอร์เบิร์น “hopper burn” ทำให้ข้าวแห้งตาย เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลสามารถทำลายข้าวได้ทุกระยะ สามารถพัฒนาและปรับตัวให้เหมาะกับสภาพแวดล้อมและอาหาร เช่น เมื่อมีอาหารมากจะพัฒนาตัวเองเป็นชนิดปีกสั้นและขยายพันธุ์ได้มาก แต่เมื่ออาหารมีน้อยจะพัฒนาตัวเองเป็นชนิดปีกยาวเพื่ออพยพไปยังแหล่งอาหารอื่น ขอบคุณภาพจาก : กรมการข้าว