เพลี้ยไฟในข้าว
เพลี้ยไฟในข้าว เพลี้ยไฟเป็นแมลงจำพวกปากดูดขนาดเล็ก ลำตัวยาว มีทั้งชนิดมีปีกและไม่มีปีก ตัวเต็มวัยมีสีดำ ตัวอ่อนมีสีเหลืองอ่อน ตัวเต็มวัยเพศเมียวางไข่เดี่ยว ๆ สีครีมในเนื้อเยื่อของใบข้าว ไข่ฟักตัวเป็นตัวอ่อนที่มีสีเหลืองนวล จากนั้นตัวอ่อนจะเข้าดักแด้บนต้นข้าวต้นเดิมที่ฟักออกจากไข่ ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยมีปากแบบเขี่ยดูด ใช้ในการทำลายต้นข้าว ลักษณะการเข้าทำลายเพลี้ยไฟทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยจะทำลายข้าว โดยการดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบข้าวที่ยังอ่อน โดยอาศัยอยู่ตามซอกใบ ระบาดในระยะกล้า เมื่อใบข้าวโตขึ้น ใบที่ถูกทำลายปลายใบจะเหี่ยวขอบใบจะม้วนเข้าหากลางใบและอาศัยอยู่ในใบที่ม้วนนั้น พบทำลายข้าวในระยะกล้าหรือหลังปักดำ 2-3 สัปดาห์ โดยเฉพาะในช่วงอากาศร้อน แห้งแล้ง หรือฝนทิ้งช่วงนานติดต่อกันหรือสภาพนาข้าวที่ขาดน้ำ ถ้าระบาดมาก ๆ ทำให้ต้นข้าวแห้งตายได้ทั้งแปลง การป้องกันกำจัด เรียบเรียงโดย : สำนักงานเกษตรอำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
เพลี้ยไฟ
เพลี้ยไฟ ลักษณะทั่วไป อาการ การจัดการ สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ : ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืชจังหวัดพิษณุโลก
เพลี้ยไฟ
เพลี้ยไฟ ในพืชตระกูลส้ม (มะนาว มะกรูด ส้มโอ และส้มเขียวหวาน) สภาพอากาศในช่วงนี้อากาศร้อน แห้งแล้ง เตือนผู้ปลูกพืชตระกูลส้ม (เช่น มะนาว มะกรูด ส้มโอ และส้มเขียวหวาน) ในระยะติดผลอ่อน – ระยะพัฒนาผล ตัวอ่อน และตัวเต็มวัยใช้ปากเขี่ยและดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบอ่อนและผลอ่อน ทำให้ใบมีลักษณะผิดปกติ ใบแคบเรียว กร้าน การทำลายจะรุนแรงในระยะผลอ่อน นับตั้งแต่กลีบดอกร่วงจนถึงผลส้มเขียวหวาน มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 1.5 เซนติเมตร ผลอ่อนที่ถูกทำลายจะปรากฏวงสีเทาเงิน บริเวณขั้วและก้นผล หรือเป็นทางสีเทาเงินตามความยาวของผล สำหรับผลอ่อนที่ถูกเพลี้ยไฟทำลายอย่างรุนแรงจะแคระแกร็น เรียบเรียงโดย : กลุ่มอารักขาพืช สำนักงานเกษตรจังหวัดแพร่
เฝ้าระวังร้อน แล้ง แมลงศัตรูพืชตัวร้าย
เฝ้าระวังร้อน แล้ง แมลงศัตรูพืชตัวร้าย เพลี้ยไฟ ไรแดง เพลี้ยแป้ง เพลี้ยอ่อน หนอนกออ้อย หนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุด เรียบเรียงโดย : สำนักงานเกษตรจังหวัดชัยนาท
ระวังเพลี้ยไฟระยะกล้าข้าว
ข้าวนาปี ร้อน-แล้ง ฝนทิ้งช่วง ระวังเพลี้ยไฟ..ระยะกล้าข้าว รูปร่าง ลักษณะการทำลาย