เพลี้ยจักจั่นมะม่วง
คำแนะนำการป้องกันกำจัด เพลี้ยจักจั่นมะม่วง ชื่อวิทยาศาสตร์1.Idioscopus clypealis (Lethierry)2.Idioscopus niveosparsus (Lethierry) วงจรชีวิตตัวเต็มวัยเพศเมียวางไข่เป็นฟองเดี่ยว ๆ รูปร่างยาวรี สีเหลืองอ่อน ตามแกนกลางใบอ่อนหรือก้านช่อดอกปรากฎเป็นรอยแผลเล็ก ๆ คล้ายรอยมีดกรีด ภายหลังจากการวางไข่แล้ว ประมาณ 1-2 วัน จะเห็นยางสีขาวของมะม่วงไหลหยดออกให้เห็น ระยะไข่ 7-10 วัน เมื่อไข่ฟักเป็นตัวอ่อนจะเริ่มดูดกินน้ำเลี้ยงจากช่อดอกและใบ ระยะตัวอ่อน 17-19 วัน ลักษณะการทำลาย ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยจะดูดน้ำเลี้ยงจากช่อดอก ทำให้ช่อดอกแห้งและดอกร่วง ติดผลน้อยหรือไม่ติดผล ระหว่างที่ดูดกินน้ำเลี้ยง เพลี้ยจักจั่นจะถ่ายมูลมีลักษณะเป็นของเหลวเหนียว ๆ คล้ายน้ำหวาน เรียกว่า Honey dew หรือมูลหวาน ซึ่งเป็นอาหารของราดำ ทำให้ราดำเจริญเติบโตได้อย่างรวดเร็ว ปกคลุมใบและช่อดอก ส่งผลต่อการสังเคราะห์แสงของใบ ใบอ่อนที่ถูกดูดน้ำเลี้ยงจะบิดงอโค้งลงด้านใต้ใบจะมีอาการปลายใบแห้ง พบการระบาดอยู่ทั่วไปทุกแห่งที่ปลูกมะม่วง และพบได้ตลอดทั้งปี แต่ปริมาณประชากรของเพลี้ยจักจั่นเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ในช่วงมะม่วงออกดอก ระหว่างเดือนธันวาคมถึงมกราคม ซึ่งปริมาณแมลงจะสูงขึ้นเรื่อย ๆ จากระยะดอกตูมและมีปริมาณสูงสุดเมื่อดอกใกล้บาน และลดลงเมื่อมะม่วงเริ่มติดผล การป้องกันกำจัด โดยเลือกสารชนิดใดชนิดหนึ่งผสมน้ำ 20 ลิตร พ่นให้ทั่ว เมื่อสำรวจพบเพลี้ยจักจั่นมะม่วงมากกว่า 4 ตัว ต่อช่อดอก และพ่นซ้ำตามความจำเป็น การพ่นสารให้มีประสิทธิภาพควรพ่นให้ทั่วลำต้นเพื่อป้องกันตัวเต็มวัยเคลื่อนย้ายไปหลบซ่อนบริเวณที่พ่นสารไม่ถึง เรียบเรียงโดย : สำนักงานเกษตร อำเภอวัฒนานคร เดือนมกราคม, 2568
เพลี้ยจักจั่นมะม่วง
เตือนภัยการเกษตร “เพลี้ยจักจั่นมะม่วง” ลักษณะการทำลาย ดาวน์โหลดไฟล์ PDF. เรียบเรียงโดย : กลุ่มอารักพืช สำนักงานเกษตรจังหวัดปราจีนบุรี กรมส่งเสริมการเกษตร
เพลี้ยจักจั่นมะม่วง
เพลี้ยจักจั่นมะม่วง ดาวน์โหลดไฟล์ PDF. เรียบเรียงโดย : กลุ่มอารักขาพืช สำนักงานเกษตรจังหวัดชัยนาท
เพลี้ยจักจั่นมะม่วง
คำแนะนำการป้องกันกำจัด “เพลี้ยจักจั่นมะม่วง” ลักษณะการทำลาย ดาวน์โหลดไฟล์ PDF. เรียบเรียงโดย : กลุ่มพยากรณ์และเตือนการระบาดศัตรูพืช กองส่งเสริมการอารักขาพืชและจัดการดินปุ๋ย
เพลี้ยจักจั่นมะม่วง
เพลี้ยจักจั่นมะม่วง สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : กองส่งเสริมการอารักขาพืชและจัดการดินปุ๋ย